Google Japan บทเรียนแสนสาหัส จาก Buzz Marketing

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้นักธุรกิจ IT ทั่วทั้งญี่ปุ่นต้องตกตะลึงไปกับเรื่องของ Page Ranking (PR) ของ Google Japan ซึ่งได้ตกลงจาก 9 มาเป็น 5 อย่างฉับพลัน

google_japan

5 กุมภาพันธ์ Google Japan ได้แก้ไขปรับปรุง Top Page และได้ใส่ Hot Keyword ที่เป็นลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่น ความถี่ในการค้นหาสูงที่สุดในปัจจุบันจะแสดงเป็น Keyword 5 ตัว

ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อการโฆษณา Google Japan ได้ควักเงินว่าจ้าง Blogger ผ่านบริษัทภายนอกทำการตลาด แบบ Buzz marketing เพื่อให้ Blogger เขียนแนะนำข้อมูลหรือ URL ลงใน Web Blog โดยชำระค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิก Blogger ที่ดำเนินการ เมื่อค้นหาด้วย Hot Keyword, Google, Cyber Buzz (ชื่อบริการของ Buzz marketing) Blog ที่ใครๆ คิดว่าจะได้เงินก็กลายเป็นฮิตขึ้นมา PayPerPost ในประเทศอเมริกาที่ใช้วิธีการเดียวกันก็สร้างเว็บไซต์ขยะจากความผิดพลาดของ Spam ขึ้นมากมายที่ผลการค้นหาของเว็บไซต์ซึ่งเป็นปัญหาของ Google ที่พบมาก่อนหน้านี้

เรื่องที่ Page Rank ของกลุ่ม Blogger ที่เข้าร่วม PayPerPost ของ Google ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ตกมาอยู่ที่ศูนย์ (0) Page Rank Zero คือการที่เว็บไซต์นั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจบนอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง

พฤติกรรมในครั้งนี้ของ Google Japan ที่ถูกรายงานเป็นภาษาอังกฤษว่าด้วยเรื่อง Google Japan Buys Dirty Pay-Per-Post Links (Google Japan ซื้อลิงก์สกปรก Pay-Per-Post) ในเว็บไซต์ Asiajin กลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ในทันที ทำให้รู้ถึงหูของ Google America ในตอนแรก Google Japan ก็ไม่เข้าใจเช่นกันว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ Matt Cutts หนึ่งใน Web Spam Team ของ Google America นั้นได้ทิ้งข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไว้ที่ Twitter

“Google.co.jp PageRank is now ~5 instead of ~9. I expect that to remain for a while.
ในตอนนี้ Page Rank ของ Google.co.jp คือ 5 จาก 9 ซึ่งผมคาดว่ามันคงเป็นแบบนี้ไปสักพัก”

ธุรกิจ PayPerPost คือ การใช้เงินว่าจ้างให้ Blogger เขียนถึงสิ่งที่ดี เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ผ่านบริษัท เอเจนซี่ที่ให้บริการ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากบนโลกการตลาดออนไลน์ในขณะนี้ แต่ Google คิดว่าบริการนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็น Spam และจะไม่ประเมินสิ่งเหล่านี้เพื่อนำไปจัด Pangrank นั่นเป็นเพราะว่าวิธีการนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่มีเงินมากกว่า จะได้ข้อความที่ดีและลิงก์ที่มากกว่าด้วยการจ่ายเงิน บริษัทที่รวยกว่าก็จะได้ ลำดับการค้นหาที่ดีตามไปด้วย

สิ่งนี้มีโอกาสที่จะกระทบต่อ Ranking การค้นหาของ Google ซึ่งเรียกได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ผิดจากไกด์ไลน์ของ Google กรณีที่ฝ่าฝืนไกด์ไลน์ที่เป็นพวกเดียวกันนั้น (Google Japan) ก็ต้องจัดการอย่างเด็ดขาดและเข้มงวด โดยจะใช้มาตรการที่ยุติธรรม โดยปกติแล้ว Matt Cutts จะระงับ Paid Links สำหรับเว็บมาสเตอร์ และผู้ให้บริการ PayPerPost ได้ถูกเรียกร้องให้ทำตามกฎอยู่หลายครั้ง แต่เนื่องจากว่า Google Japan เป็นพวกเดียวกัน จึงไม่สามารถจัดการแบบหละหลวมได้

นอกจากนี้ยังประหลาดใจกับเรื่องที่ผู้ลงโฆษณา (ในกรณีนี้คือ Google Japan) ได้รับการลงโทษเช่นกัน ที่ผ่านมาการทำธุรกิจของลิงก์ที่เกี่ยวพันกับเงินที่ไม่จำกัดต่อ PayPerPost บน Google ที่เป็นเป้าหมายรับการลงโทษคือฝ่ายขายเพียงอย่างเดียว Google ได้อธิบายไว้ใน FAQ ว่ามีบางกรณีที่ฝ่ายซื้อลิงก์และฝ่ายขายลิงก์ได้รับการลงโทษแล้วก็ตาม แต่ข้อมูลที่เคยอยู่ในเว็บไซต์ระบุว่าผู้รับการลงโทษคือฝ่ายขายเพียงอย่างเดียว 

ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านชี้ให้เห็นอยู่บ่อยครั้งว่า ไม่ใช่แค่ลงโทษฝ่ายขายลิงก์ที่เกี่ยวพันกับเรื่องเงินฝ่ายเดียว แต่จะต้องลงโทษฝ่ายซื้อด้วย มิเช่นนั้นการควบคุม Spam ก็จะไม่มีความหมาย ซึ่ง Google เองคงจะไม่ปล่อยทางฝ่ายซื้อไว้ แต่คงนึกถึงวันที่จะจัดการอย่างเข้มงวดที่จะมาถึง แต่บริษัทแรกกลับกลายเป็นตัว Google เสียเอง

ไทยเองก็มี Blogger หรือสมาชิกอยู่มากกว่าปกติ อีกทั้งเว็บบอร์ดก็ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่สูงมากเช่นกัน  แต่ส่วนใหญ่กลับไม่ได้รับผลกำไรใดๆ ที่เด่นชัด การที่เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ที่ว่านี้ค้นพบทางรอดด้วย Buzz Marketing อาจเป็นกระแสตามธรรมชาติก็เป็นได้ แต่ที่จะต้องระวังคือ เมื่อใช้ผิดเราจะต้องได้รับโทษอันเข้มงวดจากทาง Google เหตุการณ์ครั้งนี้ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เป็นเหตุการณ์สะท้อนเตือนสติเรา

คำอธิบายเพิ่มเติม

Buzz marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่กระตุ้นให้บุคคลมีการส่งต่อข่าวสารจากปากต่อปาก เช่น การใช้บล็อกแนะนำผลิตภัณฑ์หรือของแบรนด์เนม

PR คือ แต่จะขออธิบายให้เข้าใจอีกครั้ง PR คือ วิธีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือของเว็บเพจทั่วโลกจาก Google เคยมีคนพูดว่าถ้า PR ยิ่งสูงมากขึ้นเท่าไร  ลำดับผลการค้นหาจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ถูกต้องเสมอไป ความสัมพันธ์ของลำดับผลการค้นหาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2546 นั้นยังใช้หลักเกณฑ์นี้อย่างเหนียวแน่น 

เขียนโดย:  โคทาโร่ มารุ

โคทาโร่ มารุ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการให้กับบริษัทสิ่งพิมพ์หลายแห่งในประเทศญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นผู้นำโครงการต่างๆ ด้านการตลาดและนิตยสารด้านไอที รวมไปถึงเป็นบุคคลชั้นแนวหน้าในด้านอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลของประเทศ ในปี ค.ศ. 2003 มร.โคทาโร่ มารุ ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ เอเชีย พาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (APF) ในประเทศไทย

ในปี ค.ศ. 2005 มร.โคทาโร่ มารุ เข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอก สเตชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ APF ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสื่อสิ่งพิมพ์ทางธุรกิจการเงิน บริษัท บางกอก สเตชั่น เน็ทเวิร์ค เป็นผู้จัดทำนิตยสาร Businessweek Thailand และเว็บไซต์กระแสหุ้นออนไลน์ (www.stockwave.in.th)

Source: Ecommerce Magazine


  •  
  •  
  •  
  •  
  •