อัพเดทจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

บทความอัพเดทจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย พร้อมสถิติการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 53 เขียนโดย สุมาวลี ศาลาสุข จากนักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และตีพิมพ์ลงนิตยสาร e-commerce ฉบับเดือนกันยายน 2553 ที่ผ่านมา

ทาง Marketing Oops! มองเห็นถึงประโยชน์ของบทความนี้ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อให้กับพวกเราชาวดิจิตอลให้ได้อัพเดทข้อมูลกัน  ซึ่งมีทั้งตัวเลขของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โมบายอินเทอร์เน็ต และบรอดแบรนด์อินเทอร์เน็ต

ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 18.3 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน   ซึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องนี้  ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการเข้าถึงความรู้และการใช้งานด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจ   เช่น ปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนใช้งานอินเทอร์เน็ตจริง   เพราะหนึ่งคนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าหนึ่งประเภท  โดยรูปแบบการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะมีทั้งที่ใช้งานผ่านบัญชีอินเทอร์เน็ตขององค์กรหรือสถานศึกษา ผ่านบัญชีอินเทอร์เน็ตของสมาชิกในครอบครัว หรือผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ  ซึ่งในวันนี้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อจำนวนประชากรของ Mobile Internet ได้แซงหน้า Boardband Internet ไปแล้ว   จึงเป็นแนวโน้มที่ผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซต้องติดตาม

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

  • • ปี 2551:  ตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ อยู่ที่ 10.96 ล้านคน (ที่มา – สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2551)
  • • ปี 2552:  ตัวเลขของต่างประเทศอยู่ที่ 20.03 ล้านคน (ที่มา – UN E-Government Survey: 2009)
  • • ปี 2552:  ตัวเลขของ NECTEC อยู่ที่ 18.3 ล้านคน (ที่มา – ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC)
  • • ปี 2553:  ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของ NECTEC อยู่ที่ 24 ล้านคน โดยเป็นตัวเลขประมาณการณ์จากการเก็บข้อมูล Unique IP ที่วิ่งบน Traffic (ซึ่งตัวเลขทางการยังไม่ออก จะออกประมาณปลายปีหรือต้นปี 2554)

ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

จากผลสำรวจตลาดสื่อสารของประเทศไทยปี 2552-2553 พบว่ามีปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์เพิ่มมากขึ้น ดังต่อไปนี้

  • 1. โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท Smart Phone มีการพัฒนาให้รองรับการให้บริการ Mobile Internet เพิ่มมากขึ้น  ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา
  • 2. แนวโน้มราคาของอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ปรับตัวลดลง เช่น Notebook Router และ Air Card เป็นต้น
  • 3. Widget/Gadget รูปแบบใหม่ๆ ที่ทยอยออกมาสร้างกระแสความตื่นตัวในการใช้งาน Application ใหม่ๆ เช่น iPad ของ Apple กระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 4. ความนิยมในการใช้งาน Social networking ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการความสะดวกรวดเร็วในการดาวน์โหลด/อัพโหลดข้อมูล
  • 5. Application ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ให้ประสบการณ์การใช้งานแบบ Real-Time (เช่น การให้บริการ Video Call) และเทคโนโลยี Virtualization เช่น เกมออนไลน์ประเภท 3D หรือ Social Network Game จำเป็นต้องใช้งานบนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
  • 6. นโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างโครงข่ายความเร็วสูง  จากแผนแม่บท ICT ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าจะต้องมีการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และต้องให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างทั่วถึง

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •