25 ข้อนี้จะทำให้คุณเชื่อว่า “เนสท์เล่” คือสุดยอดนักลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารของโลก

  • 123
  •  
  •  
  •  
  •  

เนสท์เล่ เกิดขึ้นจากการควบรวมกันของ 2 บริษัทที่เคยเป็นคู่แข่งอย่างฉกาจฉกรรจ์กันมาก่อน เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า เนสท์เล่ มีผลิตภัณฑ์และแบรนด์ในเครือมากมายนับไม่ถ้วน ถ้าของบริษัทโดยตรงก็ราวๆ 84 แบรนด์  ซึ่งปีนี้ เนสท์เล่ ก็มีอายุครบ 150 ปีแล้ว เป็นแบรนด์เก่าแก่ของโลกแบรนด์หนึ่งที่มี story ค่อนข้างอลังการ และผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาแล้วในช่วงสงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และที่ 2

ทีนี้ลองมาดูสถานะของ Nestlé ในปัจจุบันกัน ปีล่าสุด Market Cap ของเนสท์เล่มีมูลค่าสูงถึง 247.3 พันล้านเหรียญ, ยอดขาย 100.08 พันล้านเหรียญ, กำไร 15.8 พันล้านเหรียญ, มูลค่าทรัพย์สิน 143.3 พันล้านเหรียญ, จำนวนพนักงานทั่วโลกกว่า 339,000 คน และมีบริษัทแม่ตั้งอยู่ Vevey สวิตเซอร์แลนด์

‘Forbes’ ได้จัดอันดับ ‘100 แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก’ เนสท์เล่ อยู่อันดับที่ 43 ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมประเภท Food Processing ซึ่งตัวบริษัท ‘Nestlé SA’ จะผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท nutrition, health and wellness โดยเป็นทั้ง supplier และผู้ผลิต

แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 6 segment ได้แก่  Zone Europe; Zone Americas; Zone Asia, Oceania and Africa; Nestlé Waters; Nestlé Nutrition; และอื่นๆ

ภาพด้านล่างพอจะทำให้เห็นภาพคร่าวๆว่า เนสท์เล่ ถือแบรนด์อะไรอยู่ในมือบ้างซึ่งจะเห็นว่ามี ลอรีอัล ด้วย…ใช่แล้วค่ะ เนสท์เล่ถือหุ้น ลอรีอัล อยู่ราวๆ 30% และ ลอรีอัล ถือแบรนด์อยู่ในมือตัวเองอีก 39 แบรนด์  

 

580289_480285708677755_1459649519_n

 

1.   จุดเริ่มต้นของอาณาจักร  Nestlé เริ่มจากบริษัทผลิตอาหารประเภทนม ‘Farine Lactée Henri Nestlé’ เจ้าของคือนาย Henri Nestlé ชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในสวิตเซฮร์แลนด์   เปิดบริษัทมาตั้งแต่ปี 1866 กิจการดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะขายผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กที่แม่ไม่สามารถให้นมได้ ต้นกำเนิดนมผงเด็กนั่นเอง แต่ทว่าปีต่อมาคู่แข่งตัวฉกาจของ Nestlé ก็มาถึง

1878

 

 

2.   Anglo-Swiss Milk บริษัทผลิตอาหารประเภทนมคู่แข่งกับ Nestlé ผู้ก่อตั้งไม่ใช่ชาวสวิส แต่เป็นสองพี่น้องชาวอเมริกันที่มาเป็นกงสุลอยู่ในสวิส  เน้นผลิตเนยแข็งและอาหารสูตรสำหรับเด็ก ภาพล่างคือนมผงเด็กแบรนด์ MILKMAID

1866-3

 

3.   Nestlé กับ Anglo-Swiss Milk เป็นคู่แข่งทางการค้าที่ฟาดฟันกันมาหลายปีคล้ายๆโค้กกับเป๊ปซี่ โดยแข่งกันขยายตลาดในยุโรปและอเมริกา แต่ใครจะเชื่อว่าวันหนึ่งการแข่งขันจะยุติลง ไม่ใช่ว่ามีฝ่ายใดยอมแพ้นะ แต่ทั้งสองบริษัทจับมือรวมเป็นบริษัทเดียวกันในปี 1905 ภายใต้ชื่อบริษัท ‘Nestle and Anglo-Swiss Condensed Milk’

แน่นอนว่าด้วย resource ของทั้งสองบริษัทเมื่อควบรวมกันแล้วมันคือความแข็งแกร่ง บริษัทใหม่ที่ตั้งร่วมกันมีโรงงานตั้งอยู่ใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี  และ สเปน

1882-1902

 

 

4.   ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงที่อาหารขาดแคลนโดยเฉพาะนมสด เพราะคนไม่สามารถทำปศุสัตว์ได้อย่างราบรื่น อีกทั้งนมสดมีอายุของมันอยู่ การขนส่งในช่วงสงครามนั้นใช้เวลานานกว่าปกติจึงทำให้นมบูด เนสท์เล่จึงเข้าซื้อกิจการโรงงานหลายแห่งในอเมริกาเพื่อผลิตนมข้นหวานให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่นำมาทดแทนนมสดที่เป็นของหายากในยุคสงคราม ซึ่งเป็นไปตามสัญญากับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์

1914

 

 

 

5.   การขายนมข้นในช่วงสงครามทำให้ยอดขาย Nestlé โตแบบก้าวกระโดด แต่ทว่าพอสงครามยุติลงโรงงานผลิตนมข้นหวานที่เคยเพิ่มกำลังการผลิตไป 2 เท่าก่อนหน้านั้น ก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเกินตัว ทำให้ประสบปัญหาหนี้สิน  แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน บวกกับแผนการตลาดใหม่ในปี 1920 ที่เริ่มผลิตสินค้าใหม่ประเภทช็อกโกแลตและเครื่องดื่มชนิดผง ทำให้บริษัทเริ่มฟื้นตัวขึ้น

1917-18

 

6.   จุดผกผันของ Nestlé เกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าสวิสจะวางตัวเป็นกลางในสงคราม แต่อย่าลืมว่าบริษัทและโรงงานหลายแห่งของเนสท์เล่อยู่ในประเทศที่เข้าร่วมสงคราม ผลกำไรและยอดขายของบริษัทจึงถดถอยลงเรื่อยๆ เนสท์เล่พยายามพยุงและหาหนทางใหม่ 

จึงเกิดเป็นจุดที่เนสท์เล่หันไปลงทุนตั้งโรงงานในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดต้นทุน และเปิดตลาดใหม่ในประเทศที่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับสงครามมากนัก หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย (สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่เศรษฐกิจทรุดตัวรุนแรงทั่วโลก)

1915

 

 

 

7.   จากข้างบนที่เล่าไปว่าช่วงที่ยอดขายผลิตภัณฑ์นมตกต่ำมากๆ เนสท์เล่จึงออกสินค้าใหม่ประเภทช็อกโกแลตและเครื่องดื่มชนิดผง สินค้าจำพวกช็อกโกแลตมาจากการที่เนสท์เล่ไปซื้อบริษัทช็อกโกแลต ‘Peter, Cailler, Kohler Swiss Chocolate Company‘ ในปี 1929 จึงทำให้ช็อกโกแลตกลายเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักของเนสท์เล่  ก่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตมากมายในเวลาต่อมา 

1929

 

8.   ความหวังเกิดขึ้นอีกครั้งสำหรับบริษัทแม่ของ Nestlé เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการอเมริกันขอให้เนสท์เล่ผลิตเสบียงให้ทหารที่ไปรบในสงคราม เหตุการณ์นี้ทำให้ยอดขายของบริษัทพุ่งทะยานมาก ยอดขายทั้งหมดของเนสท์เล่ในยุคนั้นพุ่งไปแตะที่ 125 ล้านเหรียญ (ค.ศ. 1938-1945) ถือว่ามหาศาลเลยทีเดียว

1915

 

9.   ปี 1938 เป็นช่วงที่เนสท์เล่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ Nescafé (เนสกาแฟ)  ที่กลายมาเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตของทหารอเมริกันในยุโรปและเอเซียแปซิฟิก ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  จนจบสงครามแล้วก็ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

1939

 

10.   ปี 1947  บริษัท Nestlé and Anglo-Swiss Condensed Milk (เนสท์เล่นี่แหละ) ได้เข้าซื้อบริษัท Fabrique de Produits Maggi S.A. (ซอสแม็กกี้) จากนั้นเปลี่ยนชื่อบริษัทของตนเองมาเป็น ‘Nestlé Alimentana S.A.’ และเพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานที่ออสเตรเลียอย่างเต็มที่  

ต่อมา ปี 1977 ได้เปลี่ยนชื่ออีกเป็นครั้งสุดท้ายจาก  Nestlé Alimentana S.A. มาเป็น Nestlé ในปัจจุบัน

1947

 

11.   ปี 1934 เครื่องดื่มช็อกโกแลต ‘ไมโล’ เปิดตัวครั้งแรกในออสเตรเลีย ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนกระทั่งส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศ

1934

 

12.   หลังจาก Nescafé (เนสกาแฟ) ประสบความสำเร็จอย่างมาก เนสท์เล่ก็ออกสินค้าใหม่ Nestea เป็นชาผงสำเร็จรูปในช่วง ปี 1940s

1948

 

13.   NESQUICK ถูกวางคอนเส็ปต์ให้เป็นเครื่องดื่มช็อกโกแลตแบบชงที่สะดวกอร่อยได้ง่ายๆอย่างรวดเร็ว ถือเป็นเครื่องดื่มนวัตกรรมในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ ออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1948

528636_10150820137124393_452778481_n

 

 

14.   ขนานไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีตู้ทำความเย็นถูกทำให้เป็นอุตสาหกรรมแบบแมส ทำให้หลายบ้านมีตู้เย็นเป็นของตัวเอง ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมาคือไอศกรีมสำเร็จรูปที่ไม่ใช่แบบตัก Nestlé  ซื้อบริษัทไอศกรีมของเยอรมัน Jopa and French,Heudebert-Gervais เพื่อผลิตไอศกรีมยี่ห้อ FRISCO ออกมาในปี 1962 เพราะความต้องการไอศกรีมสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่แต่ละบ้านมีตู้เย็น 

1960

 

 

 

15.   Findus คือแบรนด์อาหารแช่แข็งแบรนด์แรกในยุโรป เป็นแบรนด์ของสวีเดนที่ Nestlé  เข้าไปซื้อกิจการมาเมื่อปี 1962 เพื่อมาพัฒนาและทำตลาดจนสามารถส่งไปขายได้ในหลายประเทศ

1962

 

16.   จับพลัดจับผลูอย่างไรไม่ทราบ Nestlé กลายเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของ L’Oréal แบรนด์ผู้นำในตลาดเครื่องสำอางใน ปี 1974 นับเป็นครั้งแรกของเนท์เล่ที่ไม่ได้ลงทุนกับผลิตภัณฑ์อาหาร 

526104_10150820145804393_1732802183_n

 

17.   Nestlé ทุ่ม 3 พันล้านเหรียญซื้อบริษัท Carnation ในอเมริกาเมื่อปี 1985 เดิมทีคาร์เนชั่นผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนม แต่เนทส์เล่ได้เพิ่มสินค้าตัวใหม่เข้าไปในไลน์การผลิต เป็นครีมเทียมสำเร็จรูปยี่ห้อ Coffee-Mate 

1985

530407_10150820223614393_1162849954_n

 

18.   Nespresso สินค้านวัตกรรมของเนสท์เล่ที่ออกมาในปี 1986 เป็นกาแฟเอสเพรสโซ่ช็อตแบบถ้วยพอดีต่อการกิน 1 ครั้ง สะดวกพกพา โดยมีคอนเส็ปต์ว่าเสมือนมีบาริสต้ามาชงให้กิน

1986

 

19.   ปี 1988 Nestlé ซื้อบริษัทขนมของอังกฤษ ‘Rowntree Mackintosh’ และเพิ่มขนมแบรนด์ใหม่ๆเข้าไปในไลน์การผลิตเช่น KitKatAfter EightSmarties 

1988

 

20.  Nestlé  พัฒนา position ของน้ำแร่สำหรับดื่มไปอีกขั้นด้วยการเข้าซื้อ France’s Perrier Group ในปี 1992

1992

 

 

21.   ปี 1998  เนสท์เล่เข้าซื้อกิจการน้ำแร่ Sanpellegrino Group ของอิตาลี ก่อนจะพัฒนาสินค้าออกมาเป็น Nestlé Pure Life ส่งไปขายทั่วโลก ซึ่งสองปีต่อมาก็ผลิตสินค้าน้ำดื่มพรีเมียม Aquarel ขายในยุโรป

1998

 

22.   แม้แต่ในตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง Nestlé ก็ลงไปเป็นผู้เล่นด้วยการซื้อ Ralston Purina บริษัทอาหารสัตว์เลี้ยงในอเมริกามาเมื่อปี 2001 รวมเข้ากับ Nestlé Friskies Petcare แบรนด์อาหารและอุปกรณ์ดูแลแมวที่เนสท์เล่ได้ไปซื้อมาแล้วก่อนหน้านั้น ส่งสินค้าแบรนด์ Nestlé Purina Petcare ไปเป็นผู้นำในตลาด pet care

2001

 

 

23.   หลังจากแผ่ขยายธุรกิจไอศกรีมมาตั้งแต่ช่วงปี 1990s  Nestlé ได้ซื้อลิขสิทธิ์บางอย่างจากไอศกรีม Häagen-Dazs ในอเมริกาและแคนาดา และเข้าซื้อ Mövenpick and Dreyer’s Grand Ice Cream ในปี 2003  เท่านั้นยังไม่พอยังทุ่ม 2.6 พันล้านเหรียญซื้อธุรกิจอาหารแช่แข็ง Chef America มาอีกด้วย

 

2002

 

24. Nestlé เข้ามาในไทยครั้งแรกเมื่อปี 1893 โดยปรากฎหลักฐานเป็นภาพโฆษณาชิ้นแรกของนมข้นหวานตรา “แหม่มทูลหัว” ในหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์  ซึ่งต่อมาได้มีการนำเข้าสินค้าเนสท์เล่จากสวิตเซอร์แลนด์มาขายในไทยเพิ่มขึ้น ดำเนินการโดยบริษัท “โปรเนสยาม อินค์” ซึ่งก็ขายดีเปรี้ยงปร้างแบบฉุดไม่อยู่จน เนสท์เล่ ตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตในไทยเมื่อปี 1968 

558000010116701

 

 

25.  และนี่คือสาเหตุที่นมข้นหวานของ เนสท์เล่ ถูกคนไทยเรียกว่า ‘แหม่มทูนหัว’

page-brothers-homepage

 

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าในไทยมีสินค้า Nestlé แบรนด์ไหนบ้าง คลิ๊กบทความล่างได้เลย

‘รู้หรือไม่ “เนสท์เล่” ในไทยมีแบรนด์อะไรบ้าง? มาดูไปพร้อมๆกันเลย’

 

Source: Nestlé
Source: Forbes


  • 123
  •  
  •  
  •  
  •