1 ล้านชั่วโมง เพื่อเด็กไทย

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ย้อนกลับไป ตอนคุณเด็กๆ จำได้มั้ย ว่าคุณทำการบ้านยังไง?

คุณหาคำตอบจากอะไร เปิดหนังสือ หรือให้พ่อแม่สอนให้?

คำถามในสมัยนั้น อาจไม่หลุดกรอบจากเนื้อหาในหนังสือสักเท่าไหร่

คำตอบมักมีอยู่ในหนังสือแบบเรียนอยู่แล้ว

 

พี่ๆครับ/ค่ะ ช่วยหนูหน่อยน่ะ Can you help me please?

httpv://youtu.be/qqrVBcUW1KU 

แต่ในยุคปัจจุบันนี้ เราเริ่มเห็นคนรุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลาน มีรูปแบบหลากหลายในการเรียน การสอนมากยิ่งขึ้น การศึกษาเริ่มเปลี่ยนรูปแบบไป ครู มักมีการบ้านที่หลากหลาย ที่เน้นให้เด็กมีการค้นคว้าหาความรู้มากขึ้น เน้นให้เด็กได้ค้นคว้าหาความรู้นอกเหนือจากในห้องเรียนมากขึ้น

อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นตัวช่วยหลัก หรือเรียกได้ว่า เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ด้วยประโยชน์ในการสื่อสาร ความบันเทิง สังคมโซเซี่ยล และที่สำคัญคือมีข้อมูลทุกอย่างให้เราค้นหา อย่างที่นิยมพูดกันว่า “อยากรู้อะไรให้ Search บนอินเทอร์เน็ต” แต่ว่าน่าเสียดายที่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตแต่ยังขาดโอกาสเข้าถึง นั่นก็คือ กลุ่มเด็กนักเรียนตามชนบท

หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า ดีแทคกำลังทำโครงการ 1 ล้านชั่วโมงเพื่อเด็กไทย Internet For All ซึ่งเป็นโครงการ CSR ที่ตั้งเป้าหมายติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้กับโรงเรียนที่ยังขาดแคลน ในระหว่างดำเนินการ ดีแทคเกิดไอเดียเพิ่มเติมบางอย่าง ที่จะช่วยให้โครงการนี้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการร่วมมือจากสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า Crowdsourcing นั่นเอง

การทำ Crowdsourcing เป็นการรวบรวมข้อมูลข้อคิดเห็นจากกลุ่มคนจำนวนมากๆ เพื่อนำไปพัฒนาโครงการต่างๆให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดีแทคพบว่า พวกเขามีกลุ่มคนใจดีอยู่จำนวนหนึ่ง 

ซึ่งก็คือแฟนๆดีแทคบนโซเซี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ ได้แก่ Facebook, Twitter, Line Official Account, Youtube และ Instagram รวมแล้วกว่า 9 ล้านไอดี 

ดีแทคเริ่มต้นด้วยการสื่อสารกับฐานแฟนทั้ง 9 ล้านไอดีนี้ ด้วย Video Content สไตล์ feel goood เพื่อสะท้อนปัญหาการขาดแคลนอินเตอร์เน็ตของเด็กไทย โดยหยิบ Insight ของผู้ใหญ่ที่ว่า “แม้จะเคยจะเรียนมา แต่ให้กลับไปทำการบ้านเด็กนักเรียนสมัยนี้ก็จำไม่ได้แล้ว” จึงเกิดเป็นไอเดียสร้างสถานการณ์ให้เด็กน้อยเดินเข้าไปลองใจพี่ๆ ให้ช่วยสอนการบ้านให้หน่อย ทำให้เราเห็นภาพความใจดีของพี่ๆที่พยายามช่วย และใช้สมาร์ทโฟนของตัวเองเข้าอินเตอร์เน็ตช่วยน้องๆทำการบ้าน 

เมื่อการบ้านเสร็จ ก็จะเป็นการส่ง Message ถึงพี่ๆใจดีและกลุ่มคนดูว่า ยังคงมีน้องๆนักเรียนอีกหลายคนที่ขาดโอกาสเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการหาข้อมูลเพื่อทำการบ้าน หรืออีกนัยนึง คือ อินเทอร์เน็ตในการหาข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่เฉพาะการทำการบ้านเช่นกัน

dtac-csr-2

หลังจากการได้รับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริง ดีแทคจึงเชิญชวนมาร่วมกันเสนอรายชื่อโรงเรียนที่เข้าโครงการโดยคลิกไปที่ www.dtac.co.th/9Msocial ซึ่งให้ข้อมูลและทำระบบรวบรวมรายชื่อไว้รอแล้ว

dtac-csr-3

ด้วยฐานแฟนกว่า 9 ล้านไอดี ทำให้เป็นได้สูงว่าจะมีรายชื่อของโรงเรียนที่ขาดแคลนอินเตอร์เน็ตตามคุณสมบัติครบตามเป้าที่  วางไว้ ที่สำคัญเป็นรายชื่อที่ได้จากพี่ๆใจดีด้วยวิธี CSR Crowdsourcing นั่นเอง


  •  
  •  
  •  
  •  
  •