เริ่มทำ SandBox กะบะทรายเพื่อใช้ทดลองไอเดีย Content

  • 77
  •  
  •  
  •  
  •  

ยุคนี้จำนวน Content ที่ผลิตมาในช่วงเวลา 1 นาทีนั้น มีจำนวนมากมาย และไม่ใช่แค่แบรนด์ เซเล็ป หรือ Publisher เท่านั้นที่เป็น Content Creator ในปัจจุบัน แต่ในยุคนี้ใคร ๆ ก็เป็น Content Creator เองได้และสร้างเนื้อหา Content อันมากมายที่แย่ง Audience ไปจากแบรนด์และ Publisher ต่าง ๆ ไป จนทั้ง Brand และ Publisher เหล่านี้ต้องเลียนแบบ หรือหันไปใช้งาน Content Creator เหล่านี้แทน ซึ่งสิ่งนี้นั้นเป็นเพราะสิ่งที่ Content Creator นั้นทำได้ และแบรนด์กับ Publisher นั้นทำไม่ได้

infographic-what-happens-on-facebook-in-one-minute-social-media-stats

แบรนด์และ Publisher นั้นต่างอยู่ในกรอบที่แบรนด์และ Publisher สร้างเอาไว้ ทั้งตัวตน ทั้งรูปแบบการสื่อสาร และการเจาะกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งโครงสร้างองค์กร สายการทำงาน และการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้ขยับตัวต่าง ๆ ได้ยากมาก และทำให้การทำงานต่าง ๆ ไม่สามารถทำอะไรที่รวดเร็วหรือมีความเสี่ยงในการลองอะไรใหม่ ๆ ได้ แม้ว่านักการตลาดของแบรนด์หรือผู้บริหาร Publisher บางคนจะพร่ำหาอะไรใหม่ ๆ แต่พอเอาอะไรใหม่ ๆ มานำเสนอ ก็จะไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำ พร้อมถามถึง Success Case หรือใครที่ทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งมันช่างย้อนแย้งกับสิ่งที่ต้องการเหลือเกิน ทั้งนี้ถ้านักการตลาดต้องการที่จะเป็นผู้นำ สร้างความแตกต่างหรือทำให้คนสนใจแล้วติดตามการกล้าเสี่ยงที่จะ content ใหม่ ๆ หรือกล้าที่จะทำอะไรออกนอกกรอบจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ลืมกฏต่าง ๆ แล้วลงมือทำ ซึ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ content crator สามารถสร้าง content อะไรที่ตื่นตาตื่นใจได้ เพราะ Content Creator เหล่านี้สามารถทดลองสิ่งใหม่ๆ  และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากการทำงาน Content ในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นจนสามารถสร้างสูตรสำเร็จหรือแนวทาง content ขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้คนติดตามแล้วกลายเป็น Viral Content ที่ทำตาม ๆ กันต่อมา

ss-sandbox_buckets

ทั้งนี้แบรนด์และ Publisher ต่างติดอยู่ในรูปแบบนี้ทำให้ไม่สามารถลองอะไรใหม่ ๆ หรือแหกกฏออกไปได้ สิ่งหนึ่งที่ทำได้ นั้นคือใช้แนวคิดแบบ Design รูปแบบหนึ่งคือการไปสร้าง Sand Box Channels ของตัวเอง ที่ไม่ได้เกี่ยวกับแบรนด์หรือเรื่องของ Publisher ขึ้นมา ซึ่ง SandBox นี้เปรียบได้กลับกะบะทรายที่นักการตลาดจะสามารถเข้าไปทดลองอะไรใหม่ ๆ หรือเสี่ยงทำอะไรก็ได้ใน Channels นี้เพื่อหาว่า content แบบไหนที่จะสามารถได้ผล หรือ ไม่ได้ผลกับแนวทางของตัวเองขึ้นมาได้ ด้วยการทำเช่นนี้ทำให้นักการตลาดสามารถเปิดโอกาสได้อย่างมากมาย และทำการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้อีกช่องทางหนึ่ง แถมสุดท้ายถ้า Channels นี้ดังขึ้นมาก็ยังกลายเป็นช่องทางใหม่ที่จะกลายเป็นที่ปล่อย Content ของแบรนด์ได้เช่นกัน รูปแบบนี้วิธีคิด SandBox นี้ไม่ต่างอะไรกับการทำ Unbranded Channel ที่ใช้กับแบรนด์ที่อยากสร้างกระแสให้แบรนดืโดยไม่อยากจะบอกว่าเป็นแบรนด์ทำ หรือสร้าง Community ที่สนับสนุนแบรนด์ขึ้นมาโดยแบรนด์เป็นผู้ผลักดันอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งนิยมทำในกลุ่มแบรนด์ที่ไม่สามารถโฆษณาตรง ๆ ได้ จึงสร้างชองทางแบบนี้ขึ้นมาเพื่อสามารถแทรกโฆษณาหรือแบรนด์ตัวเองเข้าไปเพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจขึ้นมาได้ ซึ่งรูปแบบนี้ทำให้เกิดอิสระมากกว่าช่องทางของแบรนด์แบบ Official แต่ยังไม่อิสระเท่ากับการเป็น Sandbox ที่ไม่มีกฏเกณฑ์อะไร เป็นการให้ได้ลอง content อะไรใหม่ ๆ มากกว่า

Screen-Shot-2017-04-06-at-4.53.32-PM

การทำ Sandbox นี้มีข้อดีคือแบรนด์สามารถสร้างทีมเล้ก ๆ หรือใช้ทีมเดิมในการทดลองหาเนื้อหาหรือสร้าง Content อะไรใหม่ ๆ ลงไป จะใช้ Channel ของตัวพนักงานเองในการทำ โดยแบรนด์สนับสนุนงบประมาณในการทำขึ้นมา และการทำอะไรในช่องทางนี้ยังสร้างความรวดเร็วมากกว่าช่องทางปกติที่ต้องผ่านการตัดสินใจในหลาย ๆ ขั้นตอนขึ้นมา ซึ่งถ้าช่องทางนี้ประสบความสำเร็จก็สามารถเอาไปใช้งานต่อในช่องทางจริง ๆ ได้ทันที ส่วนข้อเสียของช่องทาง SandBox นี้คือการที่แบรนด์หรือ Publisher นั้นต้องใช้เวลามากขึ้นในการทำ Content 2 ที่ เสียทรัพยาการและทีมงานมากขึ้นในการที่จะทำ Channels ใหม่ขึ้นมา และสุดท้ายยังเป็นการ Double Budget ของตัวเองขึ้นมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังต้องพึ่งความสามารถของทีมงานที่ต้องคิดริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งถ้าทีมงานไม่สามารถคิดอะไรใหม่ ๆ ได้ ช่องทางนี้จะกลายเป็นช่องทางที่เสียเปล่าไปในทันที

Hypthesis-ab-testing-Truconversion

จากทั้งข้อดีและข้อเสียของ Sandbox แบรนด์และผู้ผลิตสื่อตั้งชั่งน้ำหนักว่าสมควรที่จะทำไหม แต่ในฐานที่มีประสบการณ์ที่เจอกับการ Content มานาน คิดว่าข้อดีนั้นมากกว่าข้อเสียอย่างแน่นอน ในภาวะการตลาดที่แข่งขันกันมากมายเช่นนี้ในสมรภูมิที่ใครก็ได้สามารถผลิต content และไม่ได้แข่งแค่ Content ภายในประเทศ แต่ยังมี content จากต่างประเทศมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาในทุก ๆ วัน ความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ที่สามารถสร้างความน่าสนใจที่ผู้บริโภคจะติดตามได้ต่อไป Sandbox นั้นต้องการคนที่มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ มาคอยควบคุมและดูแล การไม่มีกฏเกณฑ์ใด ๆ มาควบคุม ย่อมทำให้ความคิดสร้างสรรค์สามารถเปิดกว้างและทำอะไรใหม่ ๆ ที่สามารถคิดได้สุดโต่ง แสดงพลังครีเอทีฟได้จนสุดออกมา ถ้าไม่มีคนเช่นนี้แล้ว Sandbox ก็จะเสียเปล่าไม่ต่างอะไรกับสนามเด็กเล่นที่ไม่มีใครเล่น


  • 77
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ