สำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทย ปี 58

  • 33
  •  
  •  
  •  
  •  

ThinkstockPhotos-536195503-higlight

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทำการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย เกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทยในรอบปีที่ผ่านมา

ทั้งในเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว ลักษณะการเดินทางการเดินทาง วัตถุประสงค์ในการเดินทาง กิจกรรมที่ทำระหวางการเดินทาง การจัดการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศรวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม – มีนาคม 2558 จากประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 63,060 ราย ผลจากการสำรวจ สรุปได้ดังนี้

1. การเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด

1.1 การเดินทาง และลักษณะการเดินทาง

ผลการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ เกี่ยวกับการเดินทางจากที่อยู่อาศัยประจำในจังหวัดหนึ่ง ไปยังสถานที่อยู่ในอีกจังหวัดหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยมีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว พักผ่อน เยี่ยมครอบครัว/ญาติมิตร ประชุมหรือสัมมนา เล่นหรือดูกีฬา ประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งการเดินทางเพื่อไปรับ การรักษาตัว หรือประกอบภารกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เพื่อทำงานประจำ หรือเพื่อการศึกษา และต้องไมใชการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อซื้อสินค้ามาจำหนาย ซึ่งถือว่าเป็นการเดินทางท่องเที่ยว พบว่า ในรอบปีที่ผ่านมา (ในรอบปี 2557) มีร้อยละของประชากรที่เดินทางท่องเที่ยว ร้อยละ 64.9

TravelPocket58-page-001-1
สำหรับกลุ่มผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในรอบปี 2557 พบว่า มีลักษณะการเดินทางแบบไม่พักค้างคืนซึ่งถือว่าเป็นนักทัศนาจร
ประมาณร้อยละ 34.7 ส่วนผู้ที่เดินทางมีลักษณะการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน ร้อยละ 48.6 และผู้ที่เดินทางทั้ง 2 ลักษณะคือ ทั้งพักและไม่พักค้างคืน ร้อยละ 16.7

TravelPocket58-page-001-2

สำหรับกลุ่มผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในรอบปี 2557 ได้ให้เหตุผลที่ไม่ต้องการเดินทางท่องเที่ยว 5 ลำดับแรก ได้แก่ ไม่มีเวลา ไม่มีงบประมาณที่เพียงพอ ไม่ชอบเดินทาง สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี และมีปัญหาเรื่องสุขภาพ

TravelPocket58-page-001-3

เมื่อพิจารณาภาคที่ประชากรเดินทางไปท่องเที่ยวในรอบปี พบว่า ประชากรเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด 32.3% รองลงมาเป็นภาคกลาง 29.3% และภาคเหนีอ 23.6%

วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่

1. เยี่ยมครอบครัว/ญาติ/เพื่อน 37.4%
2. ท่องเที่ยว/ต้องการพักผ่อน 23.4%
3. ไหว้พระ/ปฏิบัติธรรม 10.6%
4. ซื้อของ/ช้อปปิ้ง 8.4%
5. ประชุม/สัมมนา 5.1%

TravelPocket58-page-002-1
กิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว

สำหรับกิจกรรมที่ทำระหวjางการเดินทางท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่

1. ท่องเที่ยวทั่วไป 61.9%
2. พักผjอนในที่พัก หรือบ้านญาติ/ไม่ทำกิจกรรม 32.4%
3. กิจกรรมเชิงศาสนา 31.1%
4. กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม 12.3%
5. กิจกรรมเชิงนันทนาการ 5.8% 2. การจัดการเดินทาง

TravelPocket58-page-002-2

การจัดการเดินทาง

ผู้ตัดสินใจเลือกการเดินทาง ลักษณะการจัดการเดินทาง

ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวมากกวาครึ่งหนึ่ง จะเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ 63.3% รองลงมาเดินทางกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน 19.2% สำหรับการตัดสินใจเลือกการเดินทางส่วนใหญ่เป็นครอบครัว/ญาติ 44.1% รองลงมาตัดสินใจด้วยตนเอง 37.5%

สำหรับลักษณะการจัดการเดินทางสวนใหญจัดการเดินทางเองทั้งหมด 90.1% รองลงมามีหน่วยงาน/คณะจัดการให้
8.7%

ส่วนวัน/เวลาที่เดินทางท่องเที่ยว ส่วนใหญจะเดินทางวันเสาร์-อาทิตย์ 37.4% รองลงมาวันธรรมดา 30.6% และวันหยุดเทศกาล 30.5%

พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง

ผู้เดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ นิยมเดินทางด้วยพาหนะส่วนตัว/รถยนต์ 65.0% รองลงมาเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง/รถตู้ 18.0% รถเช่า เช่น รถตู้1 รถยนต์ รถบัส 13.6% รถไฟ/เครื่องบิน และอื่นๆ 3.4%

TravelPocket58-page-002-3

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวครั้ง/ทริปต่อคนของผู้ที่เดินทางท่องเที่ยว พบวา อยู่ที่ประมาณ 2,600 บาท หากเป็นการเดินทางแบบไม่พักค้างคืนอยูที่ 1,239 บาทต่อคน แบบพักค้างคืน 3,612 บาทต่อคน หากพิจารณาตามภาคที่อยู่อาศัย พบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้เงินในการเดินทางท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนสูงสุดคือ 3,476 บาท รองลงมาภาคตะวันออก 3,053 บาท ภาคใต้ 2,914 บาท ภาคกลาง 2,476 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,217 บาท และต่ำสุดคือ ภาคเหนือ
1,984 บาท

TravelPocket58-page-003-1

การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ

สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ในรอบปื2557 มีเพียงร้อยละ 3.6 ส่วนจำนวนครั้งที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศต่อปี เฉลี่ยเดินทาง 1.8 ครั้งต่อปี

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว

การวางแผนล่วงหน้า และการจัดสรรเงินสำหรับการท่องเที่ยว

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่ 65.2% ไม่มีการวางแผนลวงหน้าก่อนการเดินทาง และนักท่องเที่ยวที่มีการวางแผน มีเพียง 34.8% เท่านั้น

ส่วนการจัดสรรวงเงินสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่ 81.6% ไม่มีการจัดสรรเงินไว้ ส่วนผู้ที่ที่มีการจัดสรรเงินไว้สำหรับการเดินทาง มีเพียง 18.4%

การรับรู้/รับทราบแคมเปญ “หลงรักประเทศไทย” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การรับรู้/รับทราบแคมเปญ “หลงรักประเทศไทย” ส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้แคมเปญดังกล่าว อยู่ที่ 56.2% ส่วนที่เคย

รู้จักแคมเปญ มี 43.8% โดยสวนใหญ่รับรู้จากโทรทัศน์ มากถึง 96.2% รองลงมาจากเว็บไซต์ และป้ายโฆษณาเท่ากันคือ 13.3%
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ

จากการสำรวจ พบวา ปัจจัยที่มีผลตอการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศมากที่สุดคือ ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.1 รองลงมาคือ ความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย 4.0 และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศน้อยที่สุดคือ การส่งเสริมการขาย โดยมีค่าเฉลี่ยอยูที่ 3.4

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินทางท่องเที่ยว

จากการสำรวจ พบว่า การท่องเที่ยวทำให้เกิดความสนิทสนมภายในครอบครัวมากขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยอยูที่ 4.3 รองลงมาคือ ทำให้เกิดความสนิทสนมภายในหมู่ญาติมากขึ้น และทำให้มีความสุขมากขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.1


  • 33
  •  
  •  
  •  
  •