ในยุคที่ผู้คนหาข้อมูลได้เองมากมายเช่นนี้ ทำให้การทำการตลาดนั้นมีการแข่งขันที่สูงมากในการดึงดูดหรือสร้างคนที่เป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นต่อไปให้ได้นานที่สุด แต่ด้วยวิธีการใหม่ ๆ ที่นักการตลาดใช้ที่จะสร้างแฟนหรือสร้างฐานลูกค้านี้กลับทำลายความเชื่อใจของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกว่าถูกหลอกมากขึ้นไปอีก และนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ Social Media ที่อยากจะขายของแบบเดียว
กระบวนการใช้ Social Media Marketing นั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งของนักการตลาดในยุคนี้ที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคที่ใช้งานอยู่ในนี้จำนวนมากมาย และสามารถแชร์จนทำให้แบรนด์นั้นได้ earn media อย่างมากมาย ทำให้แบรนด์ประหยัดงบในการทำการตลาด แถมยังได้เสียงของผู้บริโภคในการนำเสนอแบรนด์แทนตัวเอง ซึ่งนี้เป็นข้อดีอย่างมาก เพราะผู้บริโภครนั้นเชื่อในสิ่งที่คนรอบข้างบอกมากกว่าที่แบรนด์จะมาบอกหรือเล่านั้นอยู่แล้ว เมื่อกระบวนการนี้ถูกทำมาขึ้นเรื่อย ๆ การสร้างปฏิสัมพันธ์นั้นไม่พออีกต่อไป ทำให้แบรนด์ต้องสร้างรายได้เข้ามาด้วย กระบวนการทำการขายสินค้าหรือนำเสนอสินค้าผ่านเนื้อหาที่จะปฏิสัมพันธ์นั้นจึงตามมา และนี้เองทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกไม่ดีที่โดนทำเช่นนี้
จากการวิจัยที่ทำโดย Censuswide ที่อังกฤษพบว่าผู้บริโภคนั้นมีความไม่เชื่อใจแบรนด์นั้นมากขึ้น โดยผู้บริโภคนั้นรู้สึกว่าแบรนด์นั้นจ่ายเงินให้ผู้บริโภคบางคนเพื่อแชร์ความคิดเห็นดี ๆ ลงบน Social Media หรือ จ่ายเงินเพื่อให้คนใน Social Media บางคนเพื่อนำเสนอโปรโมชั่นของแบรนด์ โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้บริโภครู้ว่านี้คือการจ่ายเงินหรือทำโฆษณาอยู่ ทั้งนี้งานวิจัยนี้บอกว่าแบรนด์ที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่แบรนด์เล็ก ๆ แต่เป็นแบรนด์ใหญ่ ๆ อย่าง P&G หรือ Mondelez ซึ่งเนื้อหาของแบรนด์ที่ทำออกมานี้ได้ถูกแบนโดย Advertising Standards Authority เพราะว่าไม่ได้แจ้งให้ชัดเจนถึงการจ้างงาน Vlogger ในการโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางของ Vlogger นั้นเอง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ผู้บริโภคนั้นตั้งคำถามถึงความจริงใจของแบรนด์ในสิ่งที่กำลังดูอยู่ และกำลังทำให้เกิดกระแสของการระวังการทำ Content แบบนี้ในอังกฤษ จากงานวิจัยนี้ทำให้ Chartered Institute of Marketing ที่อังกฤษนั้นเชื่อว่า เป็นสัญญาณเตือนภัยของแบรนด์ในการใช้ Social Media เพื่อทำการตลาดให้ถูกต้องต่อผู้บริโภค และสิ่งที่เกิดขึ้นจากค้นค้วาวิจัยนี้คือเป็นเพราะนักการตลาดนั้นไม่เข้าใจกฏว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ ใน Social Media ซึ่งผลที่ตามมานั้นคือ การที่แบรนดืนั้นสามารถเกิดความเสียหายได้ต่อไป เมื่อผลของการกระทำแบบนี้ถูกเปิดเผยและแพร่ไปสู่สาธารณะเช่นกัน จากการที่ Censuswide วิจัยมานั้นคือเมื่อเกิดกรณีขึ้นแบรนด์จะสูญเสียความเชื่อใจไปถึง 38%
งานวิจัยนี้เป็นสิ่งที่เตือนนักการตลาดในไทยได้อย่างดี ในการสร้างความจริงใจของแบรนด์ต่อผู้บริโภคไม่ว่าทางไหนก็ตาม ซึ่งในประเทศไทยนั้นเราเห็นกระบวนการเปิดเผยหน้าม้าหรือการทำสิ่งที่เรียกว่า Seeding ในเว็บไซต์ pantip.com เสมอมา และเมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็เกิดกระแสลบต่อแบรนด์มากมาย จนแบรนดืต้องออกมาแก้กระแสนี้มากมาย ทั้งนี้ต้องคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นจากการที่นักการตลาดนั้นเชื่อในการนำเสนอของ Agency ที่มาเสนอวิธีการต่าง ๆ และหลาย ๆ ที่มักเสนอการทำ Seeding หรือการจ้างทำรีวิวที่บอกผู้บริโภคว่าเป็นรีวิวที่ทำเองอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการขายความเชื่อใจของผู้บริโภคด้วยกันเอง และเหมือนหลอกผู้บริโภคว่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่แบรนด์ทำ และเมื่อมันถูกจับได้แน่นอนว่าย่อมเกิดผลเสียอย่างมากแน่นอน ทั้งนี้ในยุคนี้ผู้บริโภคนั้นยอมรับได้ที่แบรนด์จะทำ Content และบอกตรง ๆ มากกว่าว่ากำลังทำอะไรอยู่ ทั้งนี้ถ้า Content นั้นดีก็จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ และทำให้เกิดการแชร์ต่อไปอย่างมาก นอกจากนี้ด้วยกระบวนการที่นักการตลาดในไทยเชื่อว่าการทำ Content ที่ไม่ขายของนั้นจะสามารถดึงให้ผู้บริโภคอยู่กับแบรนด์ได้นาน ๆ หรือทำการแชร์ข้อความของแบรนด์นั้นออกไปสู่คนที่ติดตามหรือเพื่อนของตัวเอง ทำให้นักการตลาดจ้างเอเจนซี่ทำเนื้อหาหรือทำเนื้อหาใน Social Media เอง แต่ด้วยความที่คิดว่าจะต้องขายของได้ด้วย ทำให้นักการตลาดส่วนหนึ่งทำ Content ที่แฝงโฆษณาเข้าไปในเนื้อหานั้น ๆ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคอ่านแล้วรู้สึกถูกหลอกใน Content ที่ไม่ควรขายของ และทำให้ผู้บริโภคนั้นหมดความเชื่อใจลง
ในยุคนี้การทำ Content นั้นต้องคิดว่ามันไม่ใช่ปืน Sniper ที่ยิงแล้วจะได้ลูกค้ามาเลย แต่เป็นกระบวนการเสริมการทำงานของ Content แต่ละแบบกัน ที่มีทั้งขายของและไม่ขายของ ซึ่งสิ่งสำคัญคือความจริงใจและความโปร่งใสของแบรนด์ในการทำเนื้อหานั้น ๆ ต่อผู้บริโภค และเข้าใจว่าผู้บริโภคนั้นต้องการอะไร แล้วเราจะตอบสนองความต้องการแบบนั้นอย่างไร แบรนด์ที่ดี นักการตลาดที่ดีควรจะทำการตลาดที่โปร่งใสและเชื่อถือได้ และพิจารณาทุกครั้งในการจะทำการตลาดสีเทาต่าง ๆ ขึ้นมาว่าจะคุ้มค่าต่อสิ่งที่ได้รับไหมต่อไป
Copyright © MarketingOops.com