7 เครื่องใช้ไฟฟ้าชิงตลาด Blu-ray

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ไม่ใช่สินค้าใหม่อีกต่อไปแล้ว สำหรับเครื่องเล่น บลูเรย์ ทั้งโซนี่และโตชิบาต่างท้าดวลในฟอร์แมต “Blu-Ray” และ “HD”

bluray

ที่ผ่านมาเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ค่ายต่างทยอยเปิดสินค้ารุ่นใหม่ๆ เข้าตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์ และครีเอตดีมานด์ใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมที่จะเข้ามาผลักดันให้ตลาดขับเคลื่อนได้ต่อไป

ตลาดที่รับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เร็วกว่าใคร คงหนีไม่พ้นอเมริกาและยุโรป ที่ปัจจุบันเปลี่ยนจากระบบดีวีดีทั่วไปเป็นบลูเรย์เกือบหมดแล้ว และจึงกลายเป็น 2 ตลาดใหญ่ของผู้ผลิต

จากนี้ไปตลาดใหม่ๆ ในทวีปอื่นๆ อย่างเอเชีย รวมทั้งเมืองไทย จึงกลายเป็นขุมทรัพย์ใหม่ เป็นตลาดแห่งโอกาสที่มีขนาดมหาศาล

Sony, Pioneer, Panasonic, Samsung, LG, Sharp และ Philips เป็น 7 แบรนด์หลักที่ช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์

จำนวน 5 พันยูนิตในตลาดเมืองไทยมา อย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากนี้ไปจะยิ่งเข้มข้นและเต็มรูปแบบ เมื่อประเมินกันว่าตลาดรวมในปีหน้านี้จะขยายเป็นเท่าตัวทะลุ 1 หมื่นยูนิต

bluray2

“อลงกรณ์ ชูจิตร” รองกรรมการผู้จัดการ LG กล่าวว่า แม้ปัจจุบัน LG จะมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 4-5 ของตลาด แต่ภายในปีนี้การก้าวกระโดดขึ้นมาติด 1 ใน 3 ของตลาด ไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถ ด้วยขนาดของตลาดที่ใหญ่ขึ้นเป็นเท่าตัวตามเทรนด์ของดีมานด์ทั่วโลก

รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่เข้ามาหนุนดันตลาดเครื่องเล่นบลูเรย์ อย่างเช่นมีผู้ประกอบการร้านขายแผ่นหรือให้เช่าแผ่นหนังบลูเรย์มากขึ้น ควบคู่กับราคาทั้งเครื่องเล่นและแผ่นปรับลดลง จึงกลายเป็นตัวดึงให้ลูกค้าใหม่ๆ กล้าเข้ามาในตลาดมากขึ้นจากเดิมที่ช่วงแรกๆ ที่มีเป็นกลุ่มเฉพาะ

LG ปูพรมสินค้ารุ่นใหม่ส่งท้ายไตรมาสปีนี้อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยเครื่องเล่นบลูเรย์ 3 รุ่น และเครื่องเสียงที่รองรับการใช้งานร่วมกับ iPod อีก 3 รุ่น ขยายช่องทางขายใหม่ๆ เข้าโมเดิร์นเทรด จากเดิมเครื่องเล่นบลูเรย์จะวางขายเฉพาะห้างสรรพสินค้าและดีลเลอร์เครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ๆ เท่านั้น รวมทั้งทำโคโปรโมชั่นร่วมกับร้านขายแผ่นหนังแผ่นดีวีดีที่มีเชนอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ และกว้างมากขึ้น

นอกจากนี้ในช่วงปลายปีได้เตรียมลอนช์เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นไฟติ้งโมเดล ราคาต่ำกว่าหมื่นบาท ออกมาสร้างสีสันและเพิ่มยอดขาย

ตลาดเครื่องเล่นบลูเรย์นี้จะเปลี่ยนเร็วมากน้อยแค่ไหน ผู้บริหารแอลจีมองว่าขึ้นอยู่กับหลายๆ ส่วน ไม่ใช่แค่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตบลูเรย์ แต่ยังรวมถึงค่ายผู้ผลิตหนังรายใหญ่ๆ ระดับโลกที่ต่างหันมาสนับสนุนฟอร์แมตบลูเรย์และยกเลิกใช้ฟอร์แมตเดิมๆ สำหรับการถ่ายทำหนัง ซึ่งส่งผลดีให้เครื่องเล่นและแผ่นบลูเรย์ทั่วโลกมีราคาลดลงครึ่งต่อครึ่ง เมื่อเทียบกับช่วงแรกที่เปิดตัวเทคโนโลยีนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “ราคา” ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการขับเคลื่อนตลาด ถ้าแผ่นหนังสามารถรับราคาให้ถูกช่วง-บาท ตลาดเครื่องเล่นก็ย่อมโต รวมทั้งทาร์เก็ต ใหม่ๆ ที่พร้อมเปิดรับทั่วทั้งโลก

Source: ประชาชาติธุรกิจ
logo_prachachart


  •  
  •  
  •  
  •  
  •