เราจะสร้าง “แบรนด์” ให้ฝังใจลูกค้าแบบ “เนียนๆ” ได้อย่างไร?

  • 989
  •  
  •  
  •  
  •  

Apple, Google, Amazon, Alibaba, Starbuck หรือแม้แต่ Coke ก็เป็นแบรนด์ที่มีมูลค่ามหาศาล กลายเป็น “ทรัพย์สิน” ของกิจการนั้นเลยก็ว่าได้ เพราะแบรนด์พวกนี้โดดเด่นไม่เหมือนใคร ลูกค้าจำแม่น

แบรนด์พวกนี้ทำได้อย่างไร? เรื่องนี้หากสังเกตกันดีๆจะรู้ว่าแบรนด์ที่ติด Top Mind ล้วนใช้กลยุทธ์เชิงจิตวิทยาสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบแนบเนียนไม่รู้ตัวเลย รู้ตัวอีกที ก็ “รัก” เสียแล้ว วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกถึง “นิสัย” ของแบรนด์ระดับโลกที่เราเอามาปรับใช้กับกิจการของเรากัน

 

เป้าหมายของการทำแบรนด์มีอย่างเดียว: ทำให้ลูกค้าไว้วางใจ

ฉะนั้นต้องแสดงประสิทธิภาพของสินค้าและบริการให้ลูกค้ารับรู้ว่าแบรนด์ของเราพึ่งพาได้ ที่สำคัญต้องเป็น “ของแท้” ใช้งานได้จริง (ไม่งั้นอย่าเอามาอวดดีกว่า) บริการต้องจริงใจซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา ยิ่งหากมีการแสดงสินค้าในงานอีเวนท์ต่างๆ ต้องให้มั่นใจว่าบรรยากาศในงานและตัวแทนของแบรนด์ยั่วยวน มีเสน่ห์ น่าค้นหา และกล้าลุย และอย่าลืมใส่ความคิดสร้างสรรค์มีชีวิตชีวาในโฆษณา ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

httpv://www.youtube.com/watch?v=779KwjAYTeQ

โฆษณาของ Sumsung บริการซ่อมทีวีให้ลูกค้าที่อยู่ห่างไกล ให้ลูกค้าและครอบครัวได้ลุ้นให้กำลังใจคนที่เขารัก สะท้อนความจริงใจ ใช้งานได้จริง พึ่งพาได้ และสินค้ามีความทันสมัยในแบรนด์

 

เป้าหมายของการทำแบรนด์ระดับจิตใต้สำนึก: ทำให้ลูกค้าผูกพันกับแบรนด์ “เนียนๆ”

ต่อให้ลูกค้าจำโฆษณา ชื่อแบรนด์ โลโก้ของเราไม่ได้ก็ตามก็ไม่มีปัญหา (ในตอนแรก) บางทีลูกค้าอาจจะเห็นมันบนบิลบอร์ดหรือได้ยินผ่านๆโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ ทำตาม 5 ขั้นตอนที่ว่านี้ รับรองทำแบรนด์ให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์ได้ “แนบเนียน”

 

1. ฉีกแนวเดิมๆทิ้งไปเลย

การทำแบรนด์แนวนี้หลายคนอาจคิดว่าเสี่ยง เพราะเรากำลังจะขายของ แต่กลับสื่อสารให้ลูกค้าใช้ของของเราน้อยลง แต่การใช้วิธีนี้ทำแบรนด์จะได้ใจลูกค้ามากขึ้นอีกเยอะ เพราะเราไม่ได้มาขายของ แต่มาขาย “คุณค่า”ของสินค้า

httpv://www.youtube.com/watch?v=zriBdZsldxQ

โฆษณาของ DTAC ที่ให้บริการโทรศัพท์แต่กลับเลือกที่จะส่งเสริมให้คนปิดโทรศัพท์เพื่อเน้นความสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น การใช้โทรศัพท์ติดต่อกันสร้างความสัมพันธ์ได้ แต่หากมากเกินไปก็ย่อมพังความสัมพันธ์เช่นกัน

 

2. นำจินตนาการ

ให้ลูกค้ารู้ว่าแบรนด์กำลังนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เป็นมาตรฐานใหม่ๆให้กับเราและชุมชน

httpv://www.youtube.com/watch?v=6atX_LTGNSg

การนำเสนอเตาใหม่ของบาร์ บี คิวพลาซ่า ช่วยให้เราเปลี่ยนทัศนคติต่อมาตรฐานประสบการณ์การปิ้งย่าง มีพื้นที่ปิ้งมากขึ้น และตักน้ำซุปได้มากขึ้น

 

3. เปลี่ยนความรู้สึกจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ลูกค้าต้องรู้สึกมีความสุขมากขึ้น เก่งขึ้น ได้ประโยชน์ที่เขาต้องการมากขึ้น

httpv://www.youtube.com/watch?v=170K8XQE_R4
โฆษณาอาหารลดน้ำหนักจี้ใจลูกค้าที่อยากลดน้ำหนักแต่อยากกินของอร่อยๆได้ตรงจุดจริงๆ เชิญชวนว่าลูกค้าลดน้ำหนักได้หากทานอาหารลดน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักลดแล้ว ลูกค้าจะกินอะไรอร่อยๆก็ได้

 

4. ทำให้มั่นใจ

ลูกค้ามีคำถามสงสัยเมื่อไหร่ รีบตอบคำถามทันที ดังนั้นการทำคอนเทนต์ How-To การมีช่วงตอบคำถามลูกค้าหรือแฟนเพจ มีเพจ FAQ มีช่วง Q&A ระหว่างงานสัมมนา หรือมีพนักงานคอยตอบคำถามลูกค้าใน Inbox ตลอด 24 ชั่วโมงจึงโดนใจลูกค้าอย่างมาก

httpv://www.youtube.com/watch?v=e6h_PmuP0XM

ธนาคารกสิกรไทยสร้างแบรนด์พุ่งเป้าไปที่ SMEs โดยสอนกิจการทำโปรโมชั่นผ่านสัมมนาออนไลน์

 

5. ลงมือทำและเปลี่ยนความสัมพันธ์

httpv://www.youtube.com/watch?v=B_gYJzwoRc4

โฆษณาที่ชวนคนมีคู่ “ไปเที่ยวกันเถอะ” ใช้เทคนิคการ “เล่าเรื่อง” โดยเสนอของมุมมองของคู่รักทั้งสองคนที่ไม่มีเวลาให้กัน จนเฉลยท้ายเรื่องให้ Bangkok Airway สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแบบเนียนๆ

 

อ่านถึงตรงนี้แล้ว หลายๆคนรู้สึกว่าการทำคอนเทนต์ทั้งทีต้องทำโปรดักชั่นใหญ่ๆเหมือนโฆษณาที่ยกตัวอย่างมาหรือเปล่า? ทำยากหรือไม่? เราไม่ใช่แบรนด์ใหญ่ๆที่จะทำได้ แต่สบายใจได้เลย การทำคอนเทนต์ที่ดี โปรดักชั่นสำคัญก็จริง แต่ถ้าคอนเทนต์ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้มอบคุณค่าให้ลูกค้า ลงทุนทำโฆษณาหลายบาททำแบรนด์ก็ไม่คุ้ม จะทำคอนเทนต์ดีๆใช้สมาร์ทโฟนก็ยังไหว เผลอๆเป็นไวรัลไม่รู้ตัว

140401-starbucks-food-jsw-208p_b37068f039375eef3c918d847c118bde.nbcnews-ux-2880-1000

สุดท้าย ต่อให้เราพูดมากแค่ไหน การสร้างแบรนด์ที่แท้จริงจะทำผ่านการได้สัมผัสและพูดคุยกับลูกค้าจริงๆ คุณค่าของแบรนด์สะท้อนผ่านการกระทำ ไม่ใช่คำพูด ยิ่งมีสื่อสังคมออนไลน์ ยิ่งต้องตระหนัก เพราะลูกค้าจะบ่น จะว่า จะชม ก็บอกตรงๆกับแบรนด์บนสื่อสังคมออนไลน์เลย ฉะนั้นการจัดการกับลูกค้า ต้องเร็วและมีสติรู้ว่าควรจะใช้ภาษาแบบไหน

มิฉะนั้นอาจสะท้อนความไม่จริงใจ และจะทำให้แบรนด์เสีย

 

แหล่งที่มา

http://appliedpsychologydegree.usc.edu/resources/infographics/psychology-behind-developing-brand-loyalty/


  • 989
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th