เลย์ ครองเบอร์ 1 มันฝรั่งทอดกรอบ! ผลักดันเกษตรกรไทยเร่งปลูกมันฝรั่ง รับกระแสความต้องการของผู้บริโภคโตต่อเนื่อง

  • 191
  •  
  •  
  •  
  •  

มันฝรั่งพืชอาหารที่มีต้นกำเนิดจากต่างประเทศแถบฝั่งตะวันตก  ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมารกินอาหารของคนไทยโดยไม่รู้ตัว ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมามันฝรั่งได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจประจำประเทศ เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตขนมขบเคี้ยวที่มีฐานการผลิตในไทยที่มีความต้องการมันฝรั่งจำนวนมากสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยกว่า 10,000 ครัวเรือน และสร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศกว่า 1,270 ล้านบาทต่อปี

Lay2

จากผลสำรวจในปี  พ.ศ.2560 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่ง 37,858 ไร่ แบ่งเป็นพันธุ์โรงงาน 35,482 ไร่ และพันธุ์บริโภค 2,376 ไร่ มีผลผลิตรวม 107,103 ตันต่อปี แบ่งเป็นพันธุ์โรงงาน 101,080 ตันต่อปี และพันธุ์บริโภค 6,023 ไร่ โดยจังหวัดที่มีการเพาะปลูกมันฝรั่งมีทั้งหมด 10 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ สกลนคร และนครพนม

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ในเครือเป๊ปซี่โค ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย “เลย์” ครองอันดับหนึ่งในตลาดมันฝรั่งทอดกรอบ และเป็นหนึ่งในองค์กรที่ผลักดันตลาดมันฝรั่งทอดกรอบให้มีการเติบโต รวมถึงสนับสนุนเกษตรกรไทยที่ปลูกมันฝรั่งอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2560 ตลาดมันฝรั่งทอดกรอบมีมูลค่า 10,612 ล้านบาท เติบโต 8.9% ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณความต้องการมันฝรั่งพันธุ์โรงงานสูงถึง 140,000 – 150,000 ตัน สำหรับในปี พ.ศ. 2561 เกษตรกรไทยสามารถสร้างผลผลิตได้ถึง 114,903 ตัน หรือประมาณ 75% ของวัตถุดิบที่ใช้บริโภคภายในประเทศ ส่วนที่เหลือ 25% ยังต้องนำเข้ามันฝรั่งจากต่างประเทศ

มันฝรั่งพืชเศรษฐกิจ ตลาดมีความการสูง

แม้ประเทศไทยจะไม่ได้รับประทานมันฝรั่งเป็นอาหารมื้อหลักอย่างข้าวก็ตาม แต่พบว่ามันฝรั่งที่ใช้ในการบริโภคหรือใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ถึงประเทศไทยจะมีการเพาะปลูกมันฝรั่งมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานแล้วก็ตาม โดยเฉลี่ยคนไทยต้องการบริโภคมันมันฝรั่งราวๆ 468 กรัมต่อปี และมีทิศทางความต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ

Lay1

นายเคิร์ธ พรีชอว์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจขนมขบเคี้ยว บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดขนมขบเคี้ยวเติบโตอยู่ประมาณ 6% มูลค่าประมาณ 36,000 ล้านบาท ซึ่งวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตคือมันฝรั่ง จากนโยบายการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน ‘โครงการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนภายใต้สัญญาข้อตกลงซื้อขายผลผลิตมันฝรั่งที่กำหนดราคารับซื้อที่แน่นอน’ มุ่งสนับสนุนเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่อง โดยวัตถุดิบจะใช้ภายในประเทศเป็นหลัก ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกและรับซื้อมันฝรั่งจากเกษตรกรไทยราว 3,500 ราย ครอบคลุมพื้นที่การเพาะปลูกรวมกว่า 22,000 ไร่

นายชวาลา วงศ์ใหญ่ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า ไทย กล่าวว่า ปัญหาการเพาะปลูกมันฝรั่งให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค คือ สภาพอากาศ ธรรมชาติของมันฝรั่งจะเติบโตได้ดีเมื่อมีสภาพอากาศหนาวเย็น ซึ่งประเทศไทยสามารถปลูกได้ฤดูเดียว และถึงแม้จะมีการเร่งการผลิตให้มีผลผลิตจำนวนมากเพียงพอในแต่ละปี ก็ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะอายุการเก็บรักษาคุณของมันฝรั่งมีค่อนข้างน้อย หากเก็บไว้นานเกินคุณภาพจะลดลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ของเลย์ตามมาตรฐานได้ นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ เลย์ มีแผนผลักดันให้เกษตรกรไทยเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ จาก 3 ตันต่อปี สู่ 5 ตันต่อปี เพื่อรองรับความต้องการของตลาดมีโตอย่างต่อเนื่อง

และเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ  เป๊ปซี่โคมีการรับประกันราคาซื้อขั้นต่ำมากกว่าที่รัฐบาลกำหนด โดยในฤดูแล้งราคารับอยู่ที่ 10.60 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาประกันในฤดูฝน อยู่ที่ 14 บาทต่อกิโลกรัม  โดยแต่ละปีบริษัทตั้งเป้ารับซื้อผลผลิตมันฝรั่งจากเกษตรกรไทยไม่ต่ำกว่า 70,000 ตัน

นายบุญศรี ใจเป็ง เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกมันฝรั่ง เจ้าของรางวัล “เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชไร่ภาคเหนือ ปี 2553” และเป็นหนึ่งในเกษตรที่เข้าร่วมโครงการกับเป๊ปซี่-โคล่า ไทย “คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง” (Contract Farming) เล่าว่า โดยเฉลี่ยผลผลิตมันฝรั่งต่อไร่จะอยู่ราวๆ 2-3 ตันต่อไร่ แต่สำหรับพื้นที่ในจังหวัดเชียง สามารถปลูกได้ถึง 5 ตันต่อไร่ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งรวมกว่า 1,500 ไร่ต่อปี เป็นผลมาจากการสนับสนุนจากบริษัทเป๊ปซี่-โคล่า และภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

บุญศรี ใจเป็ง 4

“เป๊ปซี่-โคล่า ไทย” รับเทรนด์เฮลท์ตี้ต่อเนื่อง

ในช่วงที่ผ่านมา เทรนด์อาหารเฮลท์ตี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า ไทย นอกจากจะผลิตเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลอย่าง Pepsi max แล้ว ขนมขบเคี้ยวก็มีการปรับตัวแล้วใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้นเช่นกัน ประเดิมด้วยการใช้น้ำมันรำข้าวลดไขมันอิ่มตัว 50% สำหรับผลิตภัณฑ์ขนมที่จำเป็นต้องทอด และผลิตไลน์ขนมที่ใช้วิธีการอบกรอบแทนการทอดเพิ่มขึ้น อาทิ ซันไบทส์ และเลย์ Baked เพิ่มทางเลือกสุขภาพสู่ผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม เลย์รสชาติที่ขายดีที่สุดยังตกเป็นรสชาติโนริสาหร่าย ส่วนรสชาติยอดนิยมของชาวต่างชาติคือ รสเมี่ยงคำ รสหมึกย่างฮอตชิลลี่


  • 191
  •  
  •  
  •  
  •  
Roboots
Tech Savvy Lv.14