Share VS Like ปุ่มไหนเหมาะกับเพจของคุณ

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

1396288668919-500x305

แน่นอนว่าทุกคนรู้ข่าวเรื่องยอด organic reach ของ Facebook ลดฮวบฮาบลงก่อนหน้านี้ แต่ผลปรากฏว่ามาร์เกตเตอร์หลายคนก็ยังสามารถทำการตลาดดิจิตอลอย่างได้ผลต่อเนื่อง เนื่องจากคีย์หลักของความสำเร็จเปลี่ยนไปสู่การเพิ่ม activities ให้แก่โพสต์และเพจของคุณ ดังนั้น วันนี้เราจะชวนคุณมาวิเคราะห์ว่าการคลิก “like”ของผู้บริโภคมีความหมายอย่างไรกันแน่และคุณจะทำให้พวกเขาคลิก like ให้แก่คุณได้อย่างไร

เกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขาคลิก like ให้คุณ?

การคลิก like ผ่านทางบล็อกก็คือการเลือกที่จะติดตามเพจใดเพจหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การคลิก like ของผู้บริโภคไม่ได้ทำให้ News Feed ของเขาแสดง activities ว่าเขากดคลิกไลค์คุณ ถือว่าไม่มี Notification หากคุณคลิก like เพจผ่านทางหน้า Blog หรือเว็บเพจของเขา (หากอยากให้ขึ้น ต้องมาคลิกที่หน้า Facebook เท่านั้น) หากจะเห็นได้ เพื่อนของผู้ใช้ต้องเลื่อนมือลงไปยังส่วนของ Recent Activity ซึ่งในความเป็นจริงคงไม่มีใครเลื่อนไปดูหรอก

สรุปว่า เราควรดึงดูดใจให้ผู้บริโภคเข้ามาคลิก like ในเพจ Facebook ไม่ใช่บนเพจหรือบล็อก

เกิดอะไรขึ้นเมื่อผู้ใช้คลิก Share บน Facebook

แล้วถ้าเปลี่ยนมาดูปุ่ม Share บ้างล่ะ? ดีใจด้วย Facebook Share box จะปรากฏขึ้นมาเมื่อผู้ใช้คลิก Share บนเพจหรือบล็อกของคุณ และเมื่อกดแชร์และคอมเมนต์ไปข้อความนี้ก็จะขึ้นไปอยู่ใน News Feed แถวบนสุด

แล้วถ้าหากผู้ใช้ Share เรื่องของคุณผ่านทาง Facebook โดยตรงล่ะ

คุณเลือกแชร์เรื่องราวผ่าน Facebook โดยการโพสต์ URL ลงไปโดยตรง วิธีการนี้ Facebook ก็จะประมวลผลและแสดงทั้งภาพและข้อความแนะนำเพจให้อย่างละเอียด แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือคนมักจะคลิกไลค์โพสต์ของคุณไม่ใช่เพจ นั้นหมายความว่าแฟนคลับของคุณก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

สรุป Like กับ Share คุณควรใช้กลยุทธ์ไหนกันแน่

Like ใช้เพื่อวัดหรือทำการทดลองพฤติกรรมผู้บริโภคบนสังคมออนไลน์ การคลิก like บนข่าวหรือโพสต์ของคุณแสดงว่าพวกเขาเห็นด้วยและจะเกิดจิตวิทยาหมู่ ทำให้คนอื่นที่เห็นพยายามกด like เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น หากอยากใช้วิธีนี้คุณอาจต้องมีหน้าม้าเยอะหน่อย นอกจากนี้ ผู้เล่นที่มีเพื่อนน้อยจะพยายาม Like ข่าวพวกนี้เพื่อให้เพื่อนๆ เห็นว่าพวกเขามีรสนิยม มีความรู้ และชื่นชอบข่าวที่มีรสนิยม

Share ทำให้คนเจอโพสต์ของคุณมากที่สุด หากคุณอยากให้โพสต์ของคุณไปปรากฏบน News Feed มากกว่า แนะนำให้ใช้ปุ่ม Share แล้วโพสต์จากเพจของคุณออกไปยังแฟนคลับดีกว่า

Source


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง