สัญญาณความเหนื่อยล้า และทางออกของชาวออฟฟิศกับพฤติกรรมเดิม ๆ จากการทำงานหนัก

  • 1.6K
  •  
  •  
  •  
  •  

[บทความนี้เป็น Advertorial]

Alinamin_1

“ถ้าเธอเหนื่อยล้า จงเดินเข้าป่า”

เนื้อหายอดฮิตเพลงดังกล่าวนั้นไม่ใช่สมมติฐานเล่นๆ เพราะเอาเข้าจริงอาจสะท้อนให้เห็นว่าคนยุคนี้มีความเหนื่อยล้ากันไม่น้อย

บ่อยครั้งที่คนเรารู้สึกถึงความเหนื่อยล้าในหลากหลายแบบ เช่น กระตือรือร้นน้อยลง รู้สึกร่างกายหนักๆล้าๆ

บางที ถ้าหากเราหยุดพักสักนิด ปรับเปลี่ยนอารมณ์หรือบรรยากาศก็อาจจะรู้สึกดีขึ้น ซึ่งนั่นคือเรื่องปกติ

แต่ในขณะที่บางคนอาจวนเวียนกลับไปอยู่ในวงจรความรู้สึกเดิมๆ ไม่หายจากอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย จนส่งผลเสียต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ส่งผลเสียต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน นั่นแสดงว่าสุขภาพเราอาจส่งสัญญาณอะไรบางอย่างแล้ว

สัญญาณของความเหนื่อยล้า

ลองตอบคำถามเหล่านี้ดูว่า หากคุณมีการตอบสนองที่ช้าลงหรือมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ถดถอย สมาธิลดน้อยลงและเคลื่อนไหวช้าลง กระฉับกระเฉงน้อยลง

ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สามารถบ่งบอกว่า ร่างกายคุณกำลังรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ โดยเฉพาะหากเมื่อปล่อยให้เกิดอาการเหนื่อยล้าไปเรื่อยๆ ติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ อาการที่ว่าอาจลุกลามเป็นปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาการตื่นนอนลำบาก ประสิทธิภาพการทำงานลดลงแม้จะไม่มีการออกกำลังหนักหรือดื่มหนัก เป็นต้น

ยิ่งคนยุคนี้ส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตตนเองอยู่ในที่ทำงาน และทุ่มเทให้กับเรื่องงานมากกว่าการคำนึงถึงสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศถือว่ากำลังมีความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจจากกิจวัตรประจำวันที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว

ชาวออฟฟิศส่วนใหญ่จะนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมง หลังขดหลังแข็ง มือค้างอยู่แป้นพิมพ์นานๆ หรือมีกิจกรรมอื่นอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ นานๆ  ไม่ว่าจะเป็น การยืน เดิน รวมทั้งคนที่ยกของหนักเป็นประจำหรือนั่งขับรถหลายๆ ชั่วโมง ยิ่งนานครั้งที่คุณสะสมพฤติกรรมดังกล่าว กำลังส่งเสริมให้ร่างกายเราใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก ผลที่ตามมาขั้นต้นคืออาการเจ็บป่วย หรือปวดเมื่อยร้าวตามหลัง ไหล่ นั่นคือจุดเริ่มต้นของอาการ “ออฟฟิศซินโดรม”

แล้วทีนี้เราควรจะจัดการกับความเหนื่อยล้าอย่างไรดี?

Alinamin_2

รู้จักกลไกการสร้างพลังงานของร่างกาย

ว่ากันว่า  สาเหตุหนึ่งของความเหนื่อยล้านั้น อาจเกิดจากหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นผลมาจากการที่ร่างกายขาดวิตามินบี 1

จากการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ (ประเทศญี่ปุ่น) มีรายงานว่าคนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนกลุ่มวิตามินบีไม่ว่าอายุหรือเพศใดก็ตาม โดยที่วิตามินบีมีส่วนเกี่ยวข้องกับ “ความเหนื่อยล้า” และเป็นสารอาหารรองที่สำคัญที่ช่วยเปลี่ยนสารอาหารหลักสามกลุ่ม (คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน) กลายเป็นพลังงาน

นอกจากนี้ มนุษย์เราเคลื่อนไหวร่างกายของเราและดำรงกิจกรรมในชีวิตโดยการแปลงสารอาหารหลัก 3 กลุ่ม (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) ให้เป็นพลังงานในร่างกาย ในขณะที่กลุ่มวิตามินบี (วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 กรด pantothenic และกรดนิโคตินิก) และวิตามินซีมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้ หากวิตามินเหล่านี้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้การผลิตพลังงานมีประสิทธิภาพน้อยลง การได้รับสารอาหารให้สมดุลจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษาสุขภาพ

ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของเรา จำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อขับเคลื่อนให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อของเราจะเป็นส่วนที่ใช้พลังงานเยอะที่สุดในร่างกาย เพราะต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งพลังงานที่ว่าจะได้จากการย่อยสลายสารอาหารจนเกิดเป็นพลังงานในหน่วยย่อยที่เรียกว่า ATP (Adenosine Triphosphate)   ซึ่งในขบวนการย่อยสลายสารอาหารดังกล่าวจะต้องใช้วิตามินบี 1 เป็นตัวช่วยนั่นเอง

Alinamin_3

วิตามินบี 1 หรือ ไทอามีน (Thiamine) เป็นหนึ่งในวิตามินที่ละลายในน้ำ มีหน้าที่สำคัญในการการเผาผลาญพลังงาน โดยจะเปลี่ยนสารอาหารที่เรารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นแป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน ให้เป็นพลังงาน ATP ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ไปเติมเต็มตามส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อและระบบประสาท ดังนั้น หากเราขาดวิตามินบี 1 จะส่งผลกระทบกับกระบวนการสร้างพลังงาน ATP

กล้ามเนื้อขาดพลังงาน ATP จะส่งผลให้เกิดการบกพร่องในการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ จนเกิดเป็นอาการตึง ปวด เมื่อยกล้ามเนื้อได้ ยิ่งถ้าอยู่ในสภาวะเครียดด้วยแล้ว สมองและระบบประสาทยิ่งมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้น ความต้องการวิตามินบี 1 ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไปด้วย

จะเห็นได้ว่าวิตามินบี 1 มีความสำคัญกับร่างกายมาก แต่! วิตามินบี 1 โดยทั่วไปเป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ที่สำคัญยังเป็นวิตามินที่ไม่คงทน และสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย จึงเกิดการวิจัยและพัฒนาเพื่อสังเคราะห์อนุพันธ์ตัวใหม่ของวิตามินบี 1 ให้มีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น และสามารถผ่านเข้าสู่กล้ามเนื้อและระบบประสาท ส่งผลให้อาการเมื่อยล้าอ่อนเพลียบรรเทาลงได้1

ดังนั้นเพื่อให้เรา “สุขภาพดี” เราจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างสมดุลกับอาหาร

เคล็ดไม่ลับ ลดความเหนื่อยล้า

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น การยืดกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพในการฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้า การยืดกล้ามเนื้อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตโดยการยืดกล้ามเนื้อที่หดตัวช้าๆส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารส่งถึงทุกมุมของกล้ามเนื้อและเร่งการฟื้นตัวของความเมื่อยล้าถ้าคุณไม่ใช้กล้ามเนื้อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะลดลงและคุณจะรู้สึกเหนื่อยง่าย

การออกกำลังกายทำให้เรามีการนอนหลับที่ดี และยังมีผลต่อการบรรเทาความเครียดและอารมณ์ยังสดชื่น

วิตามินกับการออกกำลังกาย

อย่างไรก็ดี แม้การออกกำลังกายจะมีประโยชน์ แต่การออกกำลังกายที่มากเกินไปจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าเช่นกัน เพราะมนุษย์เคลื่อนไหวร่างกายโดยการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต·โปรตีน·ไขมันที่กินเข้าไปจากอาหารเป็นพลังงาน ในเวลาเดียวกันก็มีการใช้วิตามินต่างๆร่วมด้วย เมื่อมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากการออกกำลังกาย ความต้องการวิตามินก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งถ้าวิตามินไม่เพียงพอต่อวงจร TCA จะไม่ดี และส่งผลให้แปลงเป็นพลังงานไม่สามารถทำได้ดีและมีแนวโน้มที่จะรู้สึกเมื่อยล้า

ดังนั้น นอกเหนือจากการออกกำลังกายที่พอเหมาะ บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว การเสริมวิตามินก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าจะลดความเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

ใครบ้างที่ควรรับประทานวิตามินบี 1

เนื่องจากวิตามินบี1มีหน้าที่หลักๆ ในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อและระบบประสาท ดังนั้นคนที่ควรรับประทานวิตามินบี 1 ก็คือกลุ่มคนที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อและระบบประสาทมากนั่นเอง ซึ่งได้แก่คนทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตให้เต็มที่ ทั้งบทบาทที่ทำงาน และชีวิตส่วนตัว และคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้

  1. ผู้ที่มีพฤติกรรมอยู่ในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ นานๆ  ต้องทำงานที่มีการนั่ง ยืน  เดิน หรือค้างอยู่ในท่าเดิมนานๆ จะมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก มีอาการปวดเมื่อยร้าวตามหลัง ไหล่ ได้ เช่น พนักงานออฟฟิศ คนที่ยกของหนักเป็นประจำหรือนั่งขับรถเป็นเวลานาน
  2. ผู้ที่ใช้สมองอย่างหนักและมีความเครียดสะสม เช่น คนวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษาช่วงใกล้สอบ
  3. ผู้ที่มาอาการอ่อนเพลีย นอนน้อย ทำงานหนัก นอนดึก
  4. ผู้ที่มีอาการชา ตามปลายมือปลายเท้า เช่นคนที่ใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดเยอะ คนสูงอายุ คนเป็นโรคเบาหวาน
  5. ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ใช้สายตาเยอะ เช่น นั่งจ้องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
  6. ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น นักกีฬา เนื่องจากมีการใช้พลังงานกล้ามเนื้อเยอะ
  7. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงดังกล่าวนี้เป็นสภาวะที่ร่างกายของแม่ต้องการใช้พลังงานสูงมาก จึงมีความต้องการมากขึ้นด้วย ดังนั้นหากรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 เท่าเดิมก็จะมีโอกาสเกิดการขาดวิตามินบี 1 ได้  (ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยา)
  8. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสขาดวิตามินบี 1 เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1 ที่บริเวณลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังเชื่อว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักรับประทานอาหารโดยภาพรวมลดลง ทำให้ได้รับวิตามินบี 1 จากอาหารน้อยลงตามไปด้วย
  9.  ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีสารต้านไทอามีน (anti-thiamine factors) เป็นสารที่สามารถทำลายวิตามินบี 1 ได้โดยตรง ตัวอย่างอาหารที่มีสารต้านไทอามีนอยู่มาก ได้แก่ ปลาดิบ  หอยดิบ หมาก และอาหารที่ผ่านการหมักแล้วมีการเจือปนของ mycotoxin ต่างๆ (mycotoxin คือสารพิษจากเชื้อรา)
  10. ผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ไม่รับประทานผัก หรือทานแต่มังสวิรัติหรือเจ ก็จะพลาดโอกาสได้รับวิตามินบี 1 ที่พบเฉพาะในเนื้อสัตว์เท่านั้น

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินบี 1 ได้ที่ www.วิตามินบี.net

ข้อมูลอ้างอิง

  • Clinical effects of VB-11 tablets on asthenopia, stiffness in shoulders, lumbago, etc. ตีพิมพ์ใน Sinryo to Shinyaku (Medical Consultation & New Remedies)  (Vol 33, No. 1) Separate Volume Issued on January 28, 1996 (January issue)
  • Evaluation of Thiamin Derivatives: Human Bioavailability, Uptaked by Human Blood Cells, and Conversion to Thiamin by Rat Liver Homogenate

[บทความนี้เป็น Advertorial]


  • 1.6K
  •  
  •  
  •  
  •