มารู้จักคำที่สามารถสร้างการขายและคำที่ทำให้คนหนีหายกัน

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในการทำการทำการตลาด ทุก ๆ คนจะรู้จักการทำ Storytelling Framework กัน และนอกจากนี้ยังมีการทำ Writing Framework ต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจ หรือการดึงดูดให้มาซื้อสินค้าได้ขึ้นมา หลาย ๆ คนจะนึกถึงการทำ Headlineให้น่าสนใจการเล่า Feature และ Benefits ต่าง ๆ และการมีตัวอย่างที่พิสูจน์ได้ หรือ Social Proof ที่มีคนใช้ คนรับรอง จำนวนผู้ใช้ ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เข้ามา จนถึงจบด้วยการมี Call To Action ที่จะบอกให้ผู้บริโภครู้ว่าต้องทำอะไรต่อไป และคาดหวังว่าการทำสิ่งเหล่านี้นั้นจะทำให้เกิดการขายขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ที่ทำไปนั้น อาจจะไม่เกิดการขายหรือการซื้อของผู้บริโภคขึ้นมาเลยก็ได้ แม้ว่าจะทำถูกหลักการทุกอย่างๆ ใช้จิตวิทยาใส่เข้าไปก็แล้วก็ไม่เกิดการขายเลย นั้นเป็นเพราะการที่คนทำการตลาดนั้นยังไม่เข้าใจว่า อะไรที่กระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภคนอกจากหลักการที่ถูกต้องและการใช้จิตวิทยา ซึ่งเรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับ “คำที่ใช้” นั้นเอง

การซื้อสินค้านั้นเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของผู้บริโภค การเลือกใช้คำไม่ว่าจะเป็น “เลือกสิ่งที่ดีสำหรับคุณ” หรือ “คุณมีความรู้สึกแบบนี้ใช่ไหม” หรือ “คุณจะดีขึ้นได้ด้วย” เป็นการสร้างอารมณ์ในการอยากรู้ขึ้นมา ซึ่งการกระตุ้นอารมณ์ที่ดีของผู้บริโภคนั้นเป็นคำที่สร้างความตื่นเต้น ความอยากรู้ และการสร้างความรู้สึกของความเร่งด่วนขึ้นมานั้นเอง และเมื่อผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายมีอารมณ์ที่ผูกผันมากขึ้นอย่างมาก ก็จะเรียกว่าทุ่มเทในความสนใจเข้าไปอย่างมากเช่นกัน

 

คำ Data ก็สำคัญ

ในการเล่าเรื่องหรือการใช้คำนั้น การที่จะทำให้เรื่องราวของตัวเอง หรือคำที่ใช้ให้หนักแน่น และเน้นย้ำให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคนั้นเข้าใจใน value proposition นั้นการมี Data มา Support นั้นก็มีความสำคัญต่อเรื่องราว เช่น ยาสีฟันที่ทันตแพทย์เลือกใช้ กับ 95% ของทันตแพทย์เลือกใช้ยาสีฟันนี้ อันไหนรู้สึกม่ีการโน้มน้าวที่ดีมากกว่ากัน ในข้อความแบบที่ 2 นั้นจะสร้าง ความน่าเชื่อถือ ความเชื่อมั่น และความกระจ่างในการสื่อสารให้กับผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทันที เมื่อเทียบกับแบบแรกที่เป็นข้อความที่ทั่ว ๆ ไปแบรนด์ยาสีฟันต่าง ๆ ก็ใช้ได้ขึ้นมา

 

เปลี่ยนจาก Company Centric ให้เป็น User Centric

ผู้บริโภคนั้นมีแนวโน้มที่จะปฏิสัมพันธ์อย่างมากกับ Content ที่พูดโดยตรงกับผู้บริโภคที่เจาะไปถึงความต้องการและความสนใจ การที่พูดว่าแบรนด์ของเรานำเสนอสินค้าและบริการแบบไหน มาเป็นสินค้าและบริการของเราจะช่วยแก้ปัญหา ช่วยสร้างหรือเปลี่ยนชีวิตผู้บริโภคให้ดีขึ้นอย่างไรขึ้นมานั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

ผู้บริโภคที่อ่านข้อความต้องการจะรู้ว่า แบรนด์นี้มีอะไรให้กับตัวเอง มีประโยชน์อย่างไรกับตัวเอง และช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร ถ้าไม่มีคำเหล่านี้ในการสื่อสาร จะไม่ช่วยทำให้เกิดการขายขึ้นมาเลย เพราะผู้บริโภครู้สึกว่า ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวเอง หรือไม่ได้ช่วยก้ปัญหาขึ้นมานั้นเอง

 

การเน้นย้ำวัตถุประสงค์

หลาย ๆ ครั้งคนทำ Copy นั้นมักจะมองข้ามคำถามที่ผู้บริโภคถามว่า สินค้าและบริการนี้เหมาะกับตัวเองไหม หรือ สินค้าและบริการนี้เหมาะกับใคร เพราะคิดโดยอัตโนมัติเองว่า สิ่งที่สร้างมานั้นมีกลุ่มเป้าหมายอยู่และกลุ่มเป้าหมายย่อมรู้ดีว่าสินค้าและบริการเหมาะกับตัวเองอย่างไร

ในความเป็นจริงนั้นผู้บริโภคนั้นไม่รู้เลย และไม่ได้ใส่ใจด้วย หลาย ๆ คนไม่คิดว่าเป็นปัญหามาก่อนด้วยว่าเป็นปัญหา เช่นมือถือ ถ้าเราไม่มี iPhone เกิดขึ้นมา เราก็ไม่ได้คิดว่าจะมีความจะเป็นที่จะมีมือถือที่เป็นหน้าจอทั้งหมดใช้ขึ้นมา

ดังนั้นการสื่อสารที่ชัดเจนต่อกลุ่มผู้บริโภคว่าสินค้านี่สร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร เหมาะกับผู้บริโภค ความต้องการผู้บริโภคและแก้ปัญหาของผู้บริโภคอย่างไร จะทำให้กิดการขายได้ทันที

คำที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างมากในการสร้าง Copy เพื่อการขายนั้นคือ การแสดงความฉลาดออกมา เพราะผู้บริโภคไม่อยากเจอคนอวดรู้มากกว่า เพราะจะรู้สึกว่าคนแบบนี้ไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเอง อีกแบบคือคำที่เป็นทางการมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกว่า ห่างเหินและเข้าไม่ถึงแบรนด์เหล่านี้ขึ้นมา นอกจากนี้แบรนด์ที่ใช้คำถูก หรือคำที่ตามพจนานุกรม หรือราชบัณฑิตเกินไป ก็จะทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกอึดอัดจากการเป็นทางการของแบรนด์ได้ขึ้นมา


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ
CLOSE
CLOSE