บทเรียนราคาแพงจาก “ชิฟ เวนเจอร์” เตือนนักลงทุนสตาร์ทอัพไทย

  • 2.9K
  •  
  •  
  •  
  •  

หลังจากที่ 3 ผู้บริหารผู้คร่ำหวอดในสตาร์ทอัพอย่าง “วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง” (กลาง) “กวิณ โอภาสวงการ” (ขวา) และ “วิเลิศ อรวรรณวงศ์” (ซ้าย) ประกาศสร้าง ชิฟ เวนเจอร์ จำกัด (shift  ventures) คลับจับคู่ธุรกิจระหว่างสตาร์ทอัพซึ่งเป็น Founderhood Club และนักลงทุนซึ่งรวมมูลค่ากว่าพันล้านบาท

15085742_1069856719778963_3055121055263662129_n

 

 

ซึ่งงานนี้เห็นทีสตาร์ทอัพไทยคงอยู่เฉยไม่ได้ เพราะทั้งฝั่งสตาร์ทอัพและนักลงทุนต้องออกโรงมาเตือนคนที่คิดจะลงทุนสตาร์ทอัพไทยอย่างแข็งขัน

และนี่คือ 3 สิ่งที่เราเรียนรู้จากการเข้ามาของ “ชิป เวนเจอร์” ในวงการสตาร์ทอัพไทย

 

1. นักลงทุนที่ใช่ ต้องจับคู่กับสตาร์ทอัพที่ใช่: เพราะการทำสตาร์ทอัพยุคนี้เป็นยุคที่เริ่มต้นไม่ได้ลำบากเหมือนการทำธุรกิจในสมัยก่อน เพราะนักลงทุนไม่ได้แค่ให้เงินทุนสนับสนุนแล้วจบ แต่แนะนำให้สตาร์ทอัพได้รู้จักและจับคู่ร่วมมือพาร์ทเนอร์ที่ “ใช่” อยู่ในวงการเดียวกับสิ่งที่สตาร์ทอัพกำลังทำ และต้องการร่วมมือ ไม่เสียเวลากับพาร์ทเนอร์ที่ไม่ใช่

ซึ่งจุดนี้คุณภัทรพร โพธิ์สุวรรณจาก Eventpop ได้บอกไว้ว่า “สตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับอาหาร ต้องการใครก็ได้ที่เป็น Food group ตัวจริงมาลงทุนทำให้กิจการโตในฐานะ Strategic Investor มากกว่าแค่มูลค่าเงิน ฉะนั้นนักลงทุนที่เราเจอถูกคนถูกเวลาก็ช่วยสตาร์ทอัพด้วย”

cover1-1

คุณภัทรพร โพธิ์สุวรรณ ผู้ก่อตั้งและ CEO แห่ง Eventpop 

 

อีกทั้งสตาร์ทอัพยังได้เสริม Mindset และองค์ความรู้จากอินเตอร์เน็ตและเมนเทอร์ประสบการณ์แน่นคอยเสริมทักษะที่แต่ละคนในทีมขาด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ เทคนิค หรือทรัพยากร

ขอให้ทีมสตาร์ทอัพมีความสามารถ บางครั้งนักลงทุนเข้ามาลงแรงกับสตาร์ทอัพด้วย เพราะนักลงทุนต้องมั่นใจด้วยว่าทุกบาททุกสตางค์ที่นักลงทุนใส่ไปสตาร์ทอัพจะต้องคุ้มค่า ตลาดต้องใหญ่พอให้เขาลงทุน ไม่ใช่แค่ Niche

อย่างที่ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการได้บอกไว้ “ยิ่งมีเงินมาก ความรับผิดชอบยิ่งมากตาม”

k

ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ จาก บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส กรุ๊ป โอลดิ้ง

 

2. Think Global, Act Local ตั้งแต่แรก:  คุณภัทรพรจาก Eventpop แนะนำสตาร์ทอัพหน้าใหม่ว่า “แผนธุรกิจของเราต้องดีตั้งแต่วันแรก วิสัยทัศน์ต้องชัด วางเป้าหมายไปเลยว่าจะเปิดให้บริการในไทยและอื่นๆในเอเชีย แผนการที่ถูกต้องคือต้องคลุมทั้งภูมิภาคเลยด้วยแต่แรก ถ้าเราไปหา Venture Capital แล้วบอกว่าเราจะเป็นที่หนึ่งในไทย VC บอกก็น่าสนใจ แต่ถ้าเราบอกว่าเราจะเป็นที่หนึ่งในเอเชีย ก็ดูน่าลงทุนมากกว่าเยอะ

ซึ่งหากเราต้องการขยายตลาดภูมิภาคในอนาคตก็ควรจะคำนึงถึงพฤติกรรมและวัฒนธรรมของประเทศอื่นด้วย ตามที่คุณวริศา ศรีเจริญ จาก QueQ ได้บอกไว้ว่า “QueQ เริ่มให้บริการจากไทย เพราะเข้าใจธรรมชาติของคนไทย แต่พอไปต่างประเทศ ก็จะมีวัฒนธรรมการจองคิวและรับประทานอาหารที่ไม่เหมิอนกัน ฉะนั้นต้องมีคนไปสเกลไปต่างประเทศให้ได้ มีพาร์ทเนอร์และ Strategic Investor ที่เข้าใจประเทศที่กำลังจะไปขยาย ไม่ต้องลองผิดลองถูกเยอะ”

15

คุณวริศา ศรีเจริญ Chief Marketing Officer จาก QueQ

 

นอกจากนั้นบุคคลากรก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคุณภูมินทร์ ยุวจรัสกุลจาก Eatigo ที่กำลังเสาะหาคนที่สามารถบริหารจัดการ Headquarter ได้มากกว่าหนึ่งประเทศ และสามารถสอนให้คนไทยบริหาจัดการ Headquarter ได้ด้วย

ahr0cdovl3axlmlzyw5vb2suy29tl21ulzavdwqvnjuvmzi3mjc1l2vhddeuanbn

คุณภูมินทร์ ยุวจรัสกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้บริหาร Eatigo ประเทศไทย

 

3. ความเข้าใจ “สตาร์ทอัพ” ระหว่างผู้ประกอบกิจการและนักลงทุนต้องตรงกัน:เพราะนักลงทุนต้องเข้าใจว่าสตาร์ทอัพคืออะไรและทำงานอย่างไร จึงจะมั่นใจได้ว่าสตาร์ทอัพจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

แล้วสตาร์ทอัพจริงๆแล้วคืออะไรล่ะ? ต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือไม่?

จริงๆแล้ว สตาร์ทอัพ (Startup) คือ “กระบวนการ” ค้นหาโมเดลธุรกิจที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน ที่ยึดหลัก “Learn Fast, Fail Fast, Adapt Fast!”

bg_whiteboard

ฉะนั้นสตาร์ทอัพเน้น “ความเร็ว” ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น “ธุรกิจเทคโนโลยี” ก็ได้แต่เรามักเห็นสตาร์ทอัพใช้เทคโนโลยี นั่นเพราะเทคโนโลยีส่งเสริม “ความเร็ว” นั่นเองครับไม่ว่าจะเป็นการทำงานเป็นทีมโครงสร้างธุรกิจ ไปจนถึงวิธีการใช้เงิน และการทำตลาดที่รองรับกระบวนการที่ว่าด้วยครับ

ดังนั้น ไม่ใช่ว่าธุรกิจทุกประเภทเป็นสตาร์ทอัพได้ เช่นร้านอาหาร ธุรกิจสปา หรือช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องเผชิญข้อจำกัดในการเติบโตได้เร็ว เช่นทำเลให้บริการและทำการตลาด ถึงแม้ว่าธุรกิจนั้นจะได้รับความนิยมหรือทีมงานที่เก่งมากแค่ไหนก็ตาม

862223_750x420

รู้อย่างนี้ นักลงทุนท่านใดที่สนใจลงทุนในสตาร์ทอัพ จะยึดแต่ประสบการณ์ของตัวเองที่เคยทำธุรกิจมาก่อนอย่างเดียวมาตัดสินสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพน่าลงทุนไม่ได้แล้ว เพราะการละเลยเรื่องของ “เทคโนโลยี” และ “กระบวนการ” ถึงเป็นความเสี่ยงในการลงทุนอย่างหนึ่งเช่นกัน

 

ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ และคุณฤทธิ์ ธีระโกเมน เตือนสติสตาร์ทอัพในฐานะนักลงทุนว่า “สิ่งที่เราเสนอไอเดียสตาร์ทอัพมาแก้ได้จริงมั้ย แก้ปัญหาใหญ่ๆได้หรือไม่ และแก้ให้คนจำนวนมากได้หรือไม่ วิธีแก้ไขปัญหาของเราเพิ่มประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าเราทำสตาร์ทอัพแล้วล้ม เรารู้หรือไม่ว่าล้มเพราะอะไร”“ถ้าเราสำเร็จ เรารู้หรือไม่ว่าทำไมถึงสำเร็จ”

rit

คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

 

แต่ไม่ว่าเราจะสำเร็จหรือล้มเหลว อิทธิพัทธ์ พีระเดชันธ์ หรือต๊อบ เถ้าแก่น้อย ขอให้เราอย่าลืม “จิตวิญญานของ Entrepreneur  ลุย สู้ไม่ถอย ไม่ยอมแพ้ กัดปัญหาไม่ปล่อย”

ทำได้แบบนี้ ทำอะไรก็สำเร็จแน่นอน

15058789_10210704380302896_391632071_n

 

 

แหล่งที่มา

งานเปิดตัวบริษัท ชิป เวนเจอร์ จำกัด วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ณ Glowfish Siam

 

 


  • 2.9K
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th