หรือตลาดทำแอปพลิเคชั่นบนมือถือจะตายไปแล้ว? มาดูวิธีที่ทำให้แอปฯของคุณมีคนใช้เยอะๆในปี 2017

  • 6
  •  
  •  
  •  
  •  

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา แอปพลิเคชันมือถือเหมือนจะส่งผมต่อวิธีที่ผู้บริโภคโต้ตอบกับแบรนด์ ในปี 2016 App Store ของ Apple มีจำนวนแอปฯเพิ่มขึ้นเกือบ 2,500 แอปฯในแต่ละวัน และยอดโหลดแอปฯใน Google Play ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในปี 2020

ขณะเดียวกัน ยอดจำนวนการเปิดเว็บไซต์เหมือนจะมีความสำคัญน้อยลง สื่อดิจิทัลในอเมริกาบนมือถือก็เพิ่มขึ้นไปที่ร้อยละ 51 เทียบกัยเดสก์ท็อปร้อยละ 42

 

แต่การที่ตลาดแอปฯเติบโตขนาดนี้จะเป็นเหยื่อของความสำเร็จในตัวมันเองหรือเปล่า? เพราะในพื้นที่บนมือถือก็ไม่ใช่ไม่มีจำจัด มีแต่แอปฯที่แต่ละคนชอบมากที่สุดเท่านั้นถึงจะอยู่บนมือถือได้ ในตลาดกำลังพัฒนา พื้นที่และข้อมูลนั้นมีจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นถ้าลูกค้าทุกคนจะโลหดและเก็บแอปฯของคุณเอาไว้มันก็ไม่น่าเป็นไปได้ ถ้าแอปฯของคุณมันไม่ได้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีมากขนาดนั้น

 

นี่คือสถิติน่ากลัวๆที่อยากให้คุณรู้เอาไว้

1. จำนวนแอปฯใน App Store ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2017 วันละ 500 แอปฯตั้งแต่ต้นปี

2. ในอเมริกา ครึ่งหนึ่งของคนใช้สมาร์ทโฟนไม่โหลดแอปฯอีกแล้ว

3. ถ้าคุณทำให้ลูกค้าของคุณยอมดาวน์โหลดแอปฯของคุณได้ พอหนึ่งเดือนผ่านไป มีแค่คนร้อยละ 36 ที่เก็บแอปฯของคุณไว้อยู่ และพอหนึ่งปีผ่านไป มีคนแค่ร้อยละ 11 เท่านั้นที่เก็บแอปฯของคุณไว้

4. และที่แย่กว่านั้น แอปฯโดยเฉลี่ยเสียผู้ใช้งานบนมือถือในแต่ละวันถึงร้อยละ 77 ภายในแค่ 3 วัน และอีกร้อยละ 95 ของแอปฯทั้งหมดก็ไม่ได้มีการใช้งานบ่อยหลังจาก 90 วันผ่านไป

pexels-photo-50614-796x531

 

Engagement จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญ

งั้นตกลง แอปฯมันตายไปแล้วจริงๆหรือ? คำตอบคือไม่ใช่ แต่ถ้าคุณกำลังสร้างธุรกิจดิจิทัลที่คิดแต่จะสร้างแอปฯโดยที่ละเลยช่องทางอื่นๆล่ะก็ บอกเลยว่าคิดแบบนั้อันตรายสุดๆ

บริษัทและแบรนด์ต้องจัดการเว็บไซต์และแอปฯไปให้กลมกลืนกัน มากกว่าจะยัดเวฌบไซต์ลงในแอปฯ การโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเป็นตัวชี้เป็นชี้ตาย ผู้ใช้งานต้องโต้ตอบกับเว็บไซต์และแอปฯได้แล้วแต่ว่าช่องทางไหนที่เข้าได้กับตัวผู้ใช้งานได้ดี จะเป็นเว็บไซต๋อย่างเดียว แอปฯอย่างเดียว หรือใช้งานทั้งสองอย่างผสมๆกันไป

ฟังดูย้อนแย้งนะ แต่การโฟกัสไปที่ระดับการโต้ตอบทั้งหมด รวมถึงประสบการณ์การใช้เว็บไซต์มากกว่าบนแอปฯ จะทำให้ระดับการโต้ตอบที่ว่านั้นเพิ่มขึ้นในทั้งแอปฯทั้งเว็บไซต์ ตราบได้มีมีคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและยังเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายอยู่ เว็บไซต์ที่ดีก็ทำให้เพิ่มยอดการโหลดแอปฯและการใช้แอปฯได้เหมือนกัน

 

Smart-Use-of-Mobile-App-Development-for-Improving-Our-Lives-in-2017

 

 

ความท้าทายอย่างแรกที่ทุกแบรนด์ต้องเจอเวลาจะเพิ่มยอดการใช้แอปฯก็คือการทำให้กลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมายรู้ให้ได้ว่าแบรนด์มีแอปฯอยู่และให้ผู้ใช้งานเป้าหมายได้ดาวน์โหลด แบรนด์ต้องแย่งชิงความน่าสนใจของแอปฯ แข่งกับแอปฯอีกนับพันใน App Store ให้ได้ด้วย

ซึ่งร้อยละ 80 ของแอปฯในตลาดแอปฯนั้นกลายเป็น “ซอมบี้” ไปแล้ว คือแอปฯพวกนี้มันไม่ได้ติดอยู่ในอันดับต้นๆของหวมดไหนๆในตลาดแอปฯไหนๆเลยในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาในปีๆหนึ่ง ผู้ใช้งานเป้าหมายก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นแอปฯพวกนี้อีก

การทำ App Store Optimization ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ความจริงคือมันไม่ได้ทรงพลังเหมือนการทำเว็บไซต์และ SEO ซึ่งเป็นกลยุทธ์เดิมๆ การทำ SEO ดึงทราฟฟิคเข้าเว็บไซต์จะให้ผลมากกว่า คนที่มาดูเว็บไซต์ก็พร้อมที่จะสนใจสินค้าและบริการของคุณ และถ้าเว็บไซต์ของคุณให้ประสบการณ์การใช้งานเยี่ยมและมีแอปฯที่น่าสนใจ คุณก็เปลี่ยนคนพวกนั้นให้เป็นผู้ใช้งานทั้งแอปฯและเว็บไซต์ได้ตามที่ผู้ใช้งานจะชอบ

 

apps-to-aid

 

 

สำหรับใครที่ชอบเว็บไซต์มากกว่า ถ้าทำเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ นอกจากคนจะใช้เว็บไซต์ของคุณน้อยลงแล้ว คนจะใช้แอปฯของคุณน้อยลงด้วย แต่ถ้าเว็บให้ชวนโต้ตอบ คนก็จะใช้แอปฯเยอะขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าแค่แปะแบนเบนร์สวยๆบนหัวเว็บไซต์แล้วหวังให้คนมาใช้งานเยอะๆ ไม่ใช่ เลย คุณต้องให้คนที่มาใช้ทั้งแอปฯและเว็บไซต์ แล้วมีประสบการณ์ที่ดีไปพร้อมกันๆด้วย

Pinterest เข้าใจแนวคิดนี้ดี Pinterest เลยทำไดอะล็อกบาสนทนาทั้งบนเว็บไซต์และแอปฯเพื่อให้คนใช้งานแล้วติดใจทั้งสองอย่าง คนใช้ Pinterest บนเว็บมากขึ้ร ก็เพิ่มโอกาสที่คนจะโหลดและใช้แอปด้วย

สรุปคือก่อนที่จะพัฒนาแอปฯ ให้ทำเว็บไซต์ให้น่าใช้ทั้งบนเดสก์ท็อปและบนมือถือ พอมีคนใช้ก็รู้สึกใช้ง่าย สะดวก คนถึงจะมาโหลดใช้แอปฯเอง

 

แหล่งที่มา

https://thenextweb.com/contributors/2017/05/28/2017-beginning-end-app-economy/#.tnw_z1dSWHKP


  • 6
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th