Podcast – MarTech – Consumer Insights EP.7 “Online Shopper Insights” เจาะลึกนักช้อปออนไลน์ 4 ประเภท

  • 2.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

ทุกวันนี้ Online” กลายเป็นช่องทางการซื้อขายสำคัญของผู้บริโภคไทยไปแล้ว ยิ่งเป็นยุค Mobile First ที่ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่บนสมาร์ทโฟน ก็ยิ่งทำให้คนไทยเข้าถึงการช้อปได้ง่ายขึ้น

MarketingOops! Podcast MarTech ตอนที่ 7 เล่า Insights พฤติกรรมนักช้อปในประเทศไทย ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท เพื่อพาผู้ฟังไปทำความรู้จัก Mobile Shopper” แต่ละประเภท และแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมการช้อปอย่างไร ?!? เพราะเมื่อเราเข้าใจนักช้อปกลุ่มเป้าหมายของเรามากขึ้น ย่อมทำให้นักการตลาด เจ้าของแบรนด์ สามารถสื่อสารได้อย่างตรงใจ และกลายมาเป็นลูกค้าของเราได้ในที่สุด

Mobile Shopper” แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

กลุ่มที่ 1 The Invisible Shopper

“นักช้อปล่องหน” มาจากคนที่ไม่อยากเปิดเผยตัวตน เช่น ผู้ชายที่ซื้อสินค้าสำหรับผู้ใหญ่ 18+ และยังรวมถึงสินค้าทั่วไป ตัวอย่างเช่นผู้ชายอายุ 40 ปี อยากฝึกเล่นกีตาร์ จึงหาซื้ออุปกรณ์ แต่เขาตัดสินใจไม่ไปซื้อที่ร้าน เพราะรู้สึกว่าตนเองเป็นมือใหม่ จึงไม่มั่นใจที่จะพูดคุยกับคนในร้านที่มีแต่คนเล่นดนตรีเก่ง เขาเลยซื้อผ่านออนไลน์

กลุ่มที่ 2 Informative Seeker

“กลุ่มที่ชอบหาข้อมูลเยอะๆ ก่อนซื้อ” นักช้อปกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง โดยพฤติกรรมของนักช้อปที่เป็น Informative Seeker” คือ หาข้อมูลในปริมาณที่เยอะมาก และละเอียด เช็คตั้งแต่สถานที่ผลิต การใช้งาน ใบรับประกัน เปรียบเทียบราคาสินค้า ผู้จัดส่ง เพราะมีผลต่อของที่จะมาถึงปลายทาง

โดยเฉพาะข้อมูล “คุณภาพ” กับ “ราคา” เนื่องจากโดยพฤติกรรมพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูก รวมถึงสมาชิกในครอบครัวใช้ หรือบริโภคมากเป็นพิเศษ ซึ่งนักช้อป “Informative Seeker” ไม่จำเป็นต้องเป็น “User” หรือ “ผู้ใช้” สินค้านั้นๆ ก็ได้ หรือที่เรียกว่าคนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ

ดังนั้น นักการตลาด หรือเจ้าของแบรนด์ ไม่ควรมองที่ “User” อย่างเดียว แต่ควรมองรวมไปถึง “Buyer” ด้วย

กลุ่มที่ 3 Self Spoiler

“กลุ่มที่ซื้อตามใจชอบตัวเอง อยากซื้ออะไรก็ซื้อ” ปัจจัยหลักในการซื้อของนักช้อปออนไลน์กลุ่มนี้ คือ “ความเครียด” และเขามองว่าการช้อปปิ้ง คือ การบำบัดความเครียดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความเครียดสามารถถูกแก้ปัญหาได้ด้วยการนำเสนอ Experience ใหม่ๆ

สินค้าที่ตอบโจทย์การบรรเทาความเครียด หรือซื้อตามใจตัวเองของนักช้อปออนไลน์กลุ่มนี้ เช่น สินค้าที่หลากหลาย สินค้าใหม่ อย่างเสื้อผ้าคอลเลคชั่นใหม่, Gadget, อาหารรสชาติใหม่

กลุ่มที่ 4 Social Equality

“กลุ่มที่เริ่มซื้อของออนไลน์ เพราะอยากตามคนอื่นให้ทัน” เมื่อทุกวันนี้การซื้อของออนไลน์กลายเป็นวิชาพื้นฐานที่คนทุกคนควรจะเป็น ในมุมมองทั้งคนกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะคนสูงวัย หรือวัยเกษียณ เขารู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถซื้อของออนไลน์ได้ เพราะ Insights คนกลุ่มนี้มองว่าเป็น Skill ที่ทำให้ตัวเขาเองยังทันยุคทันสมัย

ขณะเดียวกันการช้อปปิ้งออนไลน์ ยังเป็นทักษะการเข้าสังคมอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะการซื้อของออนไลน์ เสมือนเป็นการบอกว่า เรามีความเท่าเทียมกัน เนื่องจากทำให้รู้สึกถึงความเท่าเทียม และเท่าทัน

จาก Insights นักช้อปออนไลน์แล้ว มาดูกันว่าเจ้าของแบรนด์ – นักการตลาดจะสื่อสารกับนักช้อป 4 กลุ่มนี้อย่างไร ?

กลุ่มThe Invisible Shopperผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหาวิธีแก้ปัญหา ดังนั้นนักการตลาดควร Provide วิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนตรงจุด ไม่ใช่แค่ข้อมูล และปกป้องความเป็นส่วนตัวของนักช้อปออนไลน์กลุ่มนี้ได้ จะทำให้คนกลุ่มนี้รักแบรนด์

กลุ่ม “Informative Seeker แบรนด์ไม่ใช่แค่นำเสนอข้อมูล แต่แบรนด์ต้องบอกด้วยว่าข้อมูลนั้นๆ จะทำให้ผู้ใช้สินค้านั้นๆ มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างไร

กลุ่ม “Self Spoiler การตอบโจทย์กลุ่มนี้มี 2 เรื่องคือ 1. แบรนด์จะช่วยแก้ปัญหาแก่ผู้บริโภคได้เร็วที่สุดอย่างไร เช่น ช่วยให้ผู้บริโภคหาสินค้าง่ายขึ้น จ่ายเงินสะดวก และการส่งของที่มีประสิทธิภาพ และ 2. Surprise เพื่อช่วยทำให้ผู้บริโภคคลายเครียดจากสิ่งที่เขาเจอมา

กลุ่ม “Social Equalityแมสเสจที่สื่อสารกับนักช้อปกลุ่มนี้ ต้องพูดถึงเรื่องสังคม เพราะคนกลุ่มนี้ต้องการความเท่าเทียม เช่น แมสเสจที่สื่อสารถึงความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

 

สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่


  • 2.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
Neil Pan
ณีว มาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย นักวางแผนกลยุทธการสื่อสาร นักเดินทาง มีความหลงใหลในศิลปะการเก็บภาพโมเม้นท์ผ่านมือถือพอๆ กับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค, แพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการ แผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย นักศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค นักการตลาด และผู้ชื่นชอบการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ