2 คลิป จากผู้ชนะงาน “Drive DD United” กับเหตุผลเรียบง่ายว่าทำไมไม่ควรดื่ม-ไม่ควรโทรขณะขับรถ

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ทุกๆ ปีเราจะเห็นโครงการมากมายในการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะจากข้อมูลของสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) เผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 36.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน สูงเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศลิเบีย และสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตก็คือ การดื่มสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด และการใช้โทรศัพท์ในการขับรถ และแม้จะมีโครงการรณรงค์ต่างๆ มากมาย แต่ตัวเลขและสถิติการเสียชีวิตก็ลดลงน้อยมาก ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ดีที่สุดก็คือการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน

และอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าชื่นชม ซึ่งดึงเอาเยาวชนคนรุ่นใหม่ไปมีส่วนร่วมกับการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการขับรถเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย ได้แก่ โครงการ “Drive DD United” โดย บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นแคมเปญที่เชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาส่งคลิปวิดีโอเข้าประกวดในหัวข้อชื่อDrive DD United รณรงค์การเมาไม่ขับ และ ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

tniOk

มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างจิตสำนึกที่ดีมีความรับผิดชอบต่อการใช้ถนนร่วมกันให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆ นักศึกษาได้แสดงความรู้ความสามารถ และศักยภาพของตนเองอย่างสร้างสรรค์ผ่านคลิปวิดีโอที่สื่อถึงคุณลักษณะด้านการรณรงค์การขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัย และตระหนักถึงปัญหาจากการขับขี่รถยนต์ขณะมึนเมาหรือเล่นมือถือ พร้อมกับแบ่งปันแนวคิดกับกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกันด้วย

นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทธนชาตประกันภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจประกันภัยรถยนต์ของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงผลเสียจากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในแต่ละปีของประเทศ ที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศหลายด้าน เช่น การสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่จะเข้ามาช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่รวมกันปีละ 2.3 แสนล้านบาท  จึงได้จัดโครงการ “Drive DD United”  ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้มีจิตสำนึกที่ดีในการขับขี่รถยนต์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างความปลอดภัยทางท้องถนน ด้วยการสื่อสารระหว่างกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกัน และแสดงความสามารถต่อยอดไปยังสาธารณชนในวงกว้างให้ตระหนักถึงผลกระทบจากการขับขี่รถยนต์ขณะมึนเมาหรือใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ โดยรณรงค์ผ่านรูปแบบกิจกรรมการประกวดคลิปวิดีโอในหัวข้อ “รณรงค์เมาไม่ขับและไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ” เพื่อหาผู้ชนะไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมนี เพื่อจะได้นำความรู้และประสบการณ์มาพัฒนาต่อยอดเพื่อรณรงค์ให้สังคมไทยได้มีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคมและประเทศในภาวะรวมต่อไป

สำหรับโครงการดังล่าวนี้ เปิดโอกาสให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี และระดับ ปวส.ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศอายุไม่เกิน 26 ปี เข้าร่วมประกวดคลิปวิดีโอในหัวข้อ “Drive DD United รณรงค์การเมาไม่ขับ และไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ” จากนั้นคณะกรรมการจัดคัดเลือกผู้ผ่านเข้ารอบ 25 ทีมเพื่อรับทุนสนับสนุนทีมละ 10,000 บาท นำไปพัฒนาและปรับปรุงคลิปวิดีโอต่อเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และดีที่สุด ก่อนที่จะนำผลงานที่ได้รับการพัฒนาแล้วส่งกลับมาให้คณะกรรมการอีกครั้ง ให้เหลือเพียงแค่ 2 ทีมผู้ชนะเลิศใน 2 ประเภทรางวัล ได้แก่ 1.ประเภทผลงานสร้างสรรค์ (Creativity) และ 2.ประเภทได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ชม (Popularity) รางวัลผู้ชนะสำหรับผู้ชนะได้แก่ ทริปท่องเที่ยวประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบแห่งความปลอดภัยบนท้องถนนสูงสุด พร้อมเงินรางวัลทีมละ 30,000 บาท

tni2

ซึ่งได้มีการประกาศผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยผู้ชนะ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ได้แก่ ทีม NarratorHouse จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง “ชีวิตในแก้วเหล้า” สมาชิกในทีมได้แก่

  1. นายคิริเมขล์ บุญรมย์
  2. นางสาววรรณภรณ์ คงธนชำนาญ
  3. นางสาวสุวรรณา จำแนกวงษ์

httpv://youtu.be/-DqW979zhE0

ส่วนผู้ชนะเลิศ ประเภท Popularity (ได้รับคะแนนโหวตเยอะที่สุด) ได้แก่ทีม ชายฉกรรจ์ KNN จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “เราชอบนิชนันท์” สมาชิกในทีมได้แก่

  1. นายจิรัฏฐิติ เวียงสี
  2. นายนิชนันท์ รัตนารมย์
  3. นางสาวปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช

httpv://youtu.be/XUPaIjjdVrY

จัดว่าเป็นงาน CSR ที่สังคมได้รับประโยชน์แบบยั่งยืน ไม่ใช่แค่เพียงการรณรงค์เรียกร้องให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้เกิดความตระหนักรู้เท่านั้น แต่ยังเน้นไปที่การปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เผยแพร่บอกต่อในกลุ่มเพื่อน เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีของการใช้รถใช้ถนนในอนาคตต่อไปได้ ชื่นชมไอเดียในจุดนี้มากๆ เลยค่ะ.

Copyright © MarketingOops.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •