How to เลือกซื้ออย่างไรเพื่อให้ได้ EV ที่ต้องกับความต้องการผ่าน 4 ปัจจัยหลัก

  • 9
  •  
  •  
  •  
  •  

อย่างที่ทุกท่านทราบว่า ตลาดรถยนต์เริ่มส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจากที่ EV กลายเป็นยานพาหนะที่หลายคนกำลังต้องการ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่รู้กันว่า มลพิษจากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันมีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้น ขณะที่ EV มีการปล่อยมลพิษเป็น 0% ร่วมกับปัญหาราคาน้ำมันแพงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า ขณะที่ค่าไฟฟ้าสำหรับชาร์จ EV ถูกกว่าหลายเท่าตัว

แต่ก็ต้องยอมรับว่า EV เป็นเรื่องใหม่ของทุกคน ความรู้ที่มีด้านเครื่องยนต์อาจไม่สามารถนำมาใช้กับ EV ได้ทั้งหมด รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของ EV ที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ แถมยังมีหลายแบรนด์หลายเทคโนโลยีที่เข้ามาสู่ตลาด EV ส่งผลให้การตัดสินใจเลือกซื้อ EV ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป วันนี้จะมาดูวิธีการเลือกซื้อ EV เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน

 

4 ปัจจัยหลักสำหรับการเลือกซื้อ EV

แม้ว่า EV จะเป็นเรื่องใหม่ของใครหลายๆ คน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่ต้องการซื้อ EV โดยสามารถสำรวจ 4 ปัจจัยที่จะมาช่วยหนุนการตัดสินใจซื้อ EV โดยปัจจัยแรกคือ ความต้องการใช้งาน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อ EV จำเป็นต้องดูก่อนว่าต้องการใช้ EV ตอบสนองการเดินทางในรูปแบบใด ทั้งการเดินทางระยะใกล้หรือการเดินทางระยะไกล หรือต้องการเดินทางทุกรูปแบบ ซึ่ง EV ที่เหมาะสมกับระยะทางจะมีผลต่อราคาของ EV ช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกชนิดของ EV ได้ง่ายขึ้น

 

เลือกแบรนด์และรุ่นที่เหมาะกับตัวเอง เมื่อรู้ความต้องการของตัวเองแล้ว คราวนี้ก็มาดูกันต่อว่าจะเลือกแบรนด์ไหนหรือรุ่นอะไร หลายคนอาจนึกถึงแบรนด์ใหม่ๆ ที่เพิ่งเข้ามาทำตลาดในไทย หรือจะเป็นแบรนด์ดังที่คุ้นเคยและเชื่อมั่น ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ทยอยเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยสามารถตัดสินใจเลือกซื้อให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองได้

เช็กความคุ้มครองประกันภัย หนึ่งเรื่องที่สำคัญของ EV คือ เรื่องของประกันภัย EV ที่บอกเลยว่า แตกต่างกับประกันภัยรถยนต์ทั่วไป โดยประกันภัยรถยนต์ปกติจะให้ความคุ้มครองในกรณีอุบัติเหตุเป็นหลัก ครอบคลุมทั้งบุคคลภายนอกรถ บุคคลภายในรถ และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์แล้วแต่ประเภทของประกันภัย แต่ในส่วนของ EV แบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับความคุ้มครองขากบริษัทประกันภัย แต่จะเป็นการรับประกันจากผู้ผลิตตามข้อกำหนดของแต่ละค่าย

จึงต้องตรวจสอบความคุ้มครองของแต่ละค่ายก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ EV เพื่อประกอบการตัดสินใจรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มองหา App ช่วยเพิ่มความอุ่นใจ หนึ่งในความกังวลใจแบบคลาสสิคของ EV คือการหาสถานีชาร์จระหว่างการเดินทาง ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายรายที่สร้าง App ขึ้นมา นอกจากสามารถหาจุดชาร์จรถที่ใกล้ที่สุดแล้ว ยังบริการช่วยเหลือรถฉุกเฉิน (Roadside Assistance) มากมาย อาทิ แอปฯ GO by Krungsri Auto

 

โอกาสการเติบโตของ EV ในไทย

อย่างที่ทราบว่า EV ไม่ใช่รถยนต์ แต่ EV เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ชนิดหนึ่งเทียบเท่าได้กับสมาร์ทโฟนที่อยู่ในมือของทุกคนตอนนี้ ต่างกันแค่สมาร์ทโฟนเราพกพาไปไหนมาไหน แต่ EV ต้องควบคุมให้พาไปในที่ต่างๆ แต่โดยหลักการใช้งานแทบไม่ต่างกัน เมื่อแบตฯ ใกล้หมดก็ต้องชาร์จ ถ้าแบตฯ หมดก็ใช้งานไม่ได้ นั่นจึงทำให้การใช้งาน EV กลายเป็นเรื่องที่คุ้นชินได้ไม่ยาก

นอกจากเรื่องของสิ่งแวดล้อมและค่าน้ำมันที่ช่วยกระตุ้นตลาดแล้ว ยังได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการอุดหนุนด้านภาษีของภาครัฐ และจากการคาดการณ์ของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดว่าจะมียอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV) ในปีนี้จะอยู่ที่ระหว่าง 25,000-35,000 คัน ซึ่งเป็นการเติบโตกว่า 2 เท่าจากปี 2565 ที่ผ่านมา

ขณะที่ ecosystem ของ EV ก็มีการเติบโตพัฒนาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป้นค่ายรถยนต์ที่ทะยอยนำรถ EV เข้ามาจำหน่ายมากขึ้น นโยบายรัฐที่สนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานจุดชาร์จรถมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระบบ Payment สำหรับการชาร์จไฟ รวมไปถึงรูปแบบการประกันภัยเฉพาะ EV และในอนาคตคาดว่าจะมีจำนวนผู้ให้บริการดูแลซ่อมบำรุงสำหรับ EV เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่ต้องใช้ในการเลือกซื้อ EV แต่ยังมีปัจจัยรายละเอียดปลีกย่อย อย่างการเลือกอุปกรณ์ชาร์จไฟที่บ้านหรือการมองหาร้านซ่อมบำรุงที่อยู่ใกล้ รวมไปถึงอะไหล่ต่างๆ ที่ EV ต้องใช้และหลายรายการที่ไม่เหมือนอะไหล่รถยนต์ทั่วไป รวมถึงราคาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม EV ก็ยังถือเป็นเทรนด์ที่สำคัญของตลาดรถยนต์ และหากตลาด EV เติบโตขึ้นมาก ปัจจัยต่างๆ ก็จะค่อยๆ หมดไปจนสุดท้ายเหลือเพียง 4 ปัจจัยหลักข้างต้นที่กล่าวมา


  • 9
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE