ซีเอ็ดบุคส์ ดึง LINE ร่วมพันธมิตร ฮึดสู้ในสังเวียนดิจิทัล

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

cats

ประเด็นเรื่องการขยายตัวของสื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อวงการสิ่งพิมพ์ และทิศทางของสิ่งพิมพ์ในอนาคตว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะล้มหายตายจากไปหรือไม่ คงจะเป็นเรื่องชวนคิดที่เราพอได้รับรู้ หรืออาจจะได้ร่วมถกเถียงกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แน่นอนว่าถ้าหากสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของสื่อดิจิทัล สำนักพิมพ์และช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างร้านหนังสือ หรือธุรกิจสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้อง ย่อมต้องสะเทือนกันเป็นลูกโซ่ ซึ่งนั่นหมายถึง ผู้บริหารจะทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดในวันที่โลกหมุนเร็วขึ้น?

แล้วซีเอ็ดบุ๊คส์ทำอะไร?

ในช่วงสามถึงสี่ปีมานี้ เราจึงได้เห็นร้านหนังสือหลายร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านแฟรนไชส์เจ้าใหญ่ เจ้ากลาง หรือร้านอิสระ ขยายรูปแบบการจัดจำหน่ายมาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่การมีออนไลน์สโตร์เป็นของตัวเองของสำนักพิมพ์บางแห่ง ซึ่งไม่เพียงแค่การขยายการจัดจำหน่ายจากออฟไลน์มาอยู่สู่ออนไลน์ แต่คลอบคลุมไปถึงการให้บริการแยกย่อยที่ตอบโจทย์ไสฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน และในวันนี้เรามองไปที่ “ซีเอ็ดบุ๊ค” ร้านหนังสือแฟรนไชส์รายแรกที่โดดเข้ามาปักธงในแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างที่เราได้รับรู้กันว่า  ซีเอ็ดบุ๊คเป็นร้านหนังสือแฟรนไชส์ที่อยู่คู่คนไทยมานับสิบปี และนอกจากจะเป็นรายแรกของร้านหนังสือแฟรนไชส์ที่มีการจัดจำหน่ายผ่านทางออนไลน์สโตร์แล้ว ยังเป็นรายแรกที่มีรูปแบบการชำระเงินที่ผู้ซื้อสามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนได้ โดยการจับมือเป็นพันธมิตรกับ LINE Pay ฟีเจอร์ใหม่จาก LINE Thailand ที่ให้บริการ ชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆผ่านแอพลิเคชั่น LINE

ลุกออกจาก comfort zone

ผู้บริหารซีเอ็ดบุ๊ค (คุณทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน) ได้เผยถึงผลการตัดสินใจว่า การใช้สื่อดิจิทัลเข้ามาผสมผสานในการทำธุรกิจทำให้ซีเอ็ดบุ๊คมียอดขายเพิ่มขึ้น และเป็นยอดขายที่มาจากกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยเป็นลูกค้าซีเอ็ดบุ๊คมาก่อน รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง Facebook, Twitter, Pinterest, Google+ ,Instagram รวมถึง Youtube Channel นับได้ว่าเป็นการก้าวออกจาก comfort zone ของร้านค้าออฟไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งจำหน่ายสินค้าที่ถูกพิพากษาล่วงหน้าว่าจะล้มหายตายจากไปในอนาคต

cats

ธุรกิจสิ่งพิมพ์จะอยู่หรือจะไป?

ถือเป็นปรากฎการณ์ที่น่าจับตามองอยู่ไม่น้อย เพราะนี่คือการส่งสัญญาณบางอย่างให้เราได้ฉุกคิดว่า วงการธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้กำลังจะตาย แต่กำลังปรับเปลี่ยนตัวเองให้ก้าวตามทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ในทุกขณะ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในอดีต ในยุคสมัยที่วิทยุเริ่มถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ก็มีประเด็นที่คล้ายกับยุคสมัยนี้เกิดขึ้นว่า วิทยุจะเข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ เช่นเดียวกันกับยุคสมัยที่โทรทัศน์ถูกประดิษฐ์และถูกใช้งาน วิทยุก็โดนพิพากษาล่วงหน้าเช่นกันว่าจะต้องถึงจุดจบ เพราะโทรทัศน์ได้เข้ามาทำหน้าที่แทนได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งกว่า แต่ทุกวันนี้ทั้งวิทยุ และโทรทัศน์ก็ยังคงมีอยู่ แม้จะมีการใช้งานน้อยลง แต่ก็ไม่ได้ล้มหายตายจากไปเสียทีเดียว โทรทัศน์ถูกพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ และวิทยุถูกพัฒนาให้เชื่อมต่อกับบลูทูธได้

สิ่งที่เราเห็น คือการปรับตัวให้ดำรงอยู่ได้ ในยุคที่โลกหมุนเร็วขึ้น  และแน่นอนว่าธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงดำเนินการอยู่ แม้จะมีจังหวะกระท่อนกระแท่นไปเสียบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์จมหายไปเสียทีเดียว การเข้ามาของยุคดิจิทัลเสมือนเป็นการกระตุ้นให้ผู้ทำธุรกิจได้ตื่นตัวและฉุกคิดว่า ทุกสิ่งอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง การกล่าวโทษสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอด หากแต่เป็นการคิดแก้ปัญหา และกล้าปรับเปลี่ยนตัวเองให้ตามทันสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นจึงจะทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •