โดเมนภาษาท้องถิ่น อนาคตอินเทอร์เน็ตในเอเชียแปซิฟิก

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Media Brief_Bangkok_17 Aug_TH-page-019-higlight

เมื่อ 15 ปีก่อน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกนั้นมีเพียง 500 ล้านคนเท่านั้น แต่ทุกวันนี้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกรวมกันมากกว่า 3 พันล้านคน และ 45.6% หรือเกือบครึ่งอยู่ในเอเชีย ในจำนวนนั้นอยู่ในประเทศไทย 54% ปัจจัยหลักที่ทำให้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้นคือ ราคาสมาร์ทโฟนถูกลงนั่นเอง

โดยข้อมูลจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบุว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยราว 35 ล้านคนคิดเป็นอัตราการเข้าถึงร้อยละ 54 จากจำนวนประชากรทั้งหมด และทั้งประเทศก็มีโทรศัพท์มือถือราว 97 ล้านเลขหมาย และที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็มีจำนวนไม่น้อย

แต่ทว่า คนไทยส่วนใหญ่กลับไม่คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ทำให้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตยังถูกจำกัดด้วยภาษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายฝ่ายจึงพยายามพัฒนาการจดโดเมนเนม หรือชื่อเว็บไซต์ เพื่อเปิดโอกาสให้กับคนไทยอีกเป็นจำนวนมากได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต

Media Brief_Bangkok_17 Aug_TH-page-007

ด้าน ไอแคน (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers – ICANN) องค์กรระดับนานาชาติที่มีหน้าที่หลักในการจัดสรรดูแลโดเมนและไอพีของระบบอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้แนะนำโครงการ Internationalised Domain Name (IDN) หรือโครงการชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ตัวอักษรในภาษาอื่นหรือระบบการเขียนต่างๆ มาตั้งเป็นโดเมนเนมได้

โดยจุดประสงค์ของการใช้โดเมนเนมในภาษาท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนทั่วโลก รวมทั้งคนไทยอีกเป็นจำนวนมากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แม้จะใช้ภาษาอื่นๆ ที่มีตัวเขียนแตกต่างกันไปจากภาษาของแต่ละประเทศ เช่น ไทย จีน ฮินดี ญี่ปุ่น ฯลฯ ที่นอกเหนือจากอักขระในภาษาอังกฤษ และนำไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเป็นสากลอย่างแท้จริง

Media Brief_Bangkok_17 Aug_TH-page-008

เนื่องจากในโลกนี้มีภาษาต่างๆ มากกว่า 6,000 ภาษา ซึ่งร้อยละ 50 นั้นจะถูกใช้กันอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความหลากหลายเช่นนี้เองที่ท้าทายต่อพื้นที่ของระบบโดเมนเนมแบบเดิม หากแต่ IDNs จะสามารถรองรับความแตกต่างทางภาษาให้ปรากฏบนอินเทอร์เน็ตได้ ตอนนี้มีโดเมนเนมขั้นสูงสุดทั่วไปในภาษาท้องถิ่น 61 รายการที่ออกมาให้ใช้ได้แล้ว และมีรหัสประเทศของโดเมนเนมขั้นสูงสุด 47 ชนิดครอบคลุมประเทศและเขตการปกครองถึง 37 แห่ง

11898710_10153001426711960_3606623479166084045_n-700

มร. สามาด ฮุสเซน ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายโครงการชื่อโดเมนจากภาษาท้องถิ่น (Internationalised Domain Names – IDN) กล่าวว่า โครงการ IDN คือการจัดตั้งโดเมนเนมที่ใช้ตัวอักษรในภาษาที่มีอยู่หลากหลายทั่วโลก ซึ่งต่างก็มีระบบการเขียนที่ไม่เหมือนกัน IDN จะเพิ่มสมรรถนะของระบบอินเทอร์เน็ตให้รองรับภาษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทย, จีน, ฮินดี ฯลฯ และผลักดันให้ก้าวเข้าสู่ความหลากหลายทางภาษา ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แก่คนหลายพันล้านทั่วโลกสามารถเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตได้”

ด้าน คุณรีนาเลีย อับดุล ราฮิม สมาชิกของคณะกรรมการไอแคน กล่าวเสริมว่า “นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ไอแคนได้ให้ชื่อของโดเมนขั้นสูงสุดใหม่มากกว่า 700 รายการ นี่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะการแสดงอัตลักษณ์และการมีที่พื้นที่ในโลกออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทั้งบุคคล องค์กร และบริษัทต่างๆ ดังนั้นการเพิ่มจำนวนชื่อโดเมนขั้นสูงสุดจะทำให้วิธีการที่เราใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งวิธีการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับตราสินค้าและธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง นับเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามอง”

Access_domain_names_infographic_th-page-001-700

การใช้โดเมนภาษาท้องถิ่นจะส่งผลดีต่อธุรกิจ

การปฏิวัติครั้งใหญ่ของระบบการตั้งชื่อโดเมนนี้ จะสามารถเพิ่มโดเมนใหม่ได้ถึง 1,300 โดเมน คาดว่าภายในระยะเวลา 1 ปี จะมีผู้ลงทะเบียนจัดตั้งเว็บใหม่เป็นหลักแสน แสดงให้เห็นว่ามีความต้องการสูง การทำตลาดของแบรนด์ก็ต้องสร้างการจดจำให้ได้ เช่น การลงท้ายด้วยชื่อเมือง .Osaka, .Paris หรือ .NYC เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย แบรนด์ที่ลงทะเบียน Top-Level Domain คือ SCB

Media Brief_Bangkok_17 Aug_TH-page-009

การใช้โดเมนภาษาท้องถิ่นจะช่วยให้ประชากรทั่วโลก รวมทั้งคนไทยอีกจำนวนมากเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรไทยบางส่วนรู้จัก องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ อตก. แต่ไม่รู้จักชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงไม่สามารถเข้าเว็บได้ ในอนาคตเมื่อมีการใช้โดเมนท้องถิ่นมากขึ้น เกษตรกรก็สามารถเข้าเว็บ อตก.ได้เลย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ถ้าเราสะกดชื่อโรงแรมเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็สามารถพิมพ์ภาษาไทยและเข้าเว็บไซต์ได้ทันที

ทั้งนี้ ภาครัฐเองก็ต้องช่วยพัฒนาให้ระบบอินเตอร์เน็ตให้รองรับกับตัวอักษร และระบบการเขียนที่แตกต่างกัน เผยแพร่ สร้างการรับรู้ และการพัฒนาระบบการตั้งชื่อโดเมนด้วยอักษรไทย รวมทั้งการกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •