8 เทรนด์ธุรกิจ ที่พลาดไม่ได้ในปี 2016

  • 71
  •  
  •  
  •  
  •  

เราคัดเลือก 8 เทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตาในปี 2016 มาเล่าสู่กันฟังให้ย่อยให้เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำไปปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจของตัวเองได้ แนะนำโดย Ian Altman ซึ่งเป็น contributor จาก Forbes

 

1.  บริษัทชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง เลือกที่จะโฟกัสกับระบบการติดต่อสื่อกับลูกค้าเป็นอันดับต้นๆ

ระบบการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเป็นเรื่องที่หลายบริษัทให้น้ำหนักเป็นอันดับต้นๆ เพราะเราอยู่ในยุคที่เรียกว่า Connection Economy หลายบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ปีเชื่อกันว่า  connection systems ที่ดี จะสร้าง value ที่ดีให้บริษัท  บริษัทที่มี value สูงมักจะโฟกัสเรื่องความสัมพันธ์กับลูกค้า และคอยมองหาคอนเนคชั่นใหม่ๆ ขอยกตัวอย่างบริษัทที่โฟกัสในระบบการติดต่อสื่อสารเป็นอันดับต้นๆ ดังนี้

Uber – บริษัทบริการเรียกรถที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้ แต่ Uber ไม่มีรถเป็นของตัวเองเลย

AirBnB – บริษัทที่เป็นแพลต์ฟอร์มในการหาที่พักที่โตไวที่สุด แน่นอน AirBnB ไม่มีที่พักเป็นของตัวเอง

หรือจะเป็น Crowdfunding businesses ทั้งหลายอย่าง Kickstarter, IndiGoGo ที่ทำให้เกิดเงินร่วมลงทุนขึ้นมากมายหลายโปรเจค และแน่นอนว่าเงินทุนพวกนั้นไม่ได้มาจาก Kickstarter หรือ IndiGoGo

 

2.  บริษัทที่เฉียบแหลมจะไม่มัวมาคอมเพลนกลุ่มมิลเลนเนียล แต่จะหาวิธีดึงกลุ่มนี้ให้เข้ามา engage กับแบรนด์ของตัวเอง

มิลเลนเนียล เจนเนอเรชั่น เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปี 1980-1996 มีอยู่ประมาณ 30% จากประชากรทั่วโลก เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความยากในการทำตลาด เพราะเป็นกลุ่มที่ไร้ loyalty และสามารถเปลี่ยนแบรนด์ได้ตลอดเวลาถ้าหากมีทางเลือกที่ดีกว่า ค่อนข้างมีความเป็นตัวเอง ไม่เปิดรับอะไรง่ายๆหากไม่ได้อยู่ในความสนใจ จึงเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับแบรนด์ที่จะ engage คนกลุ่มนี้ แต่คนกลุ่มนี้จะพร้อมให้ใจอย่างเต็มที่ ถ้าหากแบรนด์สามารถตอบโจทย์พวกเขาได้ และเป็นกลุ่มที่ยอมจ่ายเพื่อไลฟ์สไตล์

 

3.  Innovative Organizations จะลงทุนกับเครื่องมือหรือระบบ ที่จะช่วยให้คนในองค์กรทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพ

การนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรทำงานกันได้ไว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเป็นเรื่องที่หลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับการฝึกฝนให้พนักงานสามารถใช้เครื่องมือเหล่านั้นมาซัพพอร์ตการทำงานได้

ThinkstockPhotos-180443855

 

4.  บริษัทที่แข็งแกร่งจะโฟกัสไปที่การสร้าง Strengths-Based ให้พนักงาน มากกว่าจะโฟกัสแค่การฝึกฝนหัวหน้างาน

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พนักงานในองค์กรเอาชนะอุปสรรคในการทำงานคือการสร้าง Strengths-Based ให้พนักงานในองค์กรมีสกิลที่เฉพาะเจาะจงในการทำงาน และแก้ปัญหาเบื้องต้นได้โดยตนเอง เมื่อพนักงานได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรู้และถนัด ผลดีที่ตามมาจะเอฟเฟคต่อทั้งองค์กรและตัวพนักงานเอง พนักงานจะมีความสุขที่ได้อยู่ในที่ที่ตัวเองสามารถแสดงศักยภาพได้  และจะทำให้องค์กร มี productivity เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

5.  margins ใน commodity products จะลดลง ในขณะที่ service industry จะขยายมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เคยมั้ยคะ สินค้าสองร้านขายเหมือนกันราคาต่างกันนิดหน่อย แต่เรายอมจ่ายให้ร้านที่แพงกว่าเพราะพนักงานขายให้บริการดีกว่า  หรือ ซื้อสินค้าทางออนไลน์ เปรียบเทียบสินค้าและราคาจากหลายๆร้าน ด้วยราคาที่ต่างกันไม่มาก สุดท้ายเลือกร้านที่ส่งฟรีส่งไว ในวันที่ลูกค้ามีตัวเลือกมากมาย การแข่งกันลดราคาจะมีแต่ผลเสีย ธุรกิจควรมุ่งหากลยุทธ์ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าผ่านการบริการ  เห็นได้จากร้านค้าออนไลน์ระดับโลกมากมายพยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ๆมาอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในทุกวิถีทาง

 

6.  องค์กรที่มีวิสัยทัศน์จะลงทุนกับบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่อง customer service เพื่อสร้าง value ให้องค์กร และ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า

“จากบริษัททั่วโลก ในแต่ละปีเราลงงบราวๆ $500 billion ไปกับ marketing และ  $9 billion ไปกับ customer service แต่อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงมันชัดเจนอยู่แล้วว่าการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเอาไว้ให้ดีเป็นหนทางที่จะทำกำไรให้บริษัทได้เร็วที่สุด” บริษัทที่เฉียบแหลมจะหากลยุทธ์ในการให้บริการ และ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า  เพราะทั้งสองสิ่งที่กลาวมาคือ new marketing ที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้บริษัทในระยะยาว

จาก Walker research เผยว่า ในปี 2020  ‘customer experience’ จะมีบทบาทสำคัญกว่า ‘ราคา’ โดยเฉพาะกับธุรกิจแบบ B2B

ThinkstockPhotos-84516504

 

7.  ธุรกิจที่สร้างสรรค์จะ engage ลูกค้าและพนักงานด้วยความสนุก และ Games

Gamification เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอ ขอยกตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้แล้วเปรี้ยงปร้างนะคะ อย่าง Air Asia ที่จะมีการกำหนดช่วงเวลาปล่อยตั๋วราคาถูก ดึงคนให้มาร่วมกันล่าตั๋วถูก หรือ แอพ Foursquare ที่จะให้เข็มกลัดสำหรับการเช็คอินสถานที่พิเศษ  หรือ การนับเวลาถอยหลังในการปล่อยโปชั่นหรือขายสินค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกชาเลนจ์ที่จะเข้าร่วม

 

8.  บริษัทที่ทำยอดขายได้น่าทึ่ง มักจะดึงเอา content marketing เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการขายเสมอ

เวลาเราจะซื้ออะไรสักอย่างที่สนใจ เราจะเชื่ออะไรมากกว่ากันระหว่างข้อมูลที่เรารีเสิร์ชมากับคำพูดคนขาย? อย่างหนึ่งที่บริษัทต้องเข้าใจคือลูกค้าจะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นจริง คำโน้มน้าวจากผู้ขายหากเกินพอดีอาจทำให้ลูกค้าไม่เชื่อถือทั้งในตัวผู้ขายและในแบรนด์อีกเลย

สำหรับพนักงานขายมีสองทางเลือกที่ควรทำคือ ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงแม้จะไม่ตรงกับความต้องการลูกค้า แต่ต้องให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมิณทางเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือ ต้องเต็มใจที่จะหลีกทางให้ลูกค้าหาข้อมูลจากแหล่งอื่นด้วยตัวลูกค้าเอง

สำหรับบริษัทเองก็ต้องวางกลยุทธ์การตลาดควบคู่ไปกับกลยุทธ์การขาย ดึง content ของผลิตภัณฑ์ผนวกเข้าไปในกระบวนการขาย ทำให้ลูกค้าเชื่อในตัวผลิตภัณฑ์ด้วยสตอรี่ที่มาจากกลยุทธ์การตลาด พยายามลดการโน้มน้าวลูกค้าด้วยการเสนอคุณสมบัติเกินจริง คิดไว้เสมอว่าสิ่งที่นำเสนอทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ

 

Source: Forbes


  • 71
  •  
  •  
  •  
  •