พูดตรงๆ! 10 อันดับของสาเหตุเดิมๆที่พาสตาร์ทอัพ “ล้มละลาย” ในที่สุด

  • 652
  •  
  •  
  •  
  •  

สำหรับสตาร์ทอัพที่มีว่าที่ลูกค้าเตรียมจ่อใช้บริการ อาจจะรีบหาเงินทุนขยายธุรกิจ แต่เราก็เห็นชัดแล้วว่าการทำแบบนั้นทำให้ธุรกิจพังไม่เป็นท่าโดยที่ผู้บริโภคอย่างเราแทบไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ เราอาจจะเห็นสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จเยอะแยะแต่เราไม่เห็นเบื้องหลังความสำเร็จ ซึ่งก็น่าห่วงสำหรับคนที่คิดจะกระโจนลงทุนสตาร์ทอัพโดยที่ไม่ได้มีความรู้อะไรเลย

และนี่คือ 10 อันดับของสาเหตุเดิมๆที่จะพาสตาร์ทอัพล้มละลายในที่สุด

uber

 

10. ปล่อยของออกขายในเวลาที่ “ไม่ใช่”

เพราะสินค้าของเราต้องตอบโจทย์ลูกค้าในเวลาที่ใช่ด้วย ตลาดต้องการสินค้าของเรามากถ้ามีความต้องการที่ไม่มีเจ้าไหนตอบโจทย์ได้ดีเพียงพอ ฉะนั้นถ้าปล่อยของเร็วเกินไป ลูกค้าก็รู้สึกว่าสินค้าของเรามันไม่ได้จำเป็นอะไรขนาดนั้น แต่หากปล่อยของช้าเกินไป เราก็พลาดโอกาสที่สินค้าของเราจะไปถึงมือลูกค้าในเวลาที่ใช่ กว่าจะได้ความไว้ใจจากลูกค้ากลับคืนมาก็เป็นงานยากแล้ว ฉะนั้นสตาร์ทอัพความติดตามเทรนด์ของตลาดเพื่อดูจังหวะปล่อยสินค้าและบริการในเวลาที่ใช่ด้วย

 

9. ไม่รู้จักทำงานยืดหยุ่นและรับความความเห็นของลูกค้าอยู่เป็นประจำ

เพราะเราต้องรู้ความต้องการและความคาดหวังของตลาด เวลาทำธุรกิจ หากขาดวิสัยทัศน์และเมินความเห็นของลูกค้า สตาร์ทอัพก็ไปไม่รอด หลายบริษัททำสินค้าและบริการตามที่ตัวเองสมมติว่ามันดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานแต่ไม่เคยถามความดิดเห็นของลูกค้าเลย ทำให้สินค้าและบริการที่พัฒนาไม่ตอบโจทย์ อย่าง Uber ที่ตอนแรกให้ผู้ใช้บริการจ่ายเงินด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิด แต่หลังผู้ใช้งานกลัวข้อมูลส่วนตัวหายไป Uber จึงรับเงินสดอีกทางด้วย

 

8. ทำการตลาดไม่ดี

การที่สตาร์ทอัพไม่ทำการบ้านจนไม่รู้ว่าจะทำสินค้าและบริการให้ใครรู้จักและใครหันมาใช้ ทำให้สตาร์ทอัพตกอยู่ในอันตรายได้ด้วยเช่นเดียวกัน ต่อให้มีสินค้าและบริการที่ดีที่สุด แต่ถ้าไม่ตอบความคาดหวังของลูกค้า เพราะไม่รู้ว่าใครจะมาซื้อ สตาร์ทอัพก็จมกองทุน ฉะนั้นต้องบอกให้ได้ละเยอดได้ว่าลูกค้าเป็นใคร แต่ละคนมีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? คิดหาแผนการที่จะให้กลุ่มลูกค้ารู้จักและเข้าใจสินค้าของเราผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โฆษณา ไวรัลคอนเทนต์บ้าง การตลาดทำให้สตาร์ทอัพรอดตาย

 

7. โมเดลธุรกิจไม่ละเอียดพอ

รักษาธุรกิจให้รอดตายนั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีกระแสเงินสดสนับสนุนงานธุรกิจทุกวันไม่ว่าจะเป็นวิจัย การผลิต การจัดจำหน่าย การตลาดและอีกสารพัด ธุรกิจต้องมีทุนพอที่จะรับมือสถานการณ์ที่คาดไว้และคิดไม่ถึง ฉะนั้นจะหวังพึ่งรายได้จากยอดขายอย่างเดียวนั้น ธุรกิจไม่รอดแน่ นั่นยิ่งทำให้นักลงทุนที่จะเอาเงินมาเสี่ยงกับสตาร์ทอัพของเราด้วย ถ้านักลงทุนไม่เห็นความสามารถของเราที่จะทำรายได้ด้วยตัวเอง

 

6. ทำสินค้าที่ใช้แล้วยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่สะดวก

เพราะหลายสตาร์ทอัพทำสินค้าที่คนไม่ต้องการ เพราะไม่เคยคิดว่ากลุ่มลูกค้าต้องการอะไรจริงๆ แต่อย่างไรก็ตามหากสินค้าและบริการของเรามีบางส่วนที่ลูกค้าต้องการ สตาร์ทอัพของเราก็มีสิทธิประสบความสำเร็จ แค่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่แค่ตัววิสัยทัศน์ของบริษัทที่มีต่อสินค้าที่ต้องมี แต้ต้องตอบโจทย์ลูกค้าด้วย

 

5. เรื่องของราคาและต้นทุนสินค้า

เพราะสตาร์ทอัพหลายเจ้าก็ตั้งราคาสูงเกินไม่ก็ต่ำเกินเพื่อต้อทำรายได้โดยลืมใส่ใจต้นทุนที่สตาร์ทอัพต้องใช้จ่าย ลูกค้าก็ต้องดูด้วยว่าสินค้าของคุณนั้นคุ้มเงินในกระเป๋าสตางค์ของลูกค้าหรือเปล่า? สินค้าต้องตอบโจทย์ให้ได้ดีเท่ากับเงินที่เสียไป บางสตาร?อัพตั้งราคาไว้สูงเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนทุกอย่างของสตาร์ทอัพ  แต่สินค้ากลับไม่ได้ตอบโจทย์ กระแทกความต้องการของลูกค้าอย่างที่โฆษณาเอาไว้ แต่ถ้าราคาต่ำเกินไปก็จะไม่ครอบคลุมต้นทุนของบริษัท

 

4. สู้คู่แข่งไม่ได้

ถ้าลองมองสินค้าและบริการในตลาด ก็จะรู้ว่าของที่มีในตลาดก็เป็นที่น่าสนใจในสายตาลูกค้า ฉะนั้นต้องมีคู่แข่งเยอะแน่นอนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่จะมาชิงรายได้ ชิงส่วนแบ่งตลาด ต่อให้มีใครมาแนะนำคุณว่าอย่าไปใส่ใจคู่แข่ง แต่การละเลยว่าคู่แข่งทำอะไรอยู่ก็พาสตาร์ทอัพหลายเจ้าปิดกิจการไปด้วยเช่นกัน แต่ถ้าเราจับตาดูคู่แข่ง วิเคราะห์ว่าคู่แข่งทำอะไรอยู่ เราก็จะได้เจอจุดอ่อนของสตาร์ทอัพและปรับปรุงได้ทันเวลา

 

3. ทำงานกับทีมที่ “ไม่ใช่”

เพราะทีมที่ใช่จะเอาความสามารถและความแข็งแกร่งมาใช้ทำงานได้เต็มที่ ทีมที่มีคนหลากหลาย มีทักษะความสามารถที่หลากหลายจะพาสตาร์ทอัพประสบความสำเร็จได้ ฉะนั้นต้องรวมคนที่มีประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานที่สตาร์ทอัพต้องทำ ไม่ใช่แค่สาขาวิชาที่จบมาอย่างเดียว อย่างคนที่เก่งงานในด้าน FCMG ก็จะไม่ค่อยมีค่าในเทคฯสตาร์ทอัพที่ทำเกมมือถือเท่าไร่ ส่วนสตาร์ทอัพที่มีทีมที่ไม่ได้มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์เดียวกัน ต่างคนมีความเห็นและตัดสินใจขัดกันก็จะพาสตาร์ทอัพปิดตัว

 

2. ไม่มีเงินสดในสตาร์ทอัพเหลือเลย

เพราะการบริหารจัดการเงินเป็นเรื่องจำเป็นในการทำธุรกิจรวมถึงสตารืทอัพด้วย ต้องจัดการเงินในแต่ละด้านให้ลงตัว ตรงนี้ต้องระวังให้ดีไม่ใช่แค่สตาร์ทอัพที่ไม่ค่อยมีเงินทุน แต่สตาร์ทอัพที่มีเงืนทุนเหลือเฟือจนไม่รู้จักใช้จ่ายก็ต้องระวังด้วย

 

1. โฟกัสไปที่การแก้ปัญหามากเกินไป

หรือจะพูดอีกอย่างก็คือโฟกัสไปที่การทำสินค้าและบริการมากเกินไป เพื่อที่จะแก้ปํญหาของลูกค้า แทนที่จะทำการบ้าน หาข้อมูลให้ได้มากที่สุดว่าใครจะมาซื้อของเรา เขาต้องการอะไรจริงๆ เขาอยากให้ปัญหาอะไรหายไปจากชีวิตเขา เขาคาดหวังอะไร ฉะนั้นก่อนคิดแก้ไขปัญหา ต้องให้แน่ใจว่าปัญหาของลูกค้า กับความต้องการของลูกค้านั้นสอดคล้องกัน

 

apps-to-aid

แหล่งที่มา

https://e27.co/10-biggest-reasons-startups-fail-fix-things-still-time-20170524/


  • 652
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th