กรุงศรีฯ เปิดแผนกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจปี 2560

  • 164
  •  
  •  
  •  
  •  

650_Biz-direction-2017-700

ในปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงด้านการเงิน “ธนาคารกรุงศรีอยุธยา” ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เติบโตได้อย่างน่าประทับใจ ด้วยอัตราการเติบโตของสินเชื่อ 11.2% หรือ 1,448.9 ล้านบาท เป็นการเติบโตแบบดับเบิ้ลดิจิตส์ (ปี 2558 : 1,303.5 ล้านบาท) แบ่งเป็น รีเทล 44%, Thai Corporate 30%, SME 15% และ JPC/MNC 11%

นอกจากนี้ กรุงศรีฯ ยังมีคุณภาพสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้เสีย) อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งคือ 2.21% (ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2016 อยู่ที่ 2.07% และมี Strong Coverage Ratio 143%

ในส่วนของความสำเร็จของแผนธุรกิจระยะกลาง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. ขยายขนาดสินทรัพย์ ตอนนี้กรุงศรีฯ มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 24% และมีสินเชื่อใหม่ 60 พันล้านบาท

2. มีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 11.7%

3. ลดต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักในปี 2559  มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน (CASA) เพิ่มขึ้น 53% และมีต้นทุนทางการเงินลดลงอยู่ที่ 1.59%

สำหรับความสำเร็จในด้านดิจิทัล แบงก์กิ้ง กรุงศรีฯ ได้ต่อยอดโครงการพัฒนาสตาร์อัพในกลุ่มนักศึกษา จากปี 2558 และเปิดตัวโครงการต่อยอดองค์ความรู้และการลงทุนให้ธุรกิจสตร์ทอัพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งเป็น Fintech Accelerate แรกของไทย และยังมีโครงการจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ของชาวกรุงศรี เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมอีกด้วย

แน่นอนว่ากรุงศรีฯ ไม่ได้ทำตลาดแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในปีที่ผ่านมา กรุงศรีฯ ได้เดินหน้าขยายธุรกิจไปในกลุ่ม CLMV อาทิ เมียนมาร์, สปป.ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา ที่ได้เข้าไปซื้อกิจการหัตถา กัสสิกอร์ ลิมิเต็ด (HKL) สถาบันไมโครไฟแนนซ์อันดับ 4 ในกัมพูชา

กลยุทธ์และเป้าหมายในปี 2560 กรุงศรีฯ ได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1. เดินหน้าแผนธุรกิจระยะกลาง

2. เดินหน้าผสานความแข็งแกร่งกับ MUFG เพื่อนำเสนอบริการทางการเงินให้ตอบโจทย์ลูกค้า

3. เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในภูมิภาค

4. ดิจิทัล แบงก์กิ้ง เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำ

เป้าหมายการเติบโตในปี 2560

1. เป็นธนาคารชั้นนำในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ : ให้ความสำคัญในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ หาลูกค้าใหม่ กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ในไทยแลนด์ 4.0 และไม่ลืมที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิม

2. รักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มลูกค้า JPC/MNC : ลูกค้าธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่น พร้อมนำเสนอบริการในประเทศให้ลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย

3. เป็นหนึ่งในธนาคารหลักสำหรับลูกค้า SMEs : เจาะกลุ่มลูกค้าบริษัทขนาดกลาง และขนาดย่อม ขยายการเติบโตของธุรกรรมการค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น

4. รักษาความเป็นผู้นำในสินเชื่อรายย่อย : ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และจัดสัมมนาให้ความรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง

กลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านดิจิทัลและนวัตกรรม ในปีนี้กรุงศรีฯ ได้แบ่งออกเป็น 7 ด้าน

Krungsri Multi Channel พัฒนาการให้บริการผ่านช่องทางบนมือถือ และออนไลน์
Krungsri Branch Transformation ปรับรูปแบบสาขาให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น
Krungsri Process Digitization นำเทคโนโลยีมาปรับใช้และพัฒนาระบบการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจ
Krungsri Digital Marketing พัฒนาโครงสร้างการนำเสนอคอนเท้นต์ และการแสดงผลบนเว็บไซต์
Krungsri Innovation Culture ปลูกฝังวัฒนธรรมการคิดอย่างสร้างสรรค์ในองค์กร ผ่านโครงการกรุงศรี IGNIT
Krungsri Start Up/Experiment จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ และฟินเทค
Krungsri National E-Payment พัฒนาระบบพื้นฐานรองรับ National e-Payment Master Plan

ปัจจัยที่จะทำให้กรุงศรีฯ ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แบงก์กิ้ง

1. Venture Capital : จัดตั้งกรุงศรี ฟินโนเวท (Krungsri Finnovate) จะทำหน้าที่ร่วมทุนในรูปแบบขง Venture Capital ด้วยเงินทุนตั้งต้น 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองรับการลงทุนในช่วง 3 ปีแรก (พ.ศ. 2560-2562) เน้นระบบชำระเงิน และเทคโนโลยี AI

2. Accelerator & Academic Collaboration : เดินหน้าต่อยอดความสำเร็จของ Krungsri RISE และ Krungsri Uni Startup

3. Fintech Collaboration : กรุงศรีฯ ได้ร่วมมือกับ MUFG ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจ

สำหรับแผนเพิ่มสาขาในปีนี้ คุณโนริอากิ โกโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากเดิมที่เคยวางแผนว่าภายใน 3 ปีจะเพิ่ม 100 สาขา เนื่องด้วยตอนนี้เทรนด์ดิจิทัลกำลังมาแรงจนไม่สามารถมองข้ามได้ ปีนี้กรุงศรีฯ จึงชะลอการเปิดสาขาใหม่ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 10 สาขา ในส่วนการเติบโตของสินเชื่อตั้งเป้าไว้ที่ 6-8% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ประมาณ 3.7% ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยคาดว่าจะเติบโตสูงกว่า 5% และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่ระดับต่ำกว่า 2.5%


  • 164
  •  
  •  
  •  
  •