อัพเดทมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาตามประเภทสื่อ และแบรนด์สินค้า – มิถุนายน 2013/2012

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ตัวเลขอัพเดทการใช้เม็ดเงินโฆษณาของ 10 อันดับแบรนด์ไทยที่ใช้เม็ดเงินในการโฆษณามากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2556/2013 เปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2555/2012  ทั้งนี้ รวมสื่อโฆษณาครบทุกประเภท คือ สื่อทีวี, วิทยุ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, โรงภาพยนตร์, Outdoor (สื่อนอกบ้าน), Transit (สื่อที่ติดตั้งกับระบบ ขนส่งมวลชน), In Store (ร้านค้า) และสื่ออินเทอร์เน็ต  รวมถึงเม็ดเงินที่ถูกใช้ในแต่ละประเภทสื่อ

ประมาณการ 10 อันดับกลุ่มแบรนด์สินค้าที่ทุ่มเม็ดเงินโฆษณามากที่สุด เปรียบเทียบในเดือนมิถุนายน 2556/2013 กับเดือนมิถุนายน 2555/2012

จะเห็นว่ากลุ่มแบรนด์สินค้าทุกแบรนด์ใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ปตท.ที่ใช้เพิ่มขึ้นเท่าตัว และเอไอเอสและดัชชี่ที่ใช้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว 

advertising-spend-jun-2013-1

ประมาณการการใช้สื่อในแต่ละประเภท ในเดือนมิถุนายน 2556/2013 กับเดือนมิถุนายน 2555/2012

สื่อที่ถูกใช้มากขึ้นคือประเภท ทีวี โรงภาพยนตร์ และสื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อที่ใช้น้อยลงคือ สื่อสิ่งพิมพ์​นิตยสาร สื่อกลางแจ้ง สื่อ Transit และสื่อ Instore

advertising-spend-jun-2013-2

ประมาณการ 10 อันดับกลุ่มแบรนด์สินค้าที่ทุ่มเม็ดเงินโฆษณามากที่สุดตลอดทั้งปี เปรียบเทียบระหว่างการสิ้นสุดที่เดือนมิถุนายน 2556/2013 กับเดือนมิถุนายน 2555/2012

advertising-spend-jun-2013-3

ประมาณการการใช้สื่อในแต่ละประเภทตลอดทั้งปี เปรียบเทียบระหว่างการสิ้นสุดที่เดือนมิถุนายน 2556/2013 กับเดือนมิถุนายน 2555/2012

หากดูเป็นรายปีหรือ 12เดือน สื่อประเภท หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โรงภาพยนตร์ และสื่อกลางแจ้ง มีเม็ดเงินโฆษณาที่ลดลงแต่ไม่มากนัก มีเพียงสื่อโรงภาพยนตร์ที่ดูจะลดลงมากสุดที่ 11.52%  ส่วนสื่ออินเทอร์เน็ตมีการเติบโตเพิ่มมากที่สุดที่ 52.63%

advertising-spend-jun-2013-4

ประมาณการ 10 อันดับบริษัทที่ทุ่มเม็ดเงินโฆษณามากที่สุด เปรียบเทียบในเดือนมิถุนายน 2556/2013 กับเดือนมิถุนายน 2555/2012

จะเห็นว่าบริษัททุกบริษัทยกเว้น  Unilever ใช้เม็ดเงินโฆษณาที่มากขึ้น เมื่อเทียบเดือนเดิียวกันกับปีก่อน

advertising-spend-jun-2013-5

ประมาณการ 10 อันดับบริษัทที่ทุ่มเม็ดเงินโฆษณามากที่สุดตลอดทั้งปี เปรียบเทียบระหว่างการสิ้นสุดที่เดือนมิถุนายน 2556/2013 กับเดือนมิถุนายน 2555/2012

บริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาน้อยลงได้แก่  Unilever, Procter & Gamble, Beiersdorf, Nestle และ L’Oreal ส่วนบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากขึ้นคือ Toyota, Coca-Cola, Real Move, Dutch Mill และ Total Access communication

advertising-spend-jun-2013-6

Radio:  Random survey FM. 36 Station in Bangkok (24 Hours)

Outdoor:  Billboard, City Vision, Panoramic, Drinking, Flyover, Mupi, Lollipop, Street vision, VTSCity Vision

Instore: 

  • = Super market (Big C, Tops, Tang Hua Seng)
  • = Multi Media (Siam Paragon, Emporium, The Mall-Home Fresh Mart)
  • = Personal Store (Watsons)
  • = Hyper Market: (BIG C, Lotus, Carrefour)
  • = Brand Spot Light, Message Board
  • = Digital dynamic display (Paragon, Emporium, MBK, Suvarnnabhumi) – Start Jan 11

Cinema:  Bangkok and Up-country (Major, EGV, SF)
Transit:  BTS, Bus body, Bus back Bus side, BTS plasma & LCD, Airport Media, U Media, MRT, GripLight, BRT (Start Nov 10)
Internet:  30 Website – First page and Inner page
Television: Channel 3, 5, 7, 9, NBT

หมายเหตุ:

  • Rate Card ของสื่อภาพยนตร์ได้ีการปรับในเดือน มกราคม 2013  จาก Rate card  ในเดือน มกราคม 2012
  • มาตราวัดของสื่ออินเทอร์เน็ต ได้ขยายจาก Homepage ไปยังเว็บเพจในของเว็บไซต์ จากทั้งหมด 30 เว็บไซต์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และ Nielsen


  •  
  •  
  •  
  •  
  •