ทำ Communication ที่ดี ทำให้คนจำได้ตลอดกาลและทำให้สังคมดีขึ้นอีกด้วย

  • 8
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อ 2-3 วันมานี่ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูสารคดีเรื่องหนึ่งที่ออกฉายมานานตั้งแต่ปี 2010 นั้นคือสารคดีเรื่อง Art & Copy ที่ว่าด้วยคนครีเอทีฟและอุตสาหกรรมโฆษณาว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีอิทธิพลหรือผลอะไรต่อสังคมบ้าง ซึ่งในสารคดีนั้นมีการพูดถึงว่าในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคนั้นไม่ชอบโฆษณาและเกลียดโฆษณาที่ออกมา เพราะโฆษณาเหล่านั้นไม่ได้ทำให้ตัวเองหรือสังคมนั้นดีขึ้น

httpv://www.youtube.com/watch?v=hLfvmiB4edI

สารคดีมีตอนหนึ่งที่ได้ไปสัมภาษณ์ Dan Wieden ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเอเจนซี่ W+K ร่วมกับ David Kennedy โดยทั้งคู่ทำงานที่ Agency ชื่อ William Cain  ในปี 1980 และดูแล Account รองเท้ากีฬาชื่อดังคือ Nike เมื่อ Dan Wieden ออกมาตั้งเอเจนซี่โฆษณาเองร่วมกับ David Kennedy ก็ได้นำ Account Nike นี้ติดมาด้วยและเป็น Account หลักของบริษัทในยุคนั้น จนถึงวันนี้ Nike ก็ยังทำงานร่วมกับ W+K อยู่ ในการให้สัมภาษณ์นั้น Dan Wieden ได้เล่าถึงประสบการณ์ในการคิด Tagline ของ Brand Nike ที่มีว่า “Just Do it” ในตอนนั้นว่าเกิดจากแรงบันดาลใจในการเห็นข่าวประหารนักโทษตอนนั้นในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนักโทษที่ชื่อ Gary Gilmore  ได้บอกประโยคสุดท้ายก่อนโดนประหารว่า “Let’s do it” ซึ่งประโยคดังกล่าวได้ลงหนังสือพิมพ์ Dan Wieden ได้เห็นประโยคดังกล่าวและเกิดแรงบันดาลใจในการคิด Tagline ให้ Nike แบรนด์ที่อยากให้ผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับกีฬา และเริ่มต้นออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพดีดังนักกีฬาที่เป็นต้นแบบ Dan Wieden จึงได้ใช้ประโยคที่ได้แรงบันดาลใจนั้นสร้างออกมาเป็น Tagline Nike ชื่อดังว่า “just do it”

httpv://www.youtube.com/watch?v=oYC_5_9B1qY

“Just do it” เป็น Momentum แรกของ Communication จากแบรนด์ Nike ออกมาในช่วงนั้น ซึ่งสร้างการเปลี่ยนสังคมอย่างมาก โดยทำให้คนที่ได้ดูโฆษณาดังกล่าวเกิดแรงบันดาลใจที่จะเริ่มลงมือทำอะไรทันที ไม่ว่าจะเป็นการกล้าเปลี่ยนตัวเองจากคนขี้ขลาดกลัว มาเป็นคนที่กล้าหาญเริ่มลงมือ บางคนได้ยินประโยคนี้เกิดความกล้าไปชวนผู้หญิงที่ตัวเองชอบออกงาน หรือการเริ่มต้นออกกำลังกายที่แค่เพียงเริ่มลงมือเท่านั้น นับล้านชีวิตนั้นเปลี่ยนไปจากแค่การทำ Communication จากประโยคนี้ประโยคเดียว

httpv://www.youtube.com/watch?v=p_xozTo6wrU

จากประโยคดังกล่าวโฆษณาชิ้นที่ 2 ของ Nike ที่ทำการ Communication ออกไปเป็นเรื่องจากประสบการณ์และเล่าจากชีวิตจริงของครีเอทีฟหญิงใน W+K คนหนึ่งที่เอามาทำ Communication ชิ้นนี้เพื่อให้ผู้หญิงเริ่มต้นที่จะเป็นตัวของตัวเอง และมั่นใจในตัวเองว่าจะเป็นอะไรก็ได้ เมื่อเริ่มต้นลงมือตาม Tagline ของ Nike ว่า Just do it เช่นกัน ซึ่งเมื่อ Print Ads ชุดนี้ออกไปสู่สายตาผู้บริโภคก็ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมาก ซึ่งทาง W+K ได้รับจดหมายมากมายจากคนที่ชอบว่า Print Ads นี้เปลี่ยนชีวิตตัวเอง หรือแม่ได้เอา Print Ads ชุดนี้ไปสอนลูกสาวตัวเองในบ้านเช่นกัน ซึ่งในสารคดีของ Art & Copy นั้นได้บอกถึงว่าโลกเรานั้นมีโฆษณาจำนวนมากมายที่ออกมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโฆษณาขยะที่จ้องแต่จะขายสินค้าและไม่ได้ทำอะไรให้สังคมดีขึ้นหรือเข้าไปช่วยให้ผู้บริโภคนั้นดีขึ้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคนั้นเกลียดโฆษณาและเปลี่ยนช่องหรือหนีเวลาโฆษณามาตามทีวี

Nike Mother

สารคดี Art & Copy นั้นทำให้ผมได้นึกถึงเรื่อง Brand Purpose ที่มีพูดตลอดทั้งปี 2015 ที่ผ่านมาว่าเป็นเรื่องสำคัญในยุคนี้ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ที่เกิดหลังปี 1990 หรือปี 2000 ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคยุคนี้ห่วงใยในอนาคตและหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของโลก ซึ่งหลาย ๆ แบรนด์ได้เริ่มทำการตลาดแบบนี้ขึ้นมา และ Agency ก็สร้างสรรค์ชุด Communication หลากหลายเพื่อส่งเสริม Brand Purpose ในเรื่องนี้ อย่างเช่น P&G กับ Like A Girl หรือ Unilerver ที่ทำแบรนด์ที่จะเน้นเรื่อง Sustainable เพื่ออนาคตของโลกเรา ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าโลกเรากำลังมุ่งไปสู่ความหวังที่จะสร้างโลกให้ดีขึ้น ด้วยการที่แบรนด์เริ่มผลักดันในการสร้าง Communication ที่จะช่วยสังคมให้ดีขึ้นไปได้

httpv://www.youtube.com/watch?v=XjJQBjWYDTs

ในประเทศไทยเองหลาย ๆ แบรนด์ก็เริ่มต้นที่จะทำให้สังคมดีขึ้นเช่นกัน ด้วยการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจในองค์กร ซึ่งเป็นการทำธุรกิจที่มองในระยะยาวที่จะสามารถซื้อใจผู้บริโภคคนไทยต่อไปที่มองเห็นว่าอนาคตของสังคมนั้นสำคัญกว่าการหากำไรแบบเร่งด่วนโดยไม่สนใจว่าสังคมจะเป็นเช่นไร ซึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมานั้นเราก็เห็นแล้วว่า ผลการที่ทำ Communication ที่คิดแต่จะใช้ Drama Marketing หรือ Dart Marketing เพื่อกระตุ้นให้คนจำจดเพื่อแลกกับชื่อเสียงที่ต้องเสียไป ไม่ใช่แค่ในไทย แต่กลายเป็นระดับโลกนั้นมีความคุ้มค่าหรือไม่ แถมชื่อเสียงทั้งผู้ผลิต เอเจนซี่เองก็ต้องถูกจำไปเหมือนกันว่าทำโฆษณาหรือ Communication แบบไม่สนใจว่าสังคมจะเป็นเช่นไร แน่นอนคนจะจดจำแบรนด์นี้ไปด้วยภาพลักษณ์ที่เป็น Negative แบบนี้ไปอีกยาวนาน แถมยิ่งยุคนี้มี Digital Footprint แล้วละก็ค้นหาเท่าไหร่ก็จะเจอเรื่องนี้

httpv://www.youtube.com/watch?v=45mMioJ5szc

ผมเชื่อว่าถ้าเราหวังจะให้สังคมดี ไม่ให้คนไม่ชอบการตลาดและซื้อหรือใช้บริการสินค้าเรานั้น การทำ Communication ที่คิดเพื่อจะให้สังคมนั้นดีขึ้นเป็นทางออก แถมทำให้แบรนด์เรานั้นเปลี่ยนแปลงชีวิตคน ทำให้คนจดจำได้ยืนยาวนานกว่าแบบที่ไม่สนใจว่าสังคมจะเป็นอย่างไร เรามีวิธีการมากมายที่จะสื่อสารเพื่อทำให้สินค้านั้นจดจำหรือขายได้ อยู่ที่ว่าเรานั้นจะเลือกหนทางแห่งเจได แล้วทำให้สังคมนั้นมีอนาคตร่วมกัน หรือเลือกหนทางแห่งซิธด์ ที่จะทำให้สังคมยิ่งแย่ลงไป

Copyright © MarketingOops.com

 


  • 8
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ