มายด์แชร์ชี้มัลติสกรีนมาแรง-เน้นการตลาดแบบรับผิดชอบต่อสังคม

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

 

image[2]

มายด์แชร์ เอเจนซีเครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยถึงโอกาสในการสร้างแบรนด์ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว เน้นการใช้กลยุทธ์ มัลติสกรีน  (Multi-screen)  เพื่อตอบสนองความคาดหวังและพฤติกรรมการรับชมพร้อมกันหลายๆ สื่อในเวลาเดียวกันของผู้บริโภค โดยเน้นให้ความสำคัญกับการสร้าง Owned และ Earned มีเดีย ควบคู่กับกลยุทธ์ Paid มีเดีย ย้ำแบรนด์ควรทำการตลาดให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองเป็นคนดีทั้งร่างกายและจิตใจ

คุณปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ประเทศไทย  กล่าวว่า ตนเชื่อมั่นว่าช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นโอกาสและเป็นความท้าทายของแบรนด์ในการขับเคลื่อนธุรกิจไปในทางบวก โดยแนวคิดอแด๊ปทีฟ (Adaptive) หรือความสามารถในการปรับตัวของแบรนด์ต่อโอกาสทางการตลาด  เพราะการเข้ามาของสื่อใหม่และเทคโนโลยีทางการตลาดใหม่ๆ เช่น วีถีชีวิตบนสมาร์ทโฟนและการเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคดิจิตอลทีวีจะนำไปสู่ยุคของการตลาดแบบมัลติสกรีน (Multi-Screen) และถึงเวลาแล้วที่นักการตลาดจะพลิกมุมมองการใช้สื่อแบบ Paid มีเดีย ให้สามารถที่จะต่อยอด Owned มีเดีย ของแบรนด์ และการสร้าง Earned มีเดียต่อไป

Linda Pathamawann Sathaporn

มายด์แชร์ยังได้ให้มุมมองต่อการตลาดสำหรับไตรมาสที่ 2-3 ดังต่อไปนี้

1. ภาพรวมอุลสาหกรรมโฆษณาในไตรมาสที่หนึ่ง โตประมาณ 1.8% (รวมเคเบิ้ลและแซทเทิ้ลไลท์) คาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณาจะโตรวม  4-6% ในสิ้นปีนี้

2. แพลตฟอร์มที่มีบทบาทเด่นชัดในปีนี้คือ มือถือสมารท์โฟน และทีวี (รวมถึงฟรีทีวี เคเบิ้ล แซตเทิ้ลไลท์และดิจิตอลทีวี)

3. ระบบดิจิตอลทีวีและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคทำให้ชีวิตเข้าสู่ยุคของมัลติสกรีนชัดเจนขึ้น โดยคาดว่าดิจิตอลทีวีน่าจะโตราว 10% เมื่อเทียบสัดส่วนการับชมทีวีทั้งหมด ทั้งนี้ แบรนด์ควรวัดคุณภาพของรายการต่างๆ โดยเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุนกับคุณภาพของรายการ วิธีการวัดคุณภาพของรายการก็ไม่ควรวัดเพียงการสร้าง Awareness แต่ควรดูว่า Centent เหล่าสร้าง engagement ที่จะนำผู้บริโภคเข้าไปสู่ Owned และ Earned media ได้หรือไม่

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคในปีนี้ คือ

1. CONTENT IS SUPERKING  

การเข้าถึงดิจิตอลทีวี จะทำให้ผู้บริโภคเลือกเนื้อหาที่ตนเองสนใจตามเวลาที่ต้องการ ดังนั้นการผลิตเนื้อหารายการที่ดีและมีประสิทธิภาพในช่องทางเดิมและช่องทางใหม่ๆ จะทวีความสำคัญมากขึ้นโดยธรรมชาติ

mindshare-behavior-5

2. RIGHT FOR SPEED

ไลฟสไตล์ในการใช้สมาร์ทโฟน ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความอดทนในการรอที่จะบริโภคเนื้อหาที่ต้องใช้เวลาในการเข้าถึงและต้องใช้เวลาในการรับรู้ข่าวสารนานๆ  ดังนั้นความท้าทายของแบรนด์คือจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ของแบรนด์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ในเวลาที่ตรงที่สุด เพื่อดึงความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

mindshare-behavior-4

 3. VISUAL CRAVING 

ผู้บริโภคมีความต้องการรับข้อมูลข่าวสารของในลักษณะที่เป็น ภาพ วีดีโอ สติ๊กเกอร์ หรือ อินโฟกราฟฟิก แบรนด์จึงต้องปรับกระบวนการสื่อสารโดยเปลี่ยนข้อมูลเข้าใจยาก เช่น ผลทดลองทางการแพทย์ ให้เป็นสื่อรูปภาพที่สามารถเสพได้ง่าย

Untitled

4. SYMBOLIC POWER 

ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะแสดงความเป็นปัจเจกชน (individual) ของตัวเองผ่านทางสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น โลโก้ สี รูปโปรไฟล์ เป็นต้น หากแบรนด์ไหนสามารถเข้าถึงความต้องการลึกๆของกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ได้และสามารถสร้างสัญลักษณ์ที่ทำให้คนกลุ่มนี้พึงพอใจ ก็จะได้เปรียบในการสื่อสาร (กรณีศึกษา สติกเกอร์ “กำนันสุเทพ” บน Line)

mindshare-behavior-3

 5. BETTER ME

แม้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายในทุกทาง แต่ลึกๆ ผู้บริโภคกลับยังรู้สึกว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีมากเกินไปเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้น แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จคือแบรนด์ที่สามารถถอดความรู้สึก “ผิด” จากการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคได้ ด้วยการพัฒนาความคิดและร่างกายของผู้บริโภคให้ดีขึ้น (เช่น กดคลิกไลค์แล้วนำเงินไปทำบุญ เป็นต้น)

mindshare-behavior-2

เกี่ยวกับมายด์แชร์

มายด์แชร์เป็นเอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเครือ WPP Network มีรายได้กว่า 8,000 ล้านบาท และมีการเจริญเติบโตถึง 15% ในปี 2550 บริษัทฯได้รับการจัดอันอับให้เป็นที่ 1 โดย RECMA ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ติดต่อกัน และได้รับการยกย่องเป็น Media Magazine Agency ประจำปีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันซึ่งไม่มีบริษัทใดเคยได้รับ

สินค้าและบริการ: การให้บริการวางแผนและซื้อสื่อ บริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบวงจร, ให้บริการครบวงจรในการจัดกิจกรรมทางการตลาดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และการสปอนเซอร์กิจกรรมการตลาด ร่วมถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นแบรนด์ ให้บริการครบวงจรด้านการทำการตลาดดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต ให้บริการคำปรึกษาด้านการลงทุนในสื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

บุคลากร : Mindshare มีพนักงานรวม 120 คน และมีหน่วยงานสนับสนุนอีกจำนวน 65 คนจาก GroupM

เกี่ยวกับกรุ๊ปเอ็ม

กรุ๊ปเอ็ม เป็นเครือข่ายกลุ่มบริษัททางด้านการปฏิบัติการจัดการด้านการลงทุนด้านสื่อชั้นนำของโลก ซึ่ง กรุ๊ปเอ็ม ถือเป็นบริษัทแม่ของตัวแทนสื่อของกลุ่ม WPP รวมทั้ง แมกซัส (Maxus) มีเดียคอม (Mediacom) มีเดียเอจ : ซีไอเอ (Mediaedge : cia) และมายด์แชร์ (MindShare) โดยเป้าหมายหลักของ กรุ๊ปเอ็ม คือ การมุ่งเน้นให้ตัวแทนทางสื่อและการสื่อสารของกลุ่ม WPP มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะที่เป็นตัวแทนของลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงานของกรุ๊ปเอ็ม และทางบริษัทมีการดำเนินงานโดยปฏิบัติการเสมือนเป็นผู้ดูแล และผู้จัดการร่วม ในการจัดกิจกรรมที่เป็นการเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางการค้า การสร้างข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสาร งานกีฬา เทคโนโลยี การเงิน การพัฒนาแบรนด์สินค้า และกิจกรรมที่มีความสำคัญทางด้านธุรกิจ ตัวแทนของกรุ๊ปเอ็มนั้นล้วนเป็นบุคลที่มีการปฏิบัติงานอยู่ในสายงานที่ได้รับการยอมรับ และอยู่ในตำแหน่งแนวหน้าของตลาดทั้งสิ้น 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •