มาดูสื่อนอกวิจารณ์โฆษณาดราม่าน้ำตาแตกของไทยกัน

  • 7
  •  
  •  
  •  
  •  

cats

Mashable สำนักข่าววาไรตี้และการตลาดโดยคอลัมนิสต์ T.L.Stanley เผยแพร่บทความวิเคราะห์กระแสซีรี่ย์โฆษณาต่อมน้ำตาแตกของประเทศไทย โดยระบุว่าพวกเขาไม่อินกับโฆษณาตัวใหม่จากไทยประกันชีวิต

โฆษณาของไทยประกันชีวิตที่มีดนตรีเป็นคลอไปตลอดเรื่องนี้เกี่ยวกับเรื่องราวของเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่หัดเล่นกีต้าร์เองเพื่อจะได้หาเงินมาช่วยจ่ายค่ารักษาให้แก่แม่ที่เป็นมะเร็ง ฟังดูน้ำตาก็จะไหลแล้วใช่มั้ย? แน่ล่ะ โดยเฉพาะเมื่อตอนจบได้บอกว่าเรื่องราวทั้งหมดเกิดจาก true story

httpv://youtu.be/k0KzquDdSM8

Stanley วิเคราะห์ว่า วีดีโอชุดนี้เกิดขึ้นจากกระแสโฆษณาแนวต่อมน้ำตาแตกที่กำลังแพร่หลายในวงการโฆษณาไทยซึ่งหวังว่าจะทำให้คุณรู้สึกอบอุ่นหัวใจแบบไม่ฟูมฟาย แน่นอนว่าโฆษณาพวกนี้ชักจูงใจเหมือนโฆษณาทั่วไป แต่ด้วยความชาญฉลาดที่ไม่นำเสนออย่างโอเวอร์มากเกินไปส่งผลให้โฆษณาลักษณะนี้ไม่ถูกวิจารณ์มากนัก มีคนเกลียดน้อยแต่มีคนติดตามบน YouTube มหาศาล

Stanley ระบุต่อไปว่าก่อนหน้านี้ประเทศไทยก็มี Unsung Heroes ซึ่งเป็นโฆษณาเกี่ยวกับชายที่บริจาคเงินมากมายให้แก่ทุกคน โฆษณานี้มียอดวิว 17.3 ล้านครั้งบน YouTube ขณะที่ปี 2011 ก็มีเรื่อง Silence of Love เกี่ยวกับพ่อหูหนวกและลูกสาววัยรุ่น จากเอเจนซี Ogilvy & Mather Bangkok ของไทยประกันชีวิตเช่นกัน

“เอเจนซีและบริษัทในไทยเริ่มเลียนแบบโฆษณาอเมริกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา” Barbara Lippert นักวิจารณ์สื่อและคอลัมน์นิสต์ของ MediaPost.com กล่าวและว่า โฆษณาของไทยระยะหลังจึงเป็นแนว sadvertising หรือโฆษณาที่เร่งเร้าให้ผู้ชมเกิดความซาบซึ้ง กินใจ

“พวกเขาทำได้น่าสนใจมากและชนะรางวัลจากการยืมไอเดียโฆษณาของอเมริกันและทำให้มันเข้ากับวัฒนธรรมของพวกเขา” Lippert กล่าวและว่า โฆษณาไทยเกิดขึ้นเพื่อสะท้อนความสมจริงในการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน และต่อมามันก็เริ่มกลายเป็นสูตรสำเร็จที่ทำเมื่อไหร่ก็ประสบความสำเร็จเมื่อนั้น

“พวกเขาพยายามเค้นมันมากเกินไปด้วยเรื่องราวที่สวยงามและปรุงแต่งมาอย่างดี ฉันรู้สึกไม่ชอบโฆษณาบังคับเศร้าแบบนี้ แม้ว่าฉันจะเป็นคนที่อ่อนไหวคนหนึ่ง เพราะพวกเขาพยายามเล่นตลกกับหัวใจของเราเหมือนเอารถแทรกเตอร์มาไถ” Lippert กล่าวปิดท้าย

httpv://youtu.be/7s22HX18wDY

httpv://youtu.be/uaWA2GbcnJU

httpv://youtu.be/3at64I7H9-c

โฆษณาอื่นๆ ที่ Stanley นำมาเปรียบเทียบด้วย

Source


  • 7
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง