[Survey] เงินเดือนล้นบัญชีอาจไม่ทำให้พนักงานมีความสุข-ความเท่าเทียมและโอกาสก้าวหน้าต่างหากล่ะ!

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

70ksuccessMPP

CareerBuilder ทำการศึกษาว่าเงินค่าจ้างมีผลทำให้ลูกจ้างรู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จในชีวิตหรือไม่? คำตอบคือก็มีผลบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมดหรอก และแม้ว่าลูกจ้างกว่า 2 ใน 3 ของพนักงานจะยอมรับว่ายังไม่พอใจกับอัตราค่าจ้างในปัจจุบันแต่พวกเขาก็ยังคิดว่าชีวิตก็เป็นสุขได้แม้ไม่มีเงินก้อนใหญ่เข้าบัญชีทุกเดือน

จากการสำรวจความเห็นของพนักงานกว่า 3,372 คนและฝ่ายบุคคลที่มีหน้าที่จ้างพนักงานกว่า 2,188 คนพบว่า กว่าครึ่งของผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกประสบความสำเร็จแม้ว่าจะทำรายได้ต่ำกว่า 7 หมื่นดอลล่าร์ต่อเดือน (2.22 ล้านบาท) ขณะที่ 23% ของคนที่ทำรายได้อยู่ระหว่าง 7หมื่น -1แสนดอลล่าร์ต่อเดือน รู้สึกว่าเงินจำนวนนี้เพียงพอแล้วที่จะทำให้พวกเขารู้สึกประสบความสำเร็จในชีวิต

Rosemary Haefner ประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคลจาก CareerBuilder ระบุว่า ในหลายกรณี ความรู้สึกประสบความสำเร็จเกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่แต่ล่ะคนทำหรือประเภทงานที่ปัจจุบันต้องรับมืออยู่ โดยพวกเขาอาจไม่ได้ดูที่จำนวนเงินแต่ดูว่าระดับรายได้ของเขาอยู่ที่ตรงไหนเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานและมองว่างานที่ทำอยู่มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งหรือเจริญก้าวหน้าไปมากกว่านี้ได้ไหม

สำหรับพนักงานเงินเดือนที่ไม่เคยเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่ม จงลองซะ! เพราะกว่า 66% ของพนักงานที่ขอเงินเดือนเพิ่มมักจะประสบความสำเร็จแต่น่าเสียดายว่ากว่าครึ่งของพนักงานไม่เคยเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่มเลย

ด้านระดับรายได้ที่คนงานพึงพอใจ การศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่จะพอใจเงินเดือนที่ 7หมื่น -1แสนดอลล่าร์ต่อปีและคิดว่านี่คือเงินเดือนที่พวกเขาควรได้รับแล้ว

อย่างไรก็ตาม หัวข้อที่บริษัทต่างๆ กำลังถกเถียงกันจนหน้าดำหน้าแดงคือการเปิดเผยเงินเดือนของพนักงานทุกคนให้เป็นที่ทราบทั่วกัน ที่น่าสนใจคือนายจ้างส่วนใหญ่ไม่ได้เปิดเผยอัตราค่าจ้างของลูกจ้างทุกคนโดยให้เหตุผลว่าเป็นนโยบาย หากแต่ทางด้านพนักงาน กว่าครึ่งของพนักงานเชียร์ให้เปิดเผยเงินเดือน 24% บอกว่ามันช่วยทำให้มั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับความเป็นธรรม ขณะที่ 23% บอกว่ามันจะช่วยปัดเป่าความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม บางคนบอกว่าการเปิดเผยเงินเดือนอาจทำให้เกิดความอิจฉาและนำไปสู่ปัญหาด้านศีลธรรมในระยะยาว รวมถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัว นำไปสู่การฟ้องร้องเพื่อขอความเท่าเทียม

Source


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง