Enterprise กับ Startup เชื่อมโยงกันอย่างไร ฟังคำตอบจาก SCB, dtac และ Garena

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

0156

แนวโน้มความนิยมของ Startup ยังแรงไม่ตก แม้จะมีการพูดถึงฟองสบู่ Startup กันมากขึ้น แต่ถ้าทำความเข้าใจให้ดีจะพบว่า เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ และไม่ได้น่าเป็นห่วงอย่างที่คิด และครั้งนี้ Enterprise ใหญ่ๆ ที่ให้ความสนใจกับ Startup จะมาให้ความเห็นว่า ทั้ง 2 ธุรกิจนี้จะมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร นำทีมโดย SCB, dtac และ Garena online และยังเป็นน้ำจิ้มสำหรับงาน Techsauce Summint 2016 ที่จะจัดขึ้นวันที่ 23-24 ก.ค. นี้

การส้มมนาเล็กๆ ในงานแถลงข่าว Techsauce Summit 2016 Press Conference ที่จัดเมื่อเร็วๆ นี้ คนที่จะมาให้คำตอบว่า Enterprise กับ Startup เชื่อมโยงกันอย่างไร ประกอบด้วย ธนา เธียรอัจฉริยะ ที่ปรึกษาจาก SCB และ ประธานกรรมการ ของ  Digital Ventures บริษัทในเครือ SCB, สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการโครงการ dtac Accelerate และ มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO ของ Garena Online ประเทศไทย

0172

Collaborate and Disrupt ทิศทางของ FinTech และ ธนาคาร

ธนา บอกว่า ส่วนตัวมองว่าภาพการ Collaborate ระหว่าง Enterprise กับ Startup จะเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่า มี FinTech มากกว่า 50% ที่มุ่งสร้างความร่วมมือกับธนาคาร และสถาบันการเงินมากกว่าที่จะเข้าไป Disrupt เพราะเห็นแล้วว่า มีโอกาสเติบโตได้ดีกว่า เหมือน SCB ที่ตั้ง Digital Ventures มา ใส่งบประมาณ 50 ล้านเหรียญ เพื่อเป็นทั้ง VC และ Lab สร้าประโยชน์ทั้งธนาคารและ FinTech ไปพร้อมกัน

“FinTech ที่มีไอเดีย มีโปรดักส์ หรือมีเซอร์วิส ที่จะเติบโตไปด้วยกันกับ SCB ได้ เข้ามาคุยได้เลย นี่คือโอกาสในการร่วมมือกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่ามี FinTech บางส่วนที่ Disrupt ในสิ่งที่ธนาคารทำไม่ได้ ก็เปิดกว้างเข้ามาคุยกัน แม้จะร่วมมือทางธุรกิจไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถร่วมลงทุนได้”

ทั้งนี้ กระแสความเป็นห่วงเรื่อง ฟองสบู่ นั้น ธนา บอกว่า ฟองสบู่ ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วง เพราะ VC ที่ทำหน้าที่ลงทุน ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์อยู่แล้วว่า Startup รายใดน่าลงทุน และต่อให้มีความผิดพลาดบ้าง ก็เป็นส่วนน้อย VC ไม่ลำบากกับเรื่องพวกนี้แน่นอน แต่ที่ควรใส่ใจ ต้องทำให้ Startup เข้าใจว่า เป็นเรื่องยากลำบากมาก กว่าจะประสบความสำเร็จ

0188

ประสบการณ์ Enterprise ส่งต่อถึง Startup

สมโภชน์ บอกว่า dtac เป็น Enterprise รายแรกๆ ของประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุน Startup อย่างเป็นรูปธรรมตอนนี้ปีที่ 4 ของโครงการแล้ว มี Startup 22 รายอยู่ในโครงการ มีทั้งที่ได้รับทุนจาก VC ได้ไปทำตลาดในต่างประเทศ นี่คือสิ่งที่ Enterprise ให้การช่วยเหลือ เพราะเข้าใจในธุรกิจมากกว่า จึงตั้งโครงการ dtac Accelerate ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือ Startup ให้เติบโตไปด้วยกัน

“dtac อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ปรับตัวได้เร็ว แต่ก็ยังเร็วไม่พอ นี่คือสิ่งที่ Startup ทำได้ ปรับตัวได้เร็ว สร้างโปรดักส์ หรือเซอร์วิสใหม่ได้ ทำให้ Enterprise กับ Startup ต้องร่วมมือกัน”

อย่างไรก็ตาม Startup ต้องเข้าใจว่า ถ้ามีเป้าหมายว่าอยากรวย อยากได้เงินทุนมากๆ จะพบกับความล้มเหลวแน่นอน ที่เห็นว่าประสบความสำเร็จระดับโลก เช่น Facebook, Google, Twitter นี่คือบริษัทไม่ถึง 1% ของ Silicon Valley

0207

Investment, Mentor and Freedom กุญแจสู่ความสำเร็จ

มณีรัตน์ บอกว่า Garena คือ Unicorn Startup ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญไปแล้ว มีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ และทำตลาดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไทยคือตลาดที่ใหญ่ที่สุด ทุกครั้งที่มีโปรดักส์ หรือเซอร์วิสใหม่ออกมา จะทดลองตลาดที่ไทยก่อน เพราะไทยให้การตอบรับเรื่องใหม่ๆ ได้ดี และมี Feed Back ที่เร็ว

“มีร้านเกมกว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศเป็นพันธมิตรกับ Garena เมื่อมีโปรดักส์และเซอร์วิสใหม่ สามารถทดลองตลาดได้ทันที รวมถึงการเปิดบริการใหม่อย่าง Airpay ที่อำนวยความสะดวกในเรื่องทางการเงินกับผู้เล่นเกมด้วย”

สำหรับ VC รายแรกที่ลงทุนใน Garena คือ Tencent จากจีน ซึ่งนอกจากให้เงินทุนแล้ว สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ยังทำหน้าที่เป็น Mentor และให้อิสระ ในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ Garena ได้เรียนรู้ผ่านคำแนะนำของ Tencent และยังคงเป็นตัวเองทำงานในแบบที่เป็น Garena จนสามารถประสบความสำเร็จได้

 


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •