5 กฏการตลาดบนโซเชียลมีเดียที่คุณลองแหกกันบ้างก็ดี

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Social

ขอบคุณภาพประกอบจาก articlewinter.com

กฏมีไว้แหก…คือเรื่องจริงซะยิ่งกว่าจริงในวงการโซเชียลมาร์เกตติ้ง!

Amy Jo Martin นักเขียนและผู้ก่อตั้ง Digital Royalty กล่าวว่าเรื่องของดิจิตอลมาร์เกตติ้งนั้นไม่มีใครสามารถวางกฏเกณฑ์ให้มันได้หรอก

อย่างตอนเด็กๆ แม่ก็ไม่เคยให้คุณกินไอติมเยอะๆ เพราะคิดว่าไม่มีสารอาหารแต่เมื่อคุณลองแหกกฏไปแอบกินไอติมดูจึงรู้ว่ามันอร่อยและสามารถเป็นอาหารว่างของคุณได้นี่หน่า แถมถ้าคุณกินของหวานและของคาวในปริมาณที่เหมาะสมก็ดีกับร่างกายเหมือนกันนี่

ทีมนักการตลาดบนโซเชียลมีเดียของคุณก็เหมือน เมื่อเรียนรู้ว่าอะไรเป็น “มื้ออาหารหลัก” แล้ว ก็ต้องแอบไปทดลองกิน “ไอติม” จากที่อื่นดูบ้าง เพื่อมาสมดุลว่าจะมีแคมเปญของเราจะมีเนื้อหาหลักที่ต้องรักษาไว้มากแค่ไหนและมีส่วนไหนที่ต้องสร้างสีสรรให้งานไม่น่าเบื่อบ้าง

งั้นเราลองมาดูกฏ 5 ข้อของการทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียที่คุณควรลองแหกกฏออกมาบ้างดีไหมครับ?

1.กฏ 80/20

มีคำกล่าวที่ว่าการโปรโมทควรมีคอนเทนต์เพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่โปรโมทแบรนด์ของคุณโดยตรง ว่าแต่คุณรู้ไหมว่ากฏนี้มาจากไหน

Pareto Priciple ระบุว่ากว่า 80% ของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นมาจากผลของการ ‘รับ’ เอาข้อมูลจากโลกภายนอกเข้าไปเพียง 20% เมื่อนำมาปรับใช้กับการมาร์เกตติ้งจะพบว่าภาพลักษณ์ของเราและจุดยืนของเรา (ซึ่งถือเป็น 20% ของโลกภายนอกของคนอื่น) จะก่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นการกระทำกว่า 80% ได้

สรุปว่า การสร้างภาพลักษณ์และจุดยืนที่ดูดีให้ตัวเองอาจสำคัญกว่าการ ‘ขายของ’ แบบจริงจังเสียอีก อย่างไรก็ตาม อย่าลืมให้รายละเอียดที่เพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อด้วยล่ะ

2.Twitter ถือเป็นเครือข่ายแห่งข้อมูล

แม้หลายแบรนด์จะเข้ามาใช้ Twitter เพื่อหวังยอด engagement แต่อันที่จริงแล้ว Twitter เป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารดังนั้นหากแบรนด์ของคุณไม่ได้มีข่าวสารน่าติดตามเข้มข้น (ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่ก็ไม่มีนั้นแหละ) Twitter อาจเป็นแฟลตฟอร์มที่คุณข้ามไปก็ได้

3.คอนเทนต์ต้องตามเทรนด์

ก็เหมือนคุณสมบัติของข่าว การแชร์หรือเสนอข่าวที่ยังอยู่ในกระแสจะช่วยกระตุ้นยอด organic reach ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดันให้เนื้อหามีคนอ่านมากขึ้น ลองทำการทดลองอัพเดทข่าวสารในช่วงเวลาที่ต่างกันและดูว่าเวลาไหนเป็นช่วงเวลาทองของแบรนด์คุณ เรื่องนี้ไม่มีใครบอกคุณได้นอกจากคุณจะทดลองเอาเอง

4.ภาพลักษณ์ช่วยให้ยอด engagement ดีขึ้น

คอนเทนต์จะดีแค่ไหน หากภาพลักษณ์ของแบรนด์คุณแย่บางครั้งความน่าเชื่อถือก็ตกต่ำจนไม่มีใครอยากสนใจ ดังนั้นการแชร์คอนเทนต์ที่แบรนด์สร้างสรรค์ขึ้นมาเองและไม่ได้ลอกเลียนแบบใครจะทำให้แบรนด์น่าเชื่อถือและดูเป็นผู้นำเทรนด์ หากคุณสามารถตั้งตัวเป็น influencer ได้แล้ว หนทางที่จะขายของ (แบบแนบเนียน) ก็อยู่ไม่ไกลแล้วครับ

5.แบรนด์ต้องสร้างภาพลักษณ์ให้เหมือนกันในทุกช่องทาง

หลายแบรนด์อยากมีตัวตนให้ครบทุกแฟลตฟอร์ม แต่หากภาพลักษณ์ที่คุณสร้างขึ้นทำให้เกิดความสับสนกับผู้บริโภคก็ไม่มีประโยชน์

แม้ว่าคุณจะตั้งกลยุทธ์ไว้แล้วว่าอยากมีภาพลักษณ์แบบไหนบนแต่ล่ะแฟลตฟอร์ม แต่ในความเป็นจริงแล้วการสร้างภาพลักษณ์ในแต่ล่ะแฟลตฟอร์มมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ความตั้งใจอย่างหนึ่งของคุณอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกแบบหนึ่งได้ ดังนั้น คุณต้องถามคำถามต่อไปนี้

แบรนด์ของเราเหมาะกับช่องทางเหล่านั้นไหม?

หากแบรนด์อาศัยแคมเปญตามเทศกาลหรือตามโอกาส เนื้อหาคอนเทนต์จะเหมาะกับทุกแฟลตฟอร์มหรือไม่?

เราจะทำการตลาดบนแฟลตฟอร์มเดียวเท่านั้นดีไหม?

Source


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง