ภาครัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เร่งกวาดล้างการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำลังดำเนินการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ สอดรับกับภารกิจของรัฐบาลที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย ในปีที่ผ่านๆ มา การปราบปรามเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจการผลิตและก่อสร้าง แต่ในครั้งนี้จะพุ่งเป้าไปยังองค์กรทั้งหมดในทุกกลุ่มธุรกิจที่พบเบาะแสข้อมูลใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญาโดยจะรวบรวมจำนวนธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และเล็กผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ใช้ซอฟต์แวร์ เช่นกัน

การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ยังคงมีความเชื่อมโยงระหว่างซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ มัลแวร์และการคุกคามทางไซเบอร์ ทาง บก.ปอศ. มองว่าซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเป็นบันไดขั้นแรกในการป้องกันภัยคุกคามในโลกไซเบอร์

software-piracy

นับตั้งแต่ต้นปี มีบริษัทมากกว่า 40 แห่งทั้งในกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และราชบุรี ที่ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุมในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ “ผู้บริหารระดับสูงและผู้เกี่ยวข้องฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรเหล่านี้ บ่อยครั้งที่ไม่รู้ว่าองค์กรธุรกิจของตนกำลังทำผิดกฎหมาย แต่ความไม่รู้ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวได้ และองค์กรธุรกิจเหล่านี้กำลังเป็นเป้าหมายของการปราบปรามจากการกระทำผิด และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทและองค์กรนี้ต้องร่วมรับผิดชอบและต้องไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ที่วางอยู่บนชั้นวางสินค้าในร้านค้าแต่กลับยอมให้มีการลักทรัพย์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญามูลค่าหลายล้านบาทของผู้อื่นโดยปล่อยให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญาภายในองค์กร” พ.ต.อ.สรรักษ์ จูสนิท รอง ผบก.ปอศ. รักษาราชการแทน ผบก.ปอศ. กล่าว

การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ประกอบกับรายงานของไอดีซีที่ว่าโอกาสที่ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจจะเผชิญกับภัยมัลแวร์เมื่อใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญามีสูงถึงร้อยละ 33 และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราวร้อยละ 25 ของการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ มุ่งไปที่องค์กรธุรกิจในภาคการผลิตซึ่งเป็นฐานการผลิตของธุรกิจขนาดใหญ่

การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลและการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยเพราะอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เช่นกันองค์กรเหล่านี้ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายกำลังเสี่ยงที่จะเผชิญกับอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ การถูกหลอก และการถูกโจรกรรมข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในความเสี่ยง และส่งผลไปยังเยาวชนอาจได้รับผลกระทบ เช่น ไปเล่นเกมในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่เกมออนไลน์ส่วนใหญ่ต้องใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระเงิน ก็ตกเป็นเหยื่อของพวกแฮกเกอร์ ขโมยรหัสผ่านบัตรเครดิตของเยาวชนเหล่านี้และนำเงินไปใช้ เพราะแฮกเกอร์เหล่านี้สามารถเจาะเข้ามาในระบบได้โดยอาศัยมัลแวร์ที่ติดมากับการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย กรณีตัวอย่างของอาชญากรรมไซเบอร์ คือองค์กรบริษัทในประเทศไทยหลายแห่งถูกเจาะเข้าระบบการเงินและบัญชี โดยอาชญากรไซเบอร์ได้สร้างใบเรียกเก็บเงินฉบับปลอมที่มีความคล้ายคลึงกับใบเรียกเก็บเงินจากคู่ค้าขึ้นมา และได้ขโมยเงินของผู้ผลิตไทยโดยวิธีดังกล่าวนี้มานับครั้งไม่ถ้วน นอกจากนี้อาชญากรไซเบอร์ได้มีการแฮกฐานข้อมูลเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน

ธนาคารและสถาบันทางการเงินหลายๆ แห่งได้มีการแจ้งเตือนลูกค้าไม่ให้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อนในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการปฎิบัตินี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและทุกคนควรปฎิบัติตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจบก.ปอศ. ใคร่ขอความร่วมมือจากทั้งภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไปให้ใช้แต่ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายและปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจ ทำธุรกรรมทางการเงินและอื่นๆ ที่ผ่านช่องทางออนไลน์

software-copyright

“องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญา เป็นสาเหตุทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงและกำลังคุกคามระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยที่รัฐบาลกำลังสร้างขึ้น เพราะการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ถือเป็นการโจรกรรมแบบหนึ่ง ที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล” พ.ต.อ.สรรักษ์ กล่าว

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นชาวต่างชาติเท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทซอฟต์แวร์ของคนไทยและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

พ.ต.อ.สรรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทซอฟต์แวร์ของคนไทยได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน เช่นในกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์กันมาก ตัวอย่างเช่น พบว่ามีซอฟต์แวร์พจนานุกรมไทยของบริษัทไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ติดอยู่ด้วยกรณีนี้ยังส่งผลต่อไปถึงอนาคตของเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย”

การลดปริมาณซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในปีพ.ศ. 2557

ในปี 2557 ตำรวจ ปอศ. ยังมีนโนบายเข้าตรวจค้นและจับกุมองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญาแม้ว่าจำนวนเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนจะลดลงจากปีก่อนราวร้อยละ 10 เนื่องจากวิกฤติทางการเมืองก็ตาม

ปีที่แล้ว รายได้โดยเฉลี่ยต่อปีขององค์กรธุรกิจที่ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบก.ปอศ. ฐานใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญา อยู่ที่ 211 ล้านบาทต่อปีแสดงให้เห็นว่าแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ยังละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ในปีพ.ศ. 2557 มีองค์กรธุรกิจทั้งหมด197 แห่งถูกเข้าตรวจค้นและจับกุม และมีมูลค่าการละเมิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 456 ล้านบาท

ในปีพ.ศ. 2557 องค์กรธุรกิจที่ถูกเข้าตรวจค้นและจับกุมมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวไทยร้อยละ 76 ชาวญี่ปุ่นร้อยละ 1.5 ชาวมาเลเซียร้อยละ 1.5 ชาวอเมริกันร้อยละ 1 ชาวออสเตรเลียร้อยละ 0.5 ชาวจีนร้อยละ 0.5 ชาวเดนมาร์กร้อยละ 0.5 และอื่น (บริษัทร่วมทุน) ร้อยละ 18.5 โดยประเภทของอุตสาหกรรมมีตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 44 ก่อสร้างและออกแบบร้อยละ 19 ตัวแทนจำหน่ายและธุรกิจค้าส่งร้อยละ 10 วิศวกรรมร้อยละ 6 อสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 4 เครื่องจักรกลร้อยละ 3 และอื่นๆ ร้อยละ 14

“นักพัฒนาและผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ของประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต และการปกป้องพวกเขาจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ จะสร้างงานให้เพิ่มมากขึ้น สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และยกระดับชื่อเสียงของประเทศไทยในเรื่องความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด”

รัฐบาลกำลังทำงานเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมุ่งมั่น โดยเน้นโครงสร้างพื้นฐาน (Hard Infrastructure) โครงสร้างความมั่นคงปลอดภัย (Soft Infrastructure) โครงสร้างพื้นฐานด้านบริการ (Service Infrastructure)  การส่งเสริมการขับเคลื่อนศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy Promotion) และการสร้างสังคมที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลโนยีดิจิทัล (Digital Society and Knowledge)

“พื้นฐานสำคัญอีกอันหนึ่งที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลประสบความสำเร็จ คือองค์กรธุรกิจไทยต้องเคารพลิขสิทธิ์และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ผลสำรวจของไอดีซีระบุว่า ในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 71 ของซอฟต์แวร์ที่ถูกดาวน์โหลดในเครื่องพีซีในประเทศไทย คือ ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตามสัญญาเราจะปล่อยให้สถานการณ์การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นเช่นนี้ต่อไปไม่ได้” พ.ต.อ.สรรักษ์ กล่าว “ทุกๆ บริษัทหรือบุคคลที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่ กำลังก่ออาชญากรรมภายใต้กฎหมายไทยและตำรวจ ปอศ. มีหน้าที่ต้องปราบปรามอาชญากรรมดังกล่าว”

 


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •