ยุคที่ทีวีเริ่มตัน ทีวีธันเดอร์ มั่นใจ OTT  คือโอกาสใหม่ของผู้ผลิตคอนเทนต์

  • 271
  •  
  •  
  •  
  •  

ในช่วงปลายปี เราเห็นความเคลื่อนไหวของบริษัทยักษ์ใหญ่มากมายที่เล็งจะสร้างออริจินัล คอนเทนต์ เผยแพร่ผ่านการสตรีมมิ่งในช่องทางของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ข่าวลืมเรื่องแอปเปิ้ลอาจจะซื้อ Netflix หรือ ล่าสุด ข่าวการเข้าซื้อหุ้น Fox ของ Disney นอกจากนี้ ยังมีแว่วๆ มีอีกหลายเจ้ายักษ์ใหญ่ที่กำลังแต่งองค์ทรงเครื่องเพื่อเข้าสู่ตลาด OTT นั่นเป็นเพราะหลายคนมองเห็นโอกาส และอนาคตของธุรกิจประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็น Netflix,iflix, Hooq, Amaxon Prime ฯลฯ ต่างก็ได้รับการตอบรับที่ดี

อย่างไรก็ตาม เมื่อหันไปมอง ผู้ผลิตคอนเทนต์ในบ้านเรา หรือ Content Provider ของไทยมีความพร้อมแค่ไหน และมองว่าสิ่งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสมากน้อยอย่างไร ลองมาฟังจากอีกหนึ่งผู้ผลิตคอนเทนต์แถวหน้าของไทย “ทีวีธันเดอร์” ว่าคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ผ่านผู้ชายคนนี้ ณฐกฤต วรรณภิญโญ ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหารสายพัฒนาธุรกิจของ บริษัท ทีวีธันเดอร์ จำกัด (มหาชน)

tvthunder

มันเป็นโอกาสเลย เพราะว่าจากที่เราเห็นในตลาดต่างประเทศ เราเรียกมันว่า OTT ทั้ง Netflix หรือ iflix อะไรก็แล้วแต่ เวลาเข้ามาก็ต้องการสร้าง ออริจินัล คอนเทนต์ เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะNetflix เราจะเห็นออริจินัลซีรี่ย์เยอะมาก แข็งแกร่ง และเขาใช้เงินกับตรงนี้เยอะมาก ซึ่งเราก็มองว่าเป็นโอกาส ไม่ต่างจากที่เราผลิตคอนเทนต์ให้กับ LINE TV เขาเป็นผู้ผลิต เราเป็นคนทำคอนเทนต์ ดังนั้น เขาต้องการคอนเทนต์แน่นอน ที่สำคัญคือ คอนเทนต์ที่เราทำก็จะเป็นตัว approach ไปหาตัว Netflix หรือ iflix ไม่ว่าจะเป็นซีรี่ส์ หรือว่าเป็นรายการประเภทใดก็ตามที่เขาสนใจ น่าจะเป็นโอกาสอันใกล้ที่เราจะได้เห็นว่า TV THUNDER ได้ approach เข้าไปตรงจุดนั้น

“ตอนนี้เรามีติดต่อกับ iflix แล้ว และมีการนำรายการของเราไปอยู่บน iflix เป็นรายการรีรัน เมื่อก่อนเคยฉายบนทีวีตอนนี้ก็มาฉายออนไลน์ ซึ่งช่วงแรกจะเป็นการเริ่มต้นด้วยการนำรายการรีรันไปฉายก่อน แต่ว่าเป้าหมายของเราจริงๆ คืออยากทำออริจินัล คอนเทนต์ป้อนให้”

ทั้งนี้ การรุกตลาดออนไลน์ของ ทีวีธันเดอร์ นั้น ณฐกฤต บอกว่า เริ่มไปตั้งแต่ต้นปี 2017 แล้ว โดยมี LINE TV เป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีด้วยกันเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม การที่ได้ OTT เจ้าอื่นมาก็ถือว่าเป็นโอกาสในการทำคอนเทนต์อีกช่องทางหนึ่ง เพราะต้องยอมรับว่าช่วงนี้ตลาดคอนเทนต์ทีวีอยู่ในช่วงลำบากและค่อนข้างจำกัด เพราะว่าเม็ดเงินมันสเป็นได้ไม่เยอะ ในขณะที่บรรดาเจ้าใหม่อย่าง OTT ตนมองว่าเป็นโอกาส เพราะตอนนี้ถือว่าเขายังไม่ได้ลงทุนอะไรเลย แล้วยังลงทุนได้อีกเยอะด้วย

“ที่สำคัญผมมองว่า ทีวีธันเดอร์ เรามีข้อได้เปรียบเพราะว่าเราก้าวเข้ามาในตลาดนี้แล้ว เราเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมคนดูที่เสพคอนเทนต์ออนไลน์แล้ว”

สิ่งสำคัญที่ ทีวีธันเดอร์มองในฐานะผู้ผลิตคอนเทนต์ไทยคือการคว้าโอกาส และแปลงมันเป็นสะพานเชื่อมไปสู่การผลิตคอนเทนต์ส่งออกต่างประเทศได้ โดย ณฐกฤต ระบุว่า การเข้ามาของบริษัท OTT เหล่านี้ เราควรหาทางทำงานร่วมกับต่างชาติ เราต้องมองว่าจริงๆ ต่างชาติเข้ามาเขาไม่ได้สูบเงินออกไป เขาเอาเงินมาลงทุนในประเทศนี้ด้วย ในฐานะคอนเทนต์โพรไวเดอร์ ถ้าทาง OTT ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์และต้องการทำงานกับเรา เขาก็ต้องจ้างเราผลิต และตรงนั้นก็จะเป็นเงินที่จะเข้ามาอยู่ในประเทศแน่นอน และเราก็จะทำให้อุตสาหกรรมของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น

“ถ้าเรามองในแง่ดีคือเหมือนเขาเป็นสะพานให้รายการของไทยออกไปยังประเทศอื่นๆ ตอนนี้เราได้ดูรายการจากต่างประเทศ ทำให้เราก็จะเรียนรู้วัฒนธรรม เรียนรู้รสนิยมของเขา เราจะเห็นและรู้จัก ผมมองว่าเป็นโอกาสดี นอกจากจะนำเงินมาลงทุนกับเราแล้ว ยังเป็นสะพานนำสิ่งดีๆ ขอประเทศไปสู่โลกภาพนอกได้ด้วย”

นับเป็นอีกหนึ่งความเห็นของผู้ผลิตคอนเทนต์ไทย เพื่อการก้าวสู่การผลิตคอนเทนต์ออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ.

หมายเหตุ

OTT (Over-the-top ) คือ บริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเองถือเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน โดยเริ่มต้นจากผู้ให้บริการนำเนื้อหารายการทั้งจากผลิตขึ้นเอง (Local Production)หรือ รับจากแหล่งอื่น (External Feeds)มารวบรวม แปลงสัญญาณ และจัดเรียงไว้ที่ Head-end ต่อจากนั้น ผู้ให้บริการจะส่งข้อมูลดังกล่าวไปบนระบบอินเทอร์เน็ตแบบเปิด (Open Internet) แล้วนำส่งไปยังผู้รับบริการปลายทางโดยผ่านผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Operator) เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ปลายทาง ซึ่งปลายทางจะรับ content มาให้ชมผ่านทางอุปกรณ์ที่เสียบกับทีวี , TV BOX, แอปบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต , แอปบนสมาร์ททีวี , แอปบนคอมพิวเตอร์ แอปบนเกมคอนโซล ทั้งนี้ ผู้ให้บริการ OTT TV บางราย เช่น YouTube Facebook และ Line TV จะไม่เรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการปลายทาง แต่จะคิดค่าบริการจากเจ้าของสินค้าและบริการที่มาลงโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มของตน (Advertising-Based Video on Demand: AVoD) ในขณะที่ผู้ให้บริการ OTT บางรายเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิกที่รับชม เช่น Nextflix, iflix, Amazon Prime, Hooq เป็นต้น

การให้บริการ OTT เริ่มเป็นบริการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะดิจิทัลทีวีในไทยได้รับผลกระทบจากเนื้อหา Content บนอุปกรณ์ OTT ดังกล่าว บอร์ด กสทช. จึงมีมติให้ OTT เป็นกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมีคณะอนุกรรมการฯ เป็นผู้ขับเคลื่อนเพื่อกำกับดูแล

Copyright © MarketingOops.com


  • 271
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!