เอคเซนเชอร์และสถาบันการเงินชวนสตาร์ตอัพ นำเสนอแผนงานมายัง ฟินเทค อินโนเวชั่น แล็บ 2016

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

เอคเซนเชอร์ (ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ACN) เปิดรับสตาร์ตอัพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับโครงการ FinTech Innovation Lab ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 เฟ้นหาผู้ประกอบกิจการเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) ช่วงเริ่มต้นหรือกำลังเติบโต มาเข้าโครงการระยะ 12 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจ พร้อมพบปะผู้บริหารจากสถาบันการเงินด้วย ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ทางเว็บไซต์ www.fintechinnovationlab.com ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559

M

รายงานล่าสุดของเอคเซนเชอร์เรื่อง “ฟินเทคและภาวะแวดล้อมในตลาดยุคใหม่” (FinTech and the Evolving Landscape) แสดงให้เห็นแนวโน้มการลงทุนในกิจการฟินเทคแถบเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 การลงทุนมีมูลค่ารวม 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น 51% ของ 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ลงทุนในกิจการด้านฟินเทคทั้งหมดทั่วโลก

“เราหารือกับสถาบันการเงินทั่วทั้งเอเชียเกี่ยวกับกิจการฟินเทค เพราะผู้บริหารต่างต้องการทราบว่าจะลงทุนในโซลูซั่นใหม่ ๆ ที่ล้ำหน้ากว่าใครได้อย่างไร จะพัฒนาหรือซื้อโซลูชั่นเหล่านั้นเพื่อต่อยอดบริการสำหรับลูกค้าดีหรือไม่” นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการประจำเอคเซนเชอร์ประเทศไทย กล่าว “จึงเป็นเหตุผลว่า ในปีที่สามของการทำฟินเท็คอินโนเวชั่นแล็บ เราจึงเพิ่มจำนวนสถาบันการเงินจาก 12 เป็น 20 แห่ง และเพิ่มจำนวนการรับกิจการเข้ามาในโครงการเพิ่มจาก 12 เป็น 17 และขยายให้ครอบคลุมถึงธุรกิจประกันด้วย”

ฟินเทค อินโนเวชั่น แล็บ เอเชียแปซิฟิก เป็นโครงการสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีล้ำยุคที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงิน โดยเฉพาะด้านบิ๊กดาต้า อนาลิติกส์และค็อกนิทีฟ คอม- พิวติ้ง การจัดการด้านความปลอดภัยและการระบุตัวตน การบริหารความเสี่ยงและการปฎิบัติตามข้อกำหนด การตลาดดิจิทัลและสื่อสังคม คลาวด์ การชำระเงิน เทคโนโลยีบล็อกเชน การบริหารทาเลนต์ และแอพพลิเคชั่นที่รองรับอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์

ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยีและผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลด้านนี้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ จะคัดเลือกกิจการฟินเทค 12 แห่ง ให้เข้ามาพัฒนาและให้คำปรึกษาอย่างเข้มข้นที่แล็บในฮ่องกง

สำหรับสถาบันการเงินหลัก 12 แห่งที่ให้การสนับสนุนได้แก่ แบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ริลลินช์ บีเอ็นพีพาริบาส์ คอมมอนเวลธ์แบงก์ออฟออสเตรเลีย เครดิตสวิส เจนเนอราลี โกลด์แมนซาคส์ เอชเอสบีซี เจพี มอร์แกน เมย์แบงก์ มอร์แกนสแตนเล่ย์ ซันไลฟ์ไฟแนนเชียล และยูบีเอส เป็นต้น

กิจการที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องมีเทคโนโลยีฉบับเบต้าที่ใช้งานได้ในปัจจุบัน โดยเดอะแล็บจะเริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2559 ทำงานร่วมกับฟินเทคที่คัดเลือก พร้อมมีผู้บริหารระดับสูงของธนาคารและบริษัทประกัน เจ้าของกิจการด้านเทคโนโลยีชั้นนำ เข้ามาช่วยปรับทิศทางและพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ผ่านเวทีเวิร์กช็อป เสวนา รับฟังความคิดเห็นผู้ใช้ เน็ตเวิร์คกิ้ง ประชุมกลุ่มย่อย และการนำเสนอข้อมูล ทั้งนี้ บริษัทไซเบอร์พอร์ตจะสนับสนุนสถานที่ทำงานแก่เจ้าของกิจการที่เข้าร่วม บริษัทเจพลัสโฮเต็ล บาย ยู จะสนับสนุนโรงแรมที่พัก โดยทางแล็บจะจัดงาน Demo Day ในเดือนพฤศจิกายน 2559 เพื่อนำเสนอข้อมูลจากกิจการที่ได้รับคัดเลือกเข้าในโครงการ ต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนเวนเจอร์แคปปิตอล และผู้บริหารจากแวดวงการเงิน

จากข้อมูลในรายงานเรื่อง “ฟินเทคและสภาพแวดล้อมในตลาดยุคใหม่” ที่จัดทำโดยเอคเซนเชอร์เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เผยให้เห็นว่า มูลค่าการลงทุนในกิจการฟินเทคทั่วโลกในปี 2558 เพิ่มขึ้นมากกว่า 22,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเอเชีย

FinTechInnovationLab-F

“ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมานั้น มีมูลค่าการลงทุนไปแล้วกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเรามองว่าแนวโน้มจะเป็นเช่นเดียวกับปีที่แล้ว” บีท มอนเนราต์ กรรมการผู้จัดการอาวุโส และผู้อำนวยการสายงานบริการทางการเงิน เอเชียแปซิฟิกของเอคเซนเชอร์ กล่าว “ปีนี้นับเป็นการดำเนินงานในปีที่ 3 ของเดอะแล็บ ในการช่วยให้สถาบันการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกค้นหาและพัฒนาศักยภาพของฟินเทคซึ่งจะยังประโยชน์ให้แก่อุตสาหกรรมโดยรวม”

ทั้งนี้ มีตัวอย่างกิจการที่เคยเข้าร่วมโครงการ ปัจจุบันได้พัฒนาไปทำงานร่วมกับผู้ที่เคยให้คำปรึกษาและเคยรับคำปรึกษาร่วมกัน

“ฟินเทคจะเป็นตัวเปลี่ยนระบบนิเวศและสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมธนาคารไปเลยทีเดียว สิ่งที่ทำให้ธนาคารเคยได้เปรียบในอดีตอาจกลายเป็นจุดอ่อน หากไม่สามารถปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงได้เร็วพอ ธนาคารไทยพาณิชย์นั้นเชื่อในการทำงานร่วมกันกับฟินเทค เพราะเราสามารถดึงศักยภาพของทั้งสองฝ่ายออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า และบริการได้ดีขึ้น นอกจากนี้ เรายังเชื่อมั่นว่าเอเชียจะกลายเป็นภูมิภาคสำคัญสำหรับฟินเทค เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนฟินเทค อินโนเวชั่นแล็บ เอเชียแปซิฟิก และหวังว่าจะสานสัมพันธ์กับชุมชนฟินเทคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นจากโครงการนี้” ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด ยุทธศาสตร์องค์กรและพัฒนาธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์

“ในฐานะที่เอชเอสบีซีเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศธุรกิจการเงิน เราจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือพัฒนาชุมชนฟินเทค ซึ่งก็จะช่วยเราพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นด้วย” เรย์มอนด์ เชง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัตการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเอชเอสบีซี กล่าว “กิจการสตาร์ตอัพในอุตสาหกรรมฟินเทคช่วยทำให้ความคิดสร้างสรรค์ ความคล่องตัว และเทคโนโลยีใหม่ สามารถพัฒนาไปด้วยกันและเราสามารถให้คำแนะนำ ทดสอบ ปรับแต่ง และนำมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่นในปีที่ผ่านมา เรานำระบบ FinSuite มาใช้ ทำให้สามารถวางผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด 27 แห่งได้พร้อม ๆ กัน การอนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้าเร็วขึ้นมาก”

“ส่วนในปีนี้ ความตั้งใจของเราคือ ต้องการค้นหาโอกาสต่าง ๆ ในการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านฟินเทคให้เหมาะกับพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเรา เช่น บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta) เพื่อช่วยให้เราให้บริการการเงินแก่ลูกค้าได้ง่ายขึ้น ดีขึ้น และเร็วขึ้น” นายเชงกล่าวเสริม

“ความร่วมมือระหว่างเดอะแล็บและเอชเอสบีซีที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ได้ช่วยให้ FinSuite ซึ่งเป็นกิจการสตาร์ตอัพออสเตรเลียเล็ก ๆ สามารถเติบโตกลายเป็นกิจการฟินเทครายใหญ่ระดับโลกได้ในปัจจุบัน ที่ได้ขยายกิจการไปสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ รวมทั้งสหรัฐฯ แล้ว” บาร์ต เจสมัน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ FinSuite กล่าว

ฟินเทค อินโนเวชั่น แล็บ เอเชียแปซิฟิก มีรูปแบบเหมือนโครงการที่เอคเซนเชอร์เคยจัดตั้งให้แก่กรุงนิวยอร์กในปี 2553 ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชิป ฟันด์ ทำหน้าที่ดูแลการลงทุนมูลค่า 115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของพาร์ตเนอร์ชิปฟอร์นิวยอร์กซิตี้ ต่อมาในปี 2555 เอคเซนเชอร์และธนาคารอีกกว่า 12 แห่งในลอนดอนได้ร่วมเปิดตัว FinTech Innovation Lab London ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กและหน่วยงานรัฐอื่นๆ ในปี 2557 เอคเซนเชอร์เปิดตัว FinTech Innovation Lab ในเอเชียแปซิฟิกและกรุงดับบลิน ไอร์แลนด์ กิจการที่เคยเป็นศิษย์เก่าของแล็บนี้ สามารถระดมทุนภายหลังเข้าร่วมโคงการ ได้มากกว่า 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั่วโลก มีกิจการสี่แห่งจากแล็บในนิวยอร์กถูกควบรวม สองแห่งถูกควบรวมในปี 2558 ปีเดียว คือ สแตนดาร์ด เทรเชอรี และบิลล์การ์ด


  •  
  •  
  •  
  •  
  •