ถ้าคุณมีสินค้าตัวหนึ่ง และต้องตอบโจทย์คนทั่วโลก 130 ล้านคนในกว่า 190 ประเทศ จะทำอย่างไร มาฟังข้อคิดจาก Andrew Law ที่เป็น Product Design Director จาก Netflix กัน
“Empathy” สำคัญที่สุด
อย่าลืมว่า Netflix มีคนดูทะลุ 130 ล้านคนในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก ความต้องการในละที่ก็หลากลาย ฉะนั้นไม่มีดีไซน์ไหนที่เป็นสูตรสำเร็จตายตัวหรอก มันไม่เคยจะใช้ได้ผลเลย
“เวลาคุณอยู่ที่ Bay Area คุณจะดีไชน์ User Interface ให้กับคนที่อยู่มุมไปหรือสิงคโปร์ได้อย่างไร? แล้วเราจะสังเคราะห์ เอาสิ่งที่คุณเรียนรู้มาทั้งหมดมาแชร์และทำให้คนในทีมได้เข้าใจความรู้สึกของคนดูคอนเทนต์ได้อย่างไร? นั่นเป็นเรื่องท้าทายที่สุด ถ้าทีมของเราอยากจะประสบความสำเร็จ”
ฉะนั้นเวลาดีไซน์ ต้องถามอยู่เสมอว่าทำไมคนถึงใช้งานแบบนั้น แล้วเราจะทำให้พฤติกรรมแบบนั้นมันเกิดขึ้นอีกได้อย่างไร เวลาเราเข้าใจคนใช้งานจริงๆ คุณจะได้รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขาจริงๆเหมือนกับว่าเราได้แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน เราแค่ต้องตระหนักรู้จักสังเกตให้เป็น
คุณจะต้องทำพลาดไปเรื่อยๆ
โปรดักส์ทุกอย่างที่สะท้อนความเป็นจริงของโลก แต่ต้องดูว่าสิ่งที่เราคิดฝันอยากจะทำให้ได้มันไม่เคยเป็นจริงเลย นั่นหมายความว่า เราต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญให้เป็น ดูว่าโอกาสที่เราเห็นนั้นมันใหญ่และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เพราะเรามีทรัพยากรจำกัด ต้องนึกถึงต้นทุนเสียโอกาสด้วย
เวลาคุณอยู่ที่ Bay Area คุณจะดีไชน์ User Interface ให้กับคนที่อยู่มุมไปหรือสิงคโปร์ได้อย่างไร? แล้วเราจะสังเคราะห์ เอาสิ่งที่คุณเรียนรู้มาทั้งหมดมาแชร์และทำให้คนในทีมได้เข้าใจความรู้สึกของคนดูคอนเทนต์ได้อย่างไร? นั่นเป็นเรื่องท้าทายที่สุด ถ้าทีมของเราอยากจะประสบความสำเร็จ
“ฟีเจอร์โปรดักส์เป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับเรื่องนี้ ต่อให้โอกาสที่คนที่อยู่นอกอเมริกาจะดาวน์โหลด Netflix เยอะแค่ไหน แต่นั่นมีความหมายสำหรับคนในอเมริกาหรือเปล่า? เพราะในอเมริกา การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเป็นอุปสรรคเวลานั่งเครื่องบิน หรือเดินทางยาวๆ แต่ในอินเดีย คนติดบนจราจรชั่วโมงครึ่งทุกวัน หมายความว่าเราความให้ความสำคัญกับฟีเจอร์การดาวน์โหลดในอินเดียมากกว่าในอเมริกา”
Andrew ยังได้พูดถึงการทำ A/B Test ด้วยว่ามันคือการเอาไอเดียแย่ๆออกไป และโฟกัสไปที่โปรดักส์ที่ธุรกิจสามารถเดิมพันกับมันได้ ไม่ใช่แค่เปลี่ยนสีปุ่มเปลี่ยนไอคอน แต่ต้องคิดแบบวิทยาศาสตร์เพื่อตัดสินใจและวัดผล
“ขอให้นึกถึงล่วงหน้าก่อนคุณลงมือทำงานด้วยนะว่าหน้าตาความสำเร็จเวลางานเสร็จมันเป็นอย่างไร? และนึกเผื่อด้วยว่าถ้ามันไม่เวิร์ค มันไม่เวิร์คอย่างไร? เพราะความล้มเหลว สุดท้ายก็เพียงแค่จุดเริ่มต้นแค่นั้นเอง”
รู้จักสังเกตและให้เหตุผล
Andrew บอกว่าโชคดีที่การทำเรื่องผิดพลาดในอุตสาหกรรมของสตรีมมิ่งคอนเทนต์มันไม่ได้คอขาดบาดตาย การเลือกรูปแบบฟอนต์ (Typography) ก็ไม่ได้ทำให้ใครตกอยู่ในอันตรายขนาดนั้น แต่เราต้องพร้อมที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ และนั่นอาจจะทำให้เราและคนในทีมต้องอึดอัดบ้าง ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม ก็ต้องกล้าพนัน กล้าคิดสวนข้อสมมติ เพราะความสำเร็จของธุรกิจก็ขึ้นอยู่กับพนันที่ว่า
“ผมจำได้ดีตอนที่ออกแบบแอปฯโดยไม่พยายาที่จะเข้าใจคนใช้เลย เวลาที่ลูกค้ามีฟีดแบคตอบรับไม่ดี ผมรู้เลยว่าผมไมได้ดีไซด์มันให้มันใช้งานได้ แต่ผมแค่ดีไซน์ให้มันดูสวยอย่างเดียว”
Andrew ยังเล่าว่า Dashboard ของแอปฯที่เขาออกแบบมันดูหรูหราน่าใช้ แต่มันไม่มีประโยชน์เลย ปุ่มก็เล็ก เวลากดใช้ก็กดยาก โหมดการใช้งานต่างๆก็ไม่ได้เพิ่มประสบการณ์ในการใช้งาน
“หลังจากที่ผมเข้าใจปัญหาแล้ว ผมกลับไปดีไซน์งานใหม่หมดเลย สำหรับผม ดีไซด์ที่ดีมันเริ่มจากการรู้จักสังเกตและเข้าใจปัญหา แล้วสังเคราะห์สิ่งที่เราเข้าใจมาใช้ทำงาน”
อย่าลืมว่าเราไม่ได้แค่ออกแบบแค่ตัวโปรดักส์แต่ตัวธุรกิจด้วย
ฉะนั้นตัวชี้วัดเชิงพาณิชย์ก็สำคัญด Andrew ย้ำว่า ดีไซน์เนอร์ต้องไม่ใช่แค่ศิลปิน ที่ Netflix เรามีพื้นที่ให้คนได้ทำคอนเทนต์ที่มีความหมายไม่ใช่แค่คนดูแต่กับธุรกิจ พนักงานทุกคนจะมีโอกาสได้หาโอกาสหาทางที่ทำให้ธุรกิจเติบโต ได้สำรวจทางแก้ปัญหาและมาพร้อมกับไอเดีย
“ถ้าไปดูบริษัทอย่าง Apple กับ AirBnB คุณจะรู้ว่าบริษัทพวกนี้ขับเคลื่อนธุรกิจและเป็นผู้นำความสำเร็จด้วยดีไซน์ ดีไซน์กลายเป็นเรื่องจำเป็นพอๆกับวิศวกรรม มันไม่ใช่เรื่องที่มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะดีไซน์ทำให้คนอยากใช้โปรดักส์และรักมัน”
ส่วนการวิจัยเก็บข้อมูลตลาด Andrew เล่าให้ฟังว่าทีมมีการทำหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปสังเกตพฤติกรรมของคนจริงๆว่าเวลาดูคอนเทนต์บันเทิง ดูผ่านช่องทางไหนบ้าง ดูตอนไหน สัมภาษณ์คุยคนตามถนนก็มี เพื่อเก็บข้อมูลแบบหยาบๆ มีการบันทึกวีดีโอเหมือนทำไดอารี มีการทำ protoype แล้วคิดต่อว่าเราจะส่งคอนเทนต์ที่ใช่ ให้กับคนที่ใช่ ผ่านช่องทางที่ใช่ ในเวลาที่ใช่ได้อย่างไร
“Frame of Reference is Powerful. It can lead to the meaningful innovation”
แหล่งที่มา
- More of an Art the a Science โดย Colin Kenedy วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2018
- บรรยาย How Netflix has the better global product through A/B Testing, Research and Empathy โดย Andrew Law ที่ University of Auckland Business School วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2018