8 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ Facebook Graph Search

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ระบบค้นหาแบบใหม่ของเฟซบุ๊ค จะเปิดให้ใช้กันทุกคนทั่วโลกเร็วๆนี้  ผ่านทางช่องเสิร์ชด้านบนสุดเหมือนเดิม แต่ดูใหญ่ขึ้น  

มือใหม่หลายคนก็ยังไม่เข้าใจกลไกค้นหาใหม่ตัวนี้  ทาง MarketingOops จึงสรุป 8 คำถามสำคัญๆ เพื่อให้มือใหม่เข้าใจเบื้องต้น เพื่อไปติดตามและทำความรู้จัก “Facebook Graph Search” ให้มากขึ้นได้

 

1. ต่างจากเดิมอย่างไร ?

 เดิมนั้นระบบเสิร์ชของเฟซบุ๊คเน้นคำอย่างเดียว คือเป็น “keyword base” ถ้าพิมพ์คำว่าอะไรก็ตามลงไป ก็มีแต่จะหาชื่อคน ชื่อเพจ และชื่อสถานที่ซึ่งมีคำนั้นอยู่ 

เช่นแต่เดิม ถ้าเราอยากหาคนที่ชอบเพลง jazz ก็คงทำได้แค่เสิร์ชคำว่า jazz หาเพจที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  แล้วไปนั่งไล่ดูแฟนๆที่กดไลค์เพจนั้นอยู่ ซึ่งเสียเวลา

แต่ด้วย Facebook Graph Search เราอาจจะพิมพ์ว่า people who like jazz music ซึ่งเมื่อใช้งานจริงก็ไม่ต้องพิมพ์เองทั้งหมด เพราะแค่พิมพ์ว่า people ก็จะมีตัวเลือกขึ้นมาให้เลือกแล้ว 

 

2. ทำไมชื่อ Graph Search ? เกี่ยวอะไรกับรูปกราฟหรือไม่ ? 

ที่เฟซบุ๊คตั้งชื่อว่า Graph Search ไม่ได้เกี่ยวกับรูปกราฟแบบขึ้นๆลงๆอะไรทั้งสิ้น  แต่มาจากแนวคิดที่ว่า ทุกคน ทุกเพจ ทุกสถานที่ ทุกรสนิยม ทุกอย่างในเฟซบุ๊ค มีความสัมพันธ์โยงใยกันไปมา ซึ่งทางเฟซบุ๊คตั้งชื่อว่าเป็น “Open Graph” ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆในรูปด้านล่างนี้  แต่ประกอบไปด้วยหน่วยต่างๆอย่างน้อยก็ 1 พันล้านหน่วยขึ้นไปแล้ว ตามจำนวนสมาชิกบนเฟซบุ๊ค

graphsearch0

 

 

3. ใช้ค้นหาอะไรได้บ้าง ?

 หาได้ทั้ง คน, รูป, เพจ, กลุ่ม, ร้านอาหาร, สถานที่, บริษัท, เพลง,  หนัง, เกม, และแอพ  โดยหาจากความเชื่อมโยงได้สารพัด  เช่น  จะหาเพื่อนที่ชอบเล่นเกมนี้  หรือจะเกมที่เพื่อนคนนี้กลุ่มนี้ชอบเล่น ได้ทั้งสองทาง  

graphsearch2

 

หรือจะหาแบบซ้อนๆกันก็ยังได้ เช่น  อาจจะหาว่าคนทำงานที่บริษัทนี้ ที่ชอบเพจร้านอาหารนี้  หรือในทางตรงข้ามก็คือ หาว่าร้านอาหารที่คนทำงานบริษัทนี้เคยไป และอื่นๆอีกมากมายหลากหลายสุดแต่จะต้องการ

จากตัวอย่างข้างล่างนี้ เป็นการเสิร์ชเล่นๆว่าร้านอาหารไหน ที่คนชอบหนัง Star Wars ไปกันมากที่สุด  ซึ่งหากจะเลือกเฉพาะคนไทย ก็สามารถเพิ่ม “and live in thailand” เข้าไปได้

 

screen-shot-2013-01-15-at-8-23-35-pm

 

4. ผลลัพธ์เรียงตามอะไร ?

ถ้าเป็นหน้าเพจก็เรียงตามจำนวนแฟน ถ้าเป็นสถานที่ก็เรียงจากจำนวนคนที่เคยไปเช็คอิน , ถ้าเป็นเพลงก้เรียงตามจำนวนคนฟัง , ถ้าเป้นหนังก็เรียงตามจำนวนคนเคยดูและดาวที่ได้รับ  ฯลฯ  และอื่นๆอีกมากมายที่อยู่เบื้องหลังกลไกนี้  แต่ถ้าผลเสิร์ชนั้นมีโฆษณา  ตัวโฆษณาจะอยู่บนสุด และมีแถบขึ้นบอกไว้ว่าเป็น sponsored

 

5. ถ้าเลือก Web Search แล้วต่างจากใช้กูเกิลหรือไม่ ?

การเสิร์ชแต่ละครั้ง แค่พิมพ์ๆไปยังไม่ทันสั่งเสิร์ช ก็จะมีตัวเลือกเงื่อนไขต่างๆขึ้นมาให้เราเลือกแล้ว   และถ้ายังไม่มีอันไหนถูกใจเลยล่ะก็ … ตัวเลือกสุดท้ายก็มักจะเป็น Web Search: คือไปเสิร์ชในเว็บด้วยระบบแบบ keyword base ตามปกติแบบที่กูเกิลใช้อยู่  

แต่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็คือ Facebook ใช้ Bing ของ Microsoft เป็นกลไกค้นหาแบบ web search ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของ Google

ฉะนั้น Graph Search น่าจะมาเพิ่มยอดการใช้งาน Bing ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และอาจจะลดการเสิร์ชในกูเกิลลงได้  และนักการตลาด search marketing ในไทยก็อาจจะต้องมาสนใจ Bing มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Bing นั้นรับไปเฉพาะ Web Search:  ส่วน Graph Search ที่พูดถึงทั้งหมดนี้ Facebook ทำเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับ Bing หรือ Microsoft

 

6. ใช้ภาษาไทยได้ไหม ?

คำตอบคือไม่มี มีแต่ภาษาอังกฤษ แต่ก็ใช้เสิร์ชคนไทย เพจไทย สถานที่ไทยๆ ฯลฯ ได้สบายมาก

การเสิร์ชแบบนี้เรียกว่าเป็นกึ่งๆ “natural language processing” คือเกือบจะถึงขั้นที่ว่า นึกอยากถามอะไร พิมพืลงไปได้เลย  แต่ข้อแม้สำคัญก็คือต้องนึกเป็นภาษาอังกฤษ ในแนวๆว่า people who likeand live in … หรือ women who work at … , ฯลฯ   

การพัฒนาระบบแบบนี้มีความยากและซับซ้อนสูง แค่พัฒนามาใช้ในภาษาอังกฤษก็เป็นโปรเจคใหญ่แล้ว  จะใช้ภาษาอื่นๆที่ยุ่งยากหลายระดับอย่างภาษาไทยก็ยิ่งยากขึ้นมาก โดยที่กลุ่มผู้ใช้ก็แคบกว่าภาษาอังกฤษมหาศาล ฉะนั้นคงยังไม่มีภาษาไทยไปอีกนาน

 

7. จะมีโฆษณาแทรกเหมือนใน Google หรือไม่ ?

 มีในชื่อเรียกว่า “Sponsor Results” อยู่ด้านบนผลการค้นหา   sponsored page , sponsored place, sponsored movie, sponsored education ,sponsored website, ฯลฯ  ซึ่งรายละเอียดมีมากมายที่นักการตลาดต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติม

 

8. ใช้บนมือถือ แทบเล็ต ได้ไหม ?

ยังมีแต่บน desktop version เท่านั้น  ก็คือใช้กับคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ค   และยังไม่มีในแอพเฟซบุ๊ค  และไม่มีใน mobile version ยังมีแต่เสิร์ชแบบเดิมๆ keyword base ให้ใช้

แต่ผู้ใช้มือถือหรือแทบเล็ตก็ใช้ graph search ได้  โดยการเลือกเข้า desktop version เพียงแต่ว่าหน้าจอจะใหญ่ล้น ตัวอักษรเล็ก ต้องมาค่อยซูมเข้าซูมออกนั่นเอง

 

image source :

wedu.com

mashable.com

 

 

 

 


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
สมคิด เอนกทวีผล
Ginhub.com , Freelance Social Media Consultant , Writer @ MarketingOops, Writer @ E Commerce Magazine, Ex-journalist from Positioning Magazine