ไอเดียเจ๋ง! แบรนด์อินเดียคืนชีพดอกไม้เหลือทิ้งจากพิธีกรรม เป็นสินค้าใหม่แกะกล่อง

  • 1K
  •  
  •  
  •  
  •  

ถ้าคุณเคยดูสารคดี หรือผ่านตากับพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียมาบ้าง คงรู้ดีว่าเรื่องราวความเชื่อและศาสนาของอินเดียนั้น จะมีดอกไม้จำนวนมากเป็นส่วนเกี่ยวข้องหรือถูกนำมาใช้ประกอบงานพิธีกรรมอยู่เสมอ ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว…ดอกไม้เหล่านั้นก็หมดคุณค่าในทันที

เพื่อลดปัญหาดอกไม้เหลือใช้หลังประกอบพิธีกรรมทางศาสนา “Helpusgreen” จึงเกิดไอเดียบรรเจิด รวบรวมดอกไม้ที่ชาวอินเดียใช้แสดงความเคาพและบูชาในพิธีกรรมต่างๆ กว่า 800 ตัน!!! มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าอย่างสบู่และธูป

ทั้งนี้ คนอินเดียนิยมใช้ดอกกุหลาบสีแดง ดอกดาวเรือง และดอกไม้สีเหลืองอื่นๆ ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่าเมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมทางศาสนา ดอกไม้เหล่านี้ก็จะมีสถานะไม่ต่างจากขยะมูลฝอยหลากสีสันซึ่งเป็นปัญหาต่อการจัดการเป็นอย่างมาก ทั้งยังไม่สามารถจำกัดด้วยการฝังกลบเพราะเชื่อว่าดอกไม้ที่ผ่านพิธีกรรมคือของศักดิ์สิทธิ์ประเภทหนึ่ง ทำให้วัดฮินดูจำนวนมากเลือกกำจัดดอกไม้จำนวนมหาศาลนั้นด้วยการโยนทิ้งลงในแม่น้ำคงคาซึ่งเป็นแม่น้ำสายศักดิ์สิทธิ์!

1
ไม่ใช่แค่รักษ์โลกเพราะลดขยะดอกไม้ แต่โครงการนี้ยังสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่นที่มารับจ้างคัดแยกดอกไม้อีกด้วย

ในฐานะเจ้าของไอเดีย Ankit Agarwal อธิบายว่า การทิ้งดอกไม้เหล่านั้นลงแม่น้ำทำให้เกิดมลพิษ เพราะดอกไม้อาจถูกพ่นด้วยสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีจนทำให้ซึมลงสู่แหล่งน้ำ และเมื่อคิดได้ดังนั้น Agarwal ได้ชวนเพื่อนสนิท Karan Rastogi เสนอทางเลือกในการปฏิวัติของเสียเหลือใช้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ โดยในช่วงแรกไม่มีใครเชื่อและสนับสนุนแนวคิดของพวกเขาเลย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 จนถึงตอนนี้…พวกเขาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า Helpusgreen สามารถแปรรูปดอกไม้จำนวนมหาศาลเป็นธูปหอมและสบู่อาบน้ำชั้นดีได้จริง

สำหรับขั้นตอนการรวบรวมวัตถุดิบไปแปลงสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ Helpusgreen นั้น เริ่มจากการรวบรวมดอกไม้จากหมู่บ้านและเมืองเล็กๆ มากถึง 1.5 ตันต่อวัน โดยทั้ง Agarwal และ Rastogi ประสานงานกับวัดกว่า 29 แห่ง และมัสยิดอีก 3 แห่ง ซึ่งพวกเขาใช้แรงงานมนุษย์ในการช่วยกันคัดแยกประเภทดอกไม้ที่แตกต่างออกจากกัน

2
จากแนวคิดที่ไม่มีใครสนับสนุน จนถึงวันที่ธุรกิจกำลังขยายตัว!

อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาแรงงานคนเพื่อคัดแยกดอกไม้จำนวนมหาศาลในแต่ละวันอาจต้องใช้ผู้คนและระยะเวลาดำเนินการค่อนข้างนาน แต่นั่นทำให้ผู้หญิงที่รับจ้างหน้าที่ดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีฐานะยากจน มีรายได้แพง 10 รูปีต่อวัน (ประมาณ 5 บาท) ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 150 รูปีต่อวัน (ราวๆ 80 บาท)

ส่วนธุรกิจของแบรนด์ Helpusgreen พบว่ามีรายได้ประมาณ 1.5 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และมีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 27% ซึ่งผู้ก่อตั้งแบรนด์ทั้ง 2 คน ได้เตรียมขยายกิจการต่อไปอีกด้วย

3
เชื่อหรือไม่ว่าผลิตจากดอกไม้เหลือใช้
4
บรรจุภัณฑ์สวยงาม ดูดี

ถือเป็นตัวอย่างของคนที่มุ่งมันสร้างแบรนด์และดำเนินงานอย่างไม่ย่อท้อ จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการแก้ไขปัญหาจากเรื่องใกล้ตัวที่ไม่เคยมีใครให้ความสำคัญ เท่านั้นเอง…!

 

ที่มา


  • 1K
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน