ทำความรู้จัก 10 ตัวตน “Gen Z” และแบรนด์จะชนะใจ ไม่ใช่แค่ “Good Brand” แต่ต้องเป็น “GREAT Brand”

  • 831
  •  
  •  
  •  
  •  

Gen-Z

ที่ผ่านมานักการตลาด – เจ้าของแบรนด์ – นักสื่อสาร นักโฆษณา โฟกัสไปที่ประชากร 2 Generations คือ

1. “Baby Boomers หรือ Silver Gen อายุ 55+ เพราะเห็นว่าทิศทางหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งในประเทศไทยมีประชากรกลุ่มนี้ราว 15 ล้านคน (ตัวเลขธันวาคม 2561) และด้วยความที่ประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีเงิน และมีเวลา จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสำหรับแบรนด์

2. “Gen Y ประชากรอายุ 25 – 42 ปี เป็นลูกของ Gen Baby Boomers และเนื่องจากเป็นหนึ่งในประชากรกลุ่มใหญ่ ในประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้กว่า 17 ล้านคน ครอบคลุมตั้งแต่วัยเริ่มต้นทำงาน ไปจนถึงวัยเริ่มสร้างครอบครัว ทำให้เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายสูง

นอกจากประชากรสองกลุ่มดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย คือ “Gen Z” อายุ 10 – 24 ปี ด้วยความที่คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม – สภาพสิ่งแวดล้อม – การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี จึงทำให้ตัวตน – มุมมอง หรือทัศนคติของผู้บริโภคกลุ่มนี้ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับประชากรกลุ่มอื่น

ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท INTAGE Thailand ได้ฉายภาพพลังของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ในงานสัมมนา Marketing Day 2019  ไว้อย่างน่าสนใจ

เรามาทำความรู้จักคน Gen Z กันว่าตัวตน มุมมอง หรือทัศนคติของคนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร เพื่อแบรนด์จะได้ Engage ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ถูก !!!

Children with Technolgy

1. Gen Z เป็นลูกของ Gen X และปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรกลุ่มนี้กว่า 12 ล้านคน

แม้ Gen Z มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับ Baby Boomers และ Gen Y ก็ตาม และจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เพราะ Gen X แต่งงานน้อยลง หรือแต่งงานแล้ว ไม่มีลูก หรือมีลูก 1 – 2 คนเท่านั้น แต่กลับเป็นประชากรกลุ่มที่มี Power ทั้งการแสดงออกซึ่งสิทธิ และเสียงในสังคม

Gen Z

 

2. เกิดมาในยุค “Internet of Everything” และเป็น “Tech Innate

ด้วยความที่คน Gen Z เกิดและเติบโตมาในยุคเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต ทำให้มีความเป็น Tech Innate คือ ชีวิตและเทคโนโลยีหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว จึงไม่แปลกที่จะเห็นเด็กทารกสามารถเลื่อนหน้าจอ หรือสไลด์หน้าจอมือถือได้ ตั้งแต่ยังไม่ตั้งไข่ หรือหัดเดินด้วยซ้ำ

แตกต่างจาก Gen Y เติบโตขึ้นมาในยุคเปลี่ยนผ่านจาก Analog สู่ Digital ทำให้คนกลุ่มนี้เป็น Tech Savvy คือ เรียนรู้ เข้าใจ และอัพเดทเทคโนโลยีเสมอ

นอกจากนี้ในความแตกต่างด้านเทคโนโลยี ระหว่าง Gen Z กับ Gen Y พบอีกว่า Gen Y ชอบที่จะ Curating คือ การรวบรวม และนำมาประยุกต์ หรือปรับเปลี่ยน ตรงกันข้ามกับ Gen Z ชอบที่จะ Creating สร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาเลย

Gen Z

 

3. ไม่แบ่งแยกเพศ 

Gen Z ไม่พูดถึงเพศชาย – เพศหญิง เพราะในมุมมองของคนกลุ่มนี้ ไม่มีการแบ่งแยกทางเพศ

มีผลสำรวจสอบถาม Gen Z ว่าเราไม่ควรกีดกั้นความรักในเพศเดียวกัน ?

56% ของ Gen Z เห็นด้วยว่าไม่ควรปิดกั้นความรักในเพศเดียวกัน

ขณะที่ 48% ของ Gen Y เห็นด้วยว่าไม่ควรปิดกั้นความรักในเพศเดียวกัน

นอกจากนี้ สรรพนามที่เรียกแทนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น He, Him, His และ She, Her, Hers สำหรับมุมมองของ “Gen Z” ไม่มีคำเหล่านี้ แต่จะใช้เป็นคำ “Ze, Hir, Hirs” แทน

Gen Z

 

4. ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ความหลากหลาย และความเป็นตัวเอง

เชื่อในความเท่าเทียมกัน (Equality) เชื่อในความหลากหลาย (Diversify) และเคารพคุณค่าความเป็นตัวเอง

เพราะด้วยความที่ Gen Z เกิดมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งเศรษฐกิจ และสภาวะอากาศมีความผันผวน และเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ทำให้ทัศนคติของคนกลุ่มนี้ ยอมรับในความแตกต่าง เชื่อในความหลากหลาย และเป็นตัวเองให้มากที่สุด

 

5. เชื่อใน Real People มากกว่า Celebrity

ที่ผ่านมาจะเห็นการเติบโตของ Celebrity ที่มีผู้ติดตามหลักล้านคน, Macro Influencer และ Micro Influencer แต่ในยุคออนไลน์ และ Social Media ที่ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือ และทุกคนสามารถครีเอทคอนเทนต์ได้ ทำให้ทุกคนสามารถเป็น Nano Influencer ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตามจำนวนมหาศาล ก็สามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจให้กับคนอื่นได้เช่นกัน

นั่นเพราะ “Gen Z” เชื่อในประสบการณ์จริงของ Real People มากกว่าที่จะเชื่อ Celebrity และ Influencer ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก

Gen Z

 

6. Gen Z หาข้อมูลจากประสบการณ์ของตัวเอง และแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวกับแบรนด์

Customer Journey ของการหาข้อมูลบนดิจิทัล ประกอบด้วย 3O คือ Own Information ข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของตัวเราเอง / Others Information ข้อมูลจาก Social Media – Website ที่ไม่ใช่ของแบรนด์  เช่น Blogger หรือ Reviewer / Outer Information ข้อมูลที่แบรนด์จัดเตรียมไว้ให้

สำหรับ Customer Journey ในการหาข้อมูลของ “Gen Z” จะอยู่ที่ 2O คือ Own Information จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเอง และ Others Information หาข้อมูลจากบุคคลที่ 3 ที่ไม่ได้เกี่ยวกับแบรนด์ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า Gen Z เลือกที่จะเชื่อ หรือให้ความไว้วางใจในแหล่งข้อมูลจากประสบการณ์จริงของตัวเอง หรือของบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่มาจากแบรนด์

Gen Z

 

7. มี Brand Loyalty น้อยลง เพราะต้องการการเปลี่ยนแปลง และได้ทำสิ่งสำคัญใหม่ๆ

คำว่า Loyalty ในมุมมองของ “Gen Z” คือ มีความภักดีต่อต่อตัวเอง (Loyalty to self) ไม่ใช่ต่อแบรนด์ หรือต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มี Brand Loyalty น้อยลงมาก

จะเห็นได้จากในองค์กรทุกวันนี้ Gen Y และ Gen Z เป็นคนสองวัยที่เปลี่ยนงานบ่อย โดยเฉลี่ยอยู่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง 2 ปีก็ถือว่านานพอแล้ว

แตกต่างจาก Gen Baby Boomers และ Gen X ที่ทำงานอยู่กับที่ใดที่หนึ่งจนเกษียณ

เหตุผลที่ทำให้ Gen Z มีความภักดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อยลง เพราะคนกลุ่มนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง ต้องการมีประสบการณ์ใหม่ที่หลากหลาย และได้ทำสิ่งสำคัญใหม่ๆ เพราะฉะนั้นคน Gen Z จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy มากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้ไม่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน

Gen Z

 

8. เป็น Purpose Driven Gen เลือกทำงานกับองค์กรที่มีเป้าประสงค์ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า Gen Z เกิดมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งเศรษฐกิจ และสภาวะอากาศมีความผันผวน และเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ทำให้ประชากรกลุ่มนี้ มี Purpose หรือเป้าประสงค์อันแรงกล้าเกี่ยวกับสังคม และสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นในการเลือกทำงานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง นอกจาก Gen Z จะพิจารณาปัจจัยพื้นฐานแล้ว (ตามทฤษฎีลำดับความต้องการ 5 ขั้นของมาสโลว์) คือ อัตราเงินเดือน (Physiological Needs ตรงกับ Pay), เบเนฟิตอื่นๆ (Safety Needs ตรงกับ Perk) ประชากรกลุ่ม Gen Y ยังต้องการทำงานกับองค์กรที่มี Purpose Driven ชัดเจน ซึ่งตรงกับขั้นที่ 5 ของมาสโลว์ คือ Self-actualization

ดังน้นถ้าองค์กรที่อยากให้ Gen Z อยู่กับบริษัทนานกว่า 1 –  2 ปี ต้องเป็นองค์กรที่มี Purpose ที่ทำเพื่อสังคม หรือทำเพื่อผู้อื่น ไม่ใช่มุ่งขายของ และทำกำไรอย่างเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของ Spiritual Fulfillment ขั้นที่มากกว่าตัวเลขเงิน

Gen Z

 

9. Gen Z ไม่ใช่แค่คิดใหญ่ แต่คิดแล้ว ทำเลย และมี Passion to Success

Gen Z เมื่อคิดแล้ว จะลงมือทำเลย พร้อมกับ Learning by doing ไปด้วย และที่สำคัญคนกลุ่มนี้มี Passion to Success โดยที่บางอย่าง เขารู้ว่าทำเองคนเดียวอาจสำเร็จช้า หรือไม่สามารถทำเองคนเดียวได้ เขาจะชักชวนเพื่อนมาช่วยกัน

ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม เป็นคนรุ่นใหม่ และอายุน้อยลง ทำแคมเปญรณรงค์ให้คนในประเทศ หรือคนทั้งโลกร่วมกัน หรือกรณีของการสร้างธุรกิจ ทุกวันนี้ Entrepreneur เป็นคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้เมื่อมี Passion ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว จะลงมือทำทันที

 

10. ต้องการความจริงใจ – โปร่งใส

Gen Z ต้องการความจริงใจ โปร่งใส เชื่อถือได้ เพราะในยุคออนไลน์ และ Social Media สามารถค้นหาข้อมูลได้จากทั่วโลก ดังนั้นในมุมมองของ Gen Z บอกว่าความลับไม่มีในโลก! ยิ่งถ้าแบรนด์หมกเม็ด หรือปกปิดบางอย่าง Gen Z จะสืบเสาะหาสิ่งที่ปกปิดไว้ให้เจอ

do it now

 

แบรนด์จะครองใจ “Gen Z” ต้องเป็น “G-R-E-A-T Brand

หลังจากที่เข้าใจตัวตน มุมมอง หรือทัศนคติของคน Gen Z แล้ว คราวนี้มาดูกลยุทธ์ที่แบรนด์จะใช้ Engage และชนะใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ เป็น Good Brand ไม่พออีกต่อไป ต้องเป็น G-R-E-A-T Brand

ใน “G-R-E-A-T Brand” ประกอบด้วย

Gen Z

 

G – Generous

ตามที่กล่าวไปข้างต้น “Gen Z” ไม่แบ่งแยกเรื่องเพศ และเคารพในคุณค่าความเป็นตัวเอง (Self Authentic) ดังนั้นแบรนด์ที่จะชนะใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ ต้องเป็นแบรนด์เปิดกว้าง และให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียม (Equality) เข้าใจในความแตกต่าง และความหลากหลาย (Diversity)

ตัวอย่างของ Gen Z ที่เชื่อมั่นในคุณค่าความเป็นตัวเองเช่น “เนสตี้ สไปร์ทซี่” Net Idol อายุ 12 ปีดังมาจาก Social Media เพราะการแสดงความสามารถด้านการแต่งตัว และแต่งหน้า ทำให้กลายเป็น Influencer ด้านความงามที่มีผู้ติดตาม และมีงานเข้ามา ทำให้สามารถเก็บเงิน สร้างบ้านให้คุณพ่อคุณแม่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย บวกกับรักในการเรียน

Gen Z

ขณะเดียวกันในมุมของแบรนด์ พบว่าปัจจุบันแบรนด์ใหญ่หลายราย เริ่มไม่พูดถึง “Gender” เช่น

“สายการบินแคนาดา” ได้เปลี่ยนประโยคประกาศถึงผู้โดยสาร จาก “Good Morning Ladies and Gentlemen” ไปเป็น “Good Morning Everybody” เพื่อไม่ต้องมีการแบ่งแยกแล้วว่าใครเป็นผู้หญิง – ใครเป็นผู้ชาย

หรือกรณีศึกษาผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป Pampers ทำแคมเปญการตลาดที่สื่อถึงความเท่าเทียม โดยนำผ้าอ้อมเด็กไปไว้ในห้องน้ำผู้ชาย เพื่อสื่อสารว่าการเลี้ยงลูก – การเปลี่ยนผ้าอ้อมลูก ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของคุณแม่คนเดียว แต่เป็นหน้าที่ของทั้งพ่อและแม่

Gen Z

 

R – Real

พัฒนาการการตลาดเปลี่ยนจากยุค Product Centric >> Customer Centric >> Human Centric” ซึ่งเป็นยุคปัจจุบันของแบรนด์ เพราะฉะนั้นแบรนด์ที่ได้ใจผู้บริโภค Gen Z ต้องเป็น “Human Brand” คือ แบรนด์ที่ Real และ Flawsome (Flaw + Awesome) ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ

ตัวอย่างเช่น “บังฮาซัน” ขายอาหารทะเลตากแห้ง จังหวัดสตูล จากที่เริ่มขายผ่านออนไลน์ ช่วงแรกขายไม่ได้เลย ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนวิธีการขาย โดยไม่ได้อิงทฤษฎีการตลาดใดๆ แต่ด้วยสไตล์การขายที่ดู Real จริงใจ – สนุก สามารถดึงคนมาติดตามเพจ และทำรายได้หลักล้านบาท

Gen Z

 

E – Environmental Concerns

ด้วยความที่ Gen Z เกิดมาในยุคสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย และเริ่มปรากฏให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้คนรุ่นนี้ตระหนักต่อการดูแล และรักษาสิ่งแวดล้อม

เพราะฉะนั้นแบรนด์ในยุคนี้ ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นลำดับต้นๆ เพราะถ้าแบรนด์ไม่ให้ความสำคัญ ในที่สุดแล้ว Gen Z จะกดดันให้แบรนด์ต้องมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาในอดีตของ “เนสท์เล่” ความที่เป็นบริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ทำให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์อยู่ในปริมาณมาก เมื่อเป็นเช่นนี้คนรุ่นใหม่ จึงลากขยะไปไว้หน้าสำนักงานใหญ่เนสท์เล่ เพื่อผลักดันให้บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์

กรณีดังกล่าวสะท้อนเห็นว่า คนรุ่นใหม่ ต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ดังนั้นแบรนด์ นักการตลาดต้องลงมือบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ ก่อนที่จะถูกสังคม หรือผู้บริโภคกดดันให้ทำ!

นอกจากนี้สิ่งที่ตามมาในยุค Environmental Concerns คือ บทบาทของ “แพ็คเกจจิ้ง” เปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ 3P เท่านั้น คือ Protect – Preserve – Promote ทำหน้าที่ในฐานะ Silent Salesman

แต่ยังเพิ่มหน้าที่อีก 3R คือ Reduce – Reuse – Recycle

มีกรณีศึกษา Youtuber คนหนึ่ง มี passion อยากปลูกต้นไม้ หลังจากเห็นสภาพอากาศแปรปรวน และปัญหาไฟป่า จึงชวนเพื่อนๆ ใน Social Media มาปลูกต้นไม้ เบื้องต้นตั้งเป้า 20 ล้านคน และเงินระดมทุน เพื่อบริจาคต่อไป 2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ภายใน 48 ชั่วโมง ได้เงินบริจาค 5 ล้านเหรียญสหรัฐ เกิดกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก

เหตุที่ได้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะคนรุ่นใหม่รู้สึกว่าทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจกันปกป้อง – ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม

Gen Z

 

A – Action

ที่ผ่านมานักการตลาด เจ้าของแบรนด์มักถูกสอน หรือเรียนรู้มาว่า ต้องเล่าเรื่องเก่งๆ แบรนด์ต้องมี Story แต่สำหรับมุมมองของ Gen Z ไม่ได้สนใจว่าแบรนด์นั้นๆ จะเล่าเรื่องเก่งแค่ไหน เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ ให้ความสำคัญกับ การลงมือทำเลย หรือ Brand Doing และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมากกว่า

ด้วยเหตุนี้เองนิยามของ “ROI” จึงแตกต่างไปตาม Generation

ยุค Baby Boomers และ Gen X นิยามของ ROI คือ Return On Investment

ต่อมา Gen Y มองว่า ROI คือ Return On Influence เป็นยุคของ Influence และมี Viral หรือการตลาดเยอะๆ

ขณะที่ Gen Z มองว่า ROI คือ Return On Impact

โดยผู้บริโภค Gen Z จะมองว่าสิ่งที่แบรนด์ทำนั้น เป็น Real Action และก่อให้เกิด Impact กับใครบ้าง ไม่ใช่แค่เฉพาะกับแบรนด์ กับยอดขาย แต่ต้องสร้าง Impact ให้กับทั้ง “People – Planet – Profit

ตัวอย่างเช่น แคมเปญวิ่งของตูน – บอดี้สแลม เพื่อระดมทุนเป็นค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศ ส่งผลให้ทุกวันนี้ ตูน – บอดี้สแลม เป็น Idol ของ Gen Z

Gen Z

 

T – Transparency

แต่ก่อนเราจะเห็นว่าธุรกิจ ไม่บอกสิ่งที่ตนเองทำทั้งหมด เปรียบเป็น Black Box ที่เก็บความลับเอาไว้ หรือถ้าบอก ก็บอกความจริงแค่ครึ่งเดียว

แต่สำหรับ Gen Z ยิ่งแบรนด์ไหนเก็บความลับ หรือบอกความจริงไม่หมด ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะยิ่งหาให้เจอว่าอะไรคือความลับที่ซ่อนอยู่

เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจยุคนี้ ต้องเป็น Glass Box Business คือ โปร่งใส ต้องไม่บอกความจริงแค่ครึ่งเดียว และในกรณีแบรนด์เกิดความผิดพลาดขึ้น ต้องรีบออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอโทษ พร้อมแจ้งจะรีบดำเนินการแก้ไข

Gen Z

เช่นกรณีศึกษาน้ำดื่ม Sprinkle ที่ออกขวดน้ำเปล่า Limited Edition รุ่น Star Wars เพื่อให้แฟนคลับภาพยนตร์เรื่องนี้สะสม ปรากฏว่าวันหนึ่งได้ออกมาขอโทษผู้บริโภค เหตุเพราะการผลิตขวดล็อตหนึ่ง มีฝาขวดสีผิดเพี้ยนไป จึงรีบส่งจดหมายขอโทษ พร้อมทั้งโพสต์บน Social Media และแจ้งว่าจะรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

ปรากฏว่าได้ใจ Gen Z ไปเต็มๆ และกลายเป็นโอกาสให้กับแบรนด์ที่สามารถบริหารจัดการวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหลังจากนั้น ผู้บริโภคก็ตามหาซื้อน้ำดื่มที่ฝาขวดสีผิดเพี้ยน โดยมองว่าเป็น Limited Edition

Gen Z

หรือกรณี “สายการบินคาเธย์ แปซิฟิค” ประกาศราคาตั๋วเครื่องบินชั้น First-class เส้นทางบินเวียดนาม – นิวยอร์กผิดราคา ความจริงต้องอยู่ที่ 16,000 เหรียญสหรัฐ แต่กลับผิดพลาดใส่ราคาไป 675 เหรียญสหรัฐ ปรากฏว่ามีคนจองตั๋วเข้ามาเร็วมาก

คาเธย์ แปซิฟิค จึงบริหารวิกฤตความผิดพลาดนี้ ให้เป็นโอกาส ด้วยการโพสต์ข้อความลงบน Social Media โดยยอมรับถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการลงราคาตั๋วผิด แต่ถึงอย่างไรราคาตั๋วดังกล่าว ขอมอบให้เป็นของขวัญเซอร์ไพรส์ปีใหม่ 2019 ให้แก่ผู้โดยสาร

พร้อมทั้งใส่ hashtag ที่ได้ใจ Gen Z คือ #promisemadepromisekept และ #lessonlearnt

ดังนั้น Gen Z ต้องการแบรนด์ที่ Doing Fast – Learn Fast – Fail Fast ,but Lesson Learn

Gen Z

Marketing Day 2019
ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท INTAGE Thailand

  • 831
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ