เปิดวิธีช่วย SME ไทย เมื่อเจ้าของธุรกิจพลิกบทบาทมาเป็นพี่เลี้ยงผู้ประกอบการ SCB SME Mentor

  • 3.6K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

สำหรับไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) เป็นสัดส่วนที่สูงมากถึง 99.5% พูดได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน GDP ของประเทศไทยในอีกรูปแบบหนึ่ง ขณะที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าปัญหาหลักๆ ของกลุ่ม SME ในไทยก็คือ ‘เงินทุน’ แต่จริงๆ แล้วมันมีปัจจัยอื่นเป็นส่วนประกอบด้วย อย่างเช่น ‘องค์ความรู้’ หรือไกด์ไลน์ที่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้

ที่ผ่านมาเรามักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับ SME ในไทย นั่นก็คือ คลังความรู้ที่มีประโยชน์ คำแนะนำ หรือคำอธิบายบางอย่างในเชิงธุรกิจ เพราะบางทีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านั้นก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก รวมไปถึงข้อมูลบางอย่างที่ไม่เชื่อมโยงกับธุรกิจของพวกเขา ที่แย่ไปกว่านั้นคือ SME ไทยอาจต้องไปลองผิดถูกด้วยวิธีของตัวเอง จนทำให้สูญเสียหลายอย่าง ทั้งเงิน เวลา โอกาส แทนที่จะได้เข้ามาปรึกษากูรูในด้านธุรกิจผู้ที่มีประสบการณ์ผ่านจุดนั้นมาก่อน

โดยข้อมูลของ SCB SME พบว่า ที่ผ่านมาลูกค้า SME นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องเงินทุน พวกเขายังสนใจที่จะปรึกษาในด้านธุรกิจด้วย เรามองว่า pain point นี้เป็นเรื่องน่าคิดเพราะจริงๆ แล้วโซลูชั่นที่ดีที่สุดสำหรับ SME อาจจะเป็นการเรียนรู้จาก case studies ที่ใกล้ตัว หรือคำแนะนำที่มาจากนักธุรกิจเหมือนกับพวกเขา

ดังนั้น นี่คือสิ่งที่ SME ไทยต้องรู้เกี่ยวกับช่องทางรอดในการทำธุรกิจจากโครงการ SCB SME Mentorโดย SCB SME

 

ทำความรู้จักกับ SCB SME Mentor

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า โครงการ SCB SME Mentor ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2018 และในปี 2021 SCB SME ก็มีที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Mentor) ทั้งหมด 3 รุ่นแล้ว

ความน่าสนใจของโครงการนี้คืออะไร วันนี้อยากมาแชร์ให้อ่านกัน ‘SCB SME Mentor’ เปรียบเสมือนเป็น consultant center ของ SME ไทยซึ่ง SCB SME ต้องการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านความรู้ที่มีประโยชน์ต่อ SME เพื่อสร้างความสตรองและ pick up ศักยภาพของ SME ได้อย่างเต็มที่

โดย SCB SME มองว่าการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ (SME Ecosystem) ที่เอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพ จะมีอยู่ 4 ปัจจัยหลัก คือ องค์ความรู้ (Academy), ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน (Banking product and service), เครือข่ายธุรกิจ (Connection) และ ดิจิทัลโซลูชั่น (Digital solution)

ถึงแม้ว่าธนาคารจะเชี่ยวชาญในด้านเงินทุน สินเชื่อ หรือบริการทางการเงินต่างๆ แต่ในเมื่อลูกค้า SME มีปัญหา มีความสงสัย การใช้ประโยชน์จาก connection ของธนาคารเพื่อจัดโครงการ SCB SME Mentor ถือว่าเป็นทางออกที่น่าสนใจมาก เพราะถ้า SME อยู่ได้ SCB ก็อยู่ได้เหมือนกัน ซึ่งในภาพรวมหากภาคธุรกิจไปต่อได้ แน่นอนว่ากลไกทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะเดินหน้าต่อไปด้วยเช่นกัน

พูดง่ายๆ คือ โครงการ SCB SME Mentor เหมือนเป็นพื้นที่ใหม่ที่ให้รุ่นพี่และรุ่นน้องทางธุรกิจได้พูดคุยกัน ให้ผู้ประกอบการรุ่นน้องที่อยากประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้มีโอกาสปรึกษา ได้รับแนวคิด – มุมมอง – คำแนะนำ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง หรือเทคนิคบางอย่างจากรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน เช่น กลยุทธ์การตลาด, การประยุกต์ใช้งานจริง, เรื่องภาษีที่นักธุรกิจต้องรู้, วิธีการลดต้นทุน, การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์, การขยายช่องทางธุรกิจ หรือแม้แต่การออกแบบแพ็กเกจของผลิตภัณฑ์ก็มีเหมือนกัน

ที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่างก็คือ การจัดคอร์สอบรม SME ในแต่ละครั้งจะไม่ใช่การตัดสินใจจาก SCB SMEฝ่ายเดียว แต่จะมีมุมความคิดเห็นจาก Mentor ที่ผ่านการคัดเลือกด้วยในฐานะที่พวกเขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เคยผ่านประสบการณ์บริหารธุรกิจ ผ่านอุปสรรคมาหลายรูปแบบ โดยจะมีส่วนร่วมในการดีไซน์คอนเซ็ปต์ของคอร์สอบรม, คัดเลือกผู้ที่เข้าร่วมโครงการ, เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจให้กับผู้เข้าร่วม หรือแม้แต่การเป็นวิทยากรเพื่อแชร์อินไซต์ต่างๆ ของอุตสาหกรรมที่ Mentor เชี่ยวชาญ

เรามองว่าประโยชน์จากโครงการนี้มันเยอะมากในแง่ของคนที่อยาก success ในธุรกิจ แม้ว่าทางปฎิบัติที่ดีที่สุดคือ learning by doing แต่ก่อนเราจะลงมือทำจริงๆ การเข้าใจในกลยุทธ์ อินไซต์ธุรกิจที่ทำอยู่ หรือแม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่บางคนมองข้าม ล้วนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวโยงกันทั้งหมดเพื่อให้ธุรกิจเติบโต ซึ่งความรู้เหล่านี้เราสามารถปรึกษา หรือให้ผู้ที่เคยผ่านจุดนั้นมาก่อนแนะนำเราได้

 

ตัวอย่างคอร์สอบรมน่าสนใจจาก SCB SME Mentor ทั้ง 3 รุ่น

 

 

อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเป็นเรื่องน่ากังวล เพราะบางทีเราอาจได้ข้อมูลที่มันกว้างมากๆ หรือไม่ก็แทบจะไม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ หรือเป็นความรู้ชุดเดิมที่คนบางคนรู้อยู่แล้วก็ได้ ดังนั้น นี่คือความน่าสนใจของโครงการ SCB SME Mentor ที่อยากให้อ่านกัน

How to จากต้นกล้าจนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ ปัจจุบัน SCB SME มีจำนวน Mentor ทั้งหมด 3 รุ่นรวมกันประมาณ 25 คนที่ถือว่าเป็น expert ในวงการที่หลากหลาย และพร้อมให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ผ่านโครงการนี้ และนี่คือตัวอย่าง Mentor ที่มาจากโครงการนี้

 

  • บริษัท ดี วี เอ็น อินเตอร์เนชั่นแนล (คุณตี๋ พัฒนพงษ์ รานุรักษ์ และ คุณตง ธเนศ จิระเสวกดิลก)

 

ธุรกิจด้าน wellness รวมไปถึงธุรกิจร้านอาหาร และยังเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจสปา, ดูแลสุขภาพ, การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ และการทำแบรนด์ดิ้ง ซึ่งเจ้าของธุรกิจ SME คนไหนที่สนใจ หรือติดปัญหาในด้านต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมา สามารถมาขอคำปรึกษาจาก Mentor ทั้ง 2 ได้

 

  • บริษัท สลิงชอท กรุ๊ป (อ. อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา)

 

การพัฒนาสกิลในด้านบุคคลากร หรือการเป็นผู้นำเป็นเรื่องสำคัญในยุคนี้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่สามารถสร้างอิทธิพลต่อคนอื่นได้ เพราะความเป็นจริงคนเราไม่สามารถทำธุรกิจโดยตัวคนเดียวได้ connection ถือว่าจำเป็นอย่างมาก ดังนั้น ความรู้ การปรับใช้ หรือเคล็ดลับในด้าน leadership และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ SME ไทยสามารถเรียนรู้ได้จาก อ.อภิวุฒิ ได้เหมือนกัน

 

  • บริษัท มิ้นอิมเมจ (คุณมิ้น อุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล)

 

เป็นเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญในด้านการทำตลาดออนไลน์ รวมไปถึงการใช้กลยุทธ์ด้านตลาดอื่นๆ และแบรนด์ดิ้ง จึงมองว่าการที่คุณมิ้นเป็นหนึ่งใน Mentor ของโครงการนี้ SME รุ่นใหม่ๆ จะได้ประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องที่ควรรู้ในการทำธุรกิจ อย่างเช่น เรื่องการวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์, การวางแผนเรื่อง social media และการวางแผนโฆษณาออนไลน์ ซึ่งคุณมิ้นค่อนข้างเชี่ยวชาญ และเป็น certified coach ของแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง LINE และ Facebook อยู่แล้วด้วย ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเจ้าของธุรกิจ SME ไทยที่จะปรึกษา pain point ต่างๆ จากคุณมิ้น

  

  • เล้งเส็ง กรุ๊ป (คุณเอก สมหวัง เดชศิริอุดม)

 

สำหรับคนที่สนใจอยากทำธุรกิจในด้าน Wholesale & Retail หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ SME ด้านตัวแทนจำหน่ายสินค้า Mentor คุณเอกถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางรับคำปรึกษาที่น่าสนใจอีกคนหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำธุรกิจในด้านนี้โดยตรง คุณเอกยังเชี่ยวชาญในด้านการใช้ data เพื่อบริหารจัดการร้านค้ากว่า 300 ร้านได้ดี โดยเฉพาะในเรื่อง diversify ในธุรกิจค้าปลีก และยังใช้ data ครอบคลุมไปถึงการจัดการศูนย์กระจายสินค้าอีกด้วย

 

  • บริษัท ดิ ออริจินัล ฟาร์ม (คุณปอ กุลวัชร ภูริชยวโรดม)

 

เชื่อว่าสาวกอาหารญี่ปุ่นต้องรู้จักร้านนี้แน่ๆ ร้าน ChouNan (โชนัน) ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดจากการเปิดเป็นซุ้มเล็กๆ เพื่อทดลองตลาดในงานเทศกาลอาหารญี่ปุ่นที่สยามพารากอน จนปัจจุบันสามารถขยายสาขาได้ถึง 14 สาขาแล้ว คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มว่า คุณปอมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจร้านอาหาร และการบริหารต้นทุนมากขนาดไหน นอกจากนี้ยังมีความรู้ด้านการ sourcing วัตถุดิบ และการบริหารทีมงานด้วย ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหาร หรือ การสร้างมาตรฐานให้ร้านอาหาร, การค้าแบบโมเดิร์น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย และ SME สามารถปรึกษาคุณปอได้โดยตรงจาก SCB SME Mentor

 

  • บริษัท MyCloudFulfillment (คุณเมฆ นิธิ สัจจทิพวรรณ)

 

ธุรกิจที่เชี่ยวชาญในด้านโลจิสติกส์ ทั้งยังมีจุดแข็งด้านระบบบริหารจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management System : OMS) ที่สามารถสื่อสารตรงจากมาร์เก็ตเพลสได้หลายช่องทาง หรือจะเป็นความรู้ด้าน Stock Management ที่คุณเมฆค่อนข้างเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ start up ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งเงินทุนหรือการขยายธุรกิจก็สามารถปรึกษาคุณเมฆได้ ซึ่ง SME ที่ทำธุรกิจที่คล้ายกันนับว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่จะได้เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จมาก่อน อย่างน้อยๆ ก็ช่วยย่นระยะเวลาในการลองผิดลองถูกในธุรกิจของตัวเองได้

 

 

จากที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงบางส่วนของโครงการที่ SCB SME ได้ปั้นนักธุรกิจเพื่อมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการไทยในบทบาทต่างๆ เช่น การร่วมเป็นที่ปรึกษาธุรกิจในคอร์สอบรมผู้ประกอบการของ SCB, เป็นวิทยากรในงานสัมมนาให้ความรู้ และเป็น Course Director เพื่อออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ให้กับกิจกรรมความรู้ต่างๆ เช่น การบริหารต้นทุนธุรกิจ, การบริหารจัดการโรงงาน, การบริหารระบบโลจิสติกส์, การบริหารสต็อก, การสร้างนวัตกรรม, การวางแผนกลยุทธ์การตลาด, ข้อมูลการนำเข้าและส่งออก, การเปิดตลาดต่างประเทศ และการวางแผนบัญชีและภาษี เป็นต้น

การเลือก Mentor ที่ใช่ หรือ pick topic ที่โดนอาจจะยากสำหรับ SME บางคนที่เพิ่งเข้าวงการ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจ SME ที่สนใจคอร์สอบรมสามารถสมัครมาเข้าร่วมคอร์สอบรมผู้ประกอบการของ SCB SME ได้ง่ายๆ ที่สำคัญเป็นคอร์สอบรมที่เจ้าของธุรกิจไม่ต้องจ่ายค่าเรียน ถือว่าคุ้มค่ามากเพราะได้ทั้งความรู้และที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดแม้จะจบคอร์สไปแล้วก็ตาม

หรือว่าจะลองเข้าไปอ่านบทความที่เกี่ยวกับ SCB SME Mentor ก่อนก็ได้ว่าโครงการนี้จะให้ประโยชน์อย่างไรกับคุณ หรือ SME คนอื่นๆ โดยสามารถคลิกดูที่เว็บไซต์ https://www.scb.co.th/th/sme-banking/articles/success-story-and-inspiration-case.html ซึ่งจะมีเรื่องราวของ Mentors หลายคนมากให้ลองได้ศึกษากันก่อน

ชอบแนวคิดของ SCB SME ในการเข้าไปมีส่วนทำให้รากฐานเศรษฐกิจของไทยที่มี SME เป็นปัจจัยที่สำคัญแข็งแรงขึ้น คอยอยู่เคียงข้างธุรกิจ SME ให้เติบโตและก้าวต่อไป ด้วยกำลังที่มี connection ที่มี และใช้ใจในการดูแลสนับสนุน เพราะบางครั้งการบริการลูกค้าสำหรับ SCB อาจไม่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็ได้ แต่การส่งต่อความรู้เพื่อให้ลูกค้ารอด ถือว่าเป็นการเดินเกมธุรกิจที่ฉลาดและน่าสนใจ


  • 3.6K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE