“มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” โพสต์ความเห็นเหตุ “ชาร์ลี เอบโด” ย้ำนโยบาย Facebook เปิดกว้างทางความคิด

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

zuckOK

จากเหตุโศกนาฏกรรมกราดยิงสำนักงานนิตยสาร “ชาร์ลี เอบโด” กลางกรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย เป็นเจ้าหน้าที่ของนิตยสารอย่างน้อย 10 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักเขียนการ์ตูน 4 ราย อาทิ สเตฟาน ชาร์โบนีร์ หรือนามปากกาว่า ‘ชาร์บ’ หัวหน้าบรรณาธิการของ ชาร์ลี เอบโด, ฌอง กาบูต หรือ ‘กาบู’, จอร์จ โวลินสกี และนักวาดการ์ตูนผู้มีนามปากกาว่า ทินู ขณะที่ตำรวจเสียชีวิตอีกอย่างน้อย 2 นาย

จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ยักษ์ใหญ่โซเชียล มีเดีย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม (เวลาท้องถิ่น) ความว่า ..

“เมื่อสองสามปีก่อน กลุ่มหัวรุนแรงในปากีสถานได้บังคับให้ผมแบนเนื้อหาที่เกี่ยวกับศาสดามูฮัมหมัด แต่Facebook เราปฏิเสธ สร้างความไม่พอใจให้กับพวกเขาอย่างมาก

เรายืนหยัดเพื่อเสียงที่แตกต่าง—แม้ว่าบางครั้งอาจจะรุนแรงไปบ้าง—เพื่อให้โลกเป็นสถานที่ที่น่าอยู่กว่านี้

Facebook คือสถานที่ที่ผู้คนต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกได้แบ่งปันมุมมองและไอเดียร่วมกัน เราปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละประเทศ แต่เราไม่เคยปล่อยให้ประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่ง ควบคุมสิ่งที่ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกได้แบ่งปันกันไปมา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวาน (เหตุยิงกราดนิตยสารชาร์ลี เอบโด) สำหรับประสบการณ์ของผมเองกับกลุ่มหัวรุนแรง นี่คือสิ่งที่เราไม่อาจยอมรับได้—กลุ่มหัวรุนแรงพยายามที่ปิดปากและความคิดเห็นทุกคนบนโลกนี้

ผมจะไม่ให้มันเกิดขึ้นบน Facebook ผมขอให้คำมั่นที่จะสร้างสถานที่ที่คุณสามารถพูดได้อย่างเสรีปราศจากความกลัวและความรุนแรง

ผมขอไว้อาลัยแด่เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ครอบครัวของพวกเขา ชาวฝรั่งเศส และผู้คนทั่วโลก ผู้ซึ่งเลือกที่แบ่งปันความเห็นและไอเดียนำมาซึ่งความกล้าหาญ #JeSuisCharlie”

MarkZ2

 

หลัง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้โพสต์ข้อความดังกล่าวไป ปรากฏว่ามีผู้คนเข้ามาไลก์และแชร์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีผู้คนเข้ามาถามความเห็นอีกมากมาย เช่นถามว่า “ถ้าเช่นนั้น ทำไมเนื้อหาถึงไม่ถูกแบนล่ะ ทำไมคุณถึงปฏิเสธ?” ซึ่งเขาตอบกลับไปว่า “นโยบายเราไม่ได้ขัดแย้งกันเองที่จะพูดถึงท่านมูฮัมหมัด แต่ที่เราบล็อกเนื้อหาดังกล่าวเพราะมันผิดกฎหมายของปากีสถาน แต่ในที่อื่นซึ่งไม่ถือว่าผิดกฎหมายเราก็ไม่ได้บล็อกเนื้อหาตรงนั้น”

MarkZ3

 

สำหรับเหตุการณ์การบล็อกเนื้อหาเฟซบุ๊กเกิดขึ้นเมื่อปี 2003 เนื่องจากผู้พิพากษาศาลปากีสถานได้วินิจฉัยตามคำร้องของหน่วยงานด้านโทรคมนาคมของรัฐบาล ให้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์เฟซบุ๊กและยูทูบ เพราะมีเนื้อหาเรียกร้องให้ผู้คนเข้าร่วมกลุ่มเขียนการ์ตูนล้อเลียนองค์ศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นศาสดาของชาวมุสลิม ซึ่งทางเฟซบุ๊กเองก็ได้แบนเนื้อหาดังกล่าวออกไปเช่นกัน แต่เฉพาะที่ปากีสถานเท่านั้น ส่วนในประเทศอื่นๆ ยังคงสามารถเปิดเนื้อหาดังกล่าวได้.


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!