เมื่อวันที่ 26 มีนาคม Mindshare เอเจนซีเครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารเผยผลวิจัย “Growing up as Digital Native” อ้างอิงแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง 1. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และเฝ้าสังเกตพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย 16 คน วัย 9-24 ปี 2. ผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ได้จากฐานข้อมูลของ MindShare ได้แก่ Mindshare 3D, Mindreader และ Consumer Vibe
วัตถุประสงค์การทำวิจัยคือ มุ่งสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เนตและผลกระทบที่กลุ่ม Digital Native ได้รับจากโลกดิจิตอล
Key Stat
สัดส่วน Internet User ในประเทศไทย
1.Digital immigrants 22% อายุ 35+ ปี
2. Progressive Digizen 27% อายุ 25-34 ปี
3. Digital Natives 51% อายุ 14-24 ปี
นิยาม Digital Native
คือกลุ่มคนที่เกิดและเติบโตในยุคเทคโนโลยีดิจิตอลและคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ดิจิตอล และอินเตอร์เนต ทั้งนี้ หากเทียบประชากร Digital Native กับจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตทั้งประเทศไทยพบว่า กลุ่มเยาวชนเหล่านี้นับเป็น 50% ของผู้ใช้อินเตอร์เนตทั้งหมด ขณะที่หากพิจารณาเฉพาะประชากรอายุ 14-65 ปีที่ใช้อินเตอรเนตพบว่าคิดเป็นอัตราส่วน 13% ของจำนวน 8.57 ล้านคนทั่วประเทศ
ผู้ศึกษาแบ่ง Digital Native ย่อยลงไปอีก 2 กลุ่มคือ Digitally Born อายุระหว่าง 14-17 ปี และ Evolving Digizen อายุระหว่าง 18-24 ปี
พฤติกรรมของดิจิตอลเนทีฟที่น่าสนใจ
- Digitally Born (14-17 ปี)
– รู้จักอินเตอร์เนตจากสิ่งแวดล้อม เช่น โรงเรียน ครอบครัว เพื่อน
– ไม่ได้ใช้อินเตอร์เนตแบบ Always on
– นิยมเล่น Line เพื่อแชตกับเพื่อน ขณะที่เล่น Social Network เพื่ออัพเดทและติดตามสถานะ
– ชอบ Content ด้านความบันเทิง ชอบเล่นเกมออนไลน์
– หา Content ที่เป็นวิชาการเพื่อทำงานส่งอาจารย์
– นิยมใช้สมาร์ทโฟน (เนื่องจาก device อื่นๆ เพราะไม่สะดวกและช้า)
– ทีวีและดารายังคงมีอิทธิพลกับผู้บริโภคกลุ่มนี้อยู่ (77% ของเด็กกลุ่มนี้ใช้อินเตอร์เนตวันละ 1-4 ชั่วโมง ขณะที่ 54% ดูทีวีวันละ 1-4 ชั่วโมง)
– ยังไม่เริ่มมีการช็อปปิ้งออนไลน์
2. Evolving Digizen (18-24 ปี)
– ครึ่งหนึ่ง Always on ผ่านทางสมาร์ทโฟนและแทปเล็ต
– นิยมใช้ Search ค้นหาข้อมูล สื่อสารผ่านกลุ่มเพื่อนผ่าน Social Network และติดตามข่าวสาร รีวิวสินค้าผ่าน บล็อคและเว็บบอร์ด เช่น Pantip
– ชอบใช้ Instagram ตามดารา แล้วนำแฟชั่นมาปรับตามบุคลิกและสไตล์ของตัวเองกว่า 84%
– ชอบเช็คอินผ่าน Facebook
– 19% เริ่มช็อปปิ้งออนไลน์
ข้อคิดสำหรับนักการตลาดเมื่อต้องการสื่อสารกับกลุ่มดิจิตอลเนทีฟ
1) ตอบสนองความต้องการหลักของกลุ่มนี้ให้ตรงจุด (Cater to their needs) ซึ่งก็คือความสะดวกและความรวดเร็ว
2) ทำให้แบรนด์อยู่ในทุกที่ที่กลุ่มนี้เข้าถึง (Be everywhere) Search Engine Marketing (SEM) คือเครื่องมือสำคัญสำหรับกลยุทธ์ “Always on”ในการผลักดันให้แบรนด์ปรากฏอยู่ในสายตาของกลุ่มดิจิตอลเนทีฟ
3) ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม ช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่แล้ว (Utilize key players) นักการตลาดควรใช้ช่องทางหลักๆที่มีอยู่แล้วในโลกออนไลน์ เช่น เฟซบุค ยูทูป อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ไลน์ รวมไปถึงพันทิพ เป็นต้น เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ เพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว
4) สื่อสารผ่านมือถือและแท็ปเล็ต (Mobilize to meet them) เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยปราศจากการใช้มือถือและแท็ปแล็ตในการสื่อสารและใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้นนักการตลาดจึงไม่ควรละเลยช่องทางการสื่อสารนี้ในการเข้าถึงดิจิตอลเนทีฟ
5) สร้างเนื้อหาให้แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร (Make it unconventional) ในการดึงความสนใจจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ นักการตลาดควรสื่อสารด้วยเนื้อหาที่ให้ความบันเทิง น่าตื่นเต้น และน่าค้นหา และต้องเป็นเรื่องที่มีความทันสมัยกับสถานการณ์ในสังคมที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคเหล่านี้สามารถแชร์และส่งต่อกันได้
6) พลังของปากต่อปาก (Don’t ignore the power of WOM) ยังคงเป็นสิ่งหลักที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญในการสื่อสารกับกลุ่มนี้ เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ใช้การสื่อสารหลักผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิรค์ และการแชร์ความเห็นต่างๆผ่านกลุ่มเพื่อน
7) เข้าหาด้วยเกมส์และกลุ่มเพื่อน (Gamify with friends) กลยุทธ์นี้มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งต่อกลุ่ม “Digitally Born” เพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้ชอบเล่นเกมส์ โดยเฉพาะหากได้เล่นกับเพื่อนผ่านช่องทางออนไลน์
8) ปรับตัวตามได้อย่างรวดเร็ว (Be ADAPTIVE) พฤติกรรมออนไลน์ของกลุ่มดิจิตอลเนทีฟสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะพวกเขาเติบโตขึ้นในสังคมที่เทคโนโลยีดิจิตอลมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักการตลาดจึงควรมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน
เกี่ยวกับมายด์แชร์
มายด์แชร์เป็นเอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเครือ WPP Network มีรายได้กว่า 8,000 ล้านบาท และมีการเจริญเติบโตถึง 15% ในปี 2550 บริษัทฯได้รับการจัดอันอับให้เป็นที่ 1 โดย RECMA ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ติดต่อกัน และได้รับการยกย่องเป็น Media Magazine Agency ประจำปีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันซึ่งไม่มีบริษัทใดเคยได้รับ
สินค้าและบริการ: การให้บริการวางแผนและซื้อสื่อ บริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบวงจร, ให้บริการครบวงจรในการจัดกิจกรรมทางการตลาดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และการสปอนเซอร์กิจกรรมการตลาด ร่วมถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นแบรนด์ ให้บริการครบวงจรด้านการทำการตลาดดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต ให้บริการคำปรึกษาด้านการลงทุนในสื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค
บุคลากร : Mindshare มีพนักงานรวม 120 คน และมีหน่วยงานสนับสนุนอีกจำนวน 65 คนจาก GroupM
เกี่ยวกับกรุ๊ปเอ็ม
กรุ๊ปเอ็ม เป็นเครือข่ายกลุ่มบริษัททางด้านการปฏิบัติการจัดการด้านการลงทุนด้านสื่อชั้นนำของโลก ซึ่ง กรุ๊ปเอ็ม ถือเป็นบริษัทแม่ของตัวแทนสื่อของกลุ่ม WPP รวมทั้ง แมกซัส (Maxus) มีเดียคอม (Mediacom) มีเดียเอจ : ซีไอเอ (Mediaedge : cia) และมายด์แชร์ (MindShare) โดยเป้าหมายหลักของ กรุ๊ปเอ็ม คือ การมุ่งเน้นให้ตัวแทนทางสื่อและการสื่อสารของกลุ่ม WPP มีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะที่เป็นตัวแทนของลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงานของกรุ๊ปเอ็ม และทางบริษัทมีการดำเนินงานโดยปฏิบัติการเสมือนเป็นผู้ดูแล และผู้จัดการร่วม ในการจัดกิจกรรมที่เป็นการเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางการค้า การสร้างข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสาร งานกีฬา เทคโนโลยี การเงิน การพัฒนาแบรนด์สินค้า และกิจกรรมที่มีความสำคัญทางด้านธุรกิจ ตัวแทนของกรุ๊ปเอ็มนั้นล้วนเป็นบุคลที่มีการปฏิบัติงานอยู่ในสายงานที่ได้รับการยอมรับ และอยู่ในตำแหน่งแนวหน้าของตลาดทั้งสิ้น