เมื่อโฆษณาก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้บริโภคยุคปัจจุบันโดยมิอาจหลีกหนีได้ มาดูกันว่าพวกเขารู้สึกและมีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างจากภาพยนตร์โฆษณาหรือ tvc ในปี 2551 ที่ผ่านมา จากผลสำรวจของนาโนเซิร์ซในหัวข้อที่ชื่อว่า “ผู้บริโภคชอบดูโฆษณา?”
กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นเพศชาย 40.5% และเพศหญิง 59.5% สัดส่วนอายุของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี 30% ช่วงอายุ 26-35 ปี 33.5% และ ช่วงอายุมากกว่า 35 ปี 36.5% สำหรับรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในช่วงรายได้มากกว่า 20,000 บาท 48% ช่วงรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 29.5% และ ช่วงรายได้ 10,000 – 20,000 บาท 22.5% ตามลำดับ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและกลุ่มนักศึกษา
โฆษณา ของแสลงของคนดู?
ปี 2551 ที่ผ่านมามี TVC ออกอากาศมากมาย และมีถึง 48% ของกลุ่มตัวอย่างที่รู้สึกไม่ชอบภาพยนตร์โฆษณา ขณะที่อีก 37% บอกว่าชอบภาพยนตร์โฆษณา
ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อการชมภาพยนตร์
- ไม่ชอบ 48%
- ชอบ 37%
- เฉยๆ 15%
ขึ้นชื่อว่าโฆษณา ความคิดสร้างสรรค์ขาดไม่ได้
ผู้บริโภคได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของชิ้นงานโฆษณานั้นพบว่า สิ่งที่ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์ของภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดโดยให้น้ำหนัก48% ด้านเนื้อหาของภาพยนตร์โฆษณา คิดเป็น 33.5% และการสื่อสารข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าถึงผู้บริโภค หรือ Product Information 9% ตามลำดับ ขณะที่ให้ความสำคัญกับเทคนิคในการถ่ายทำเพียง 1.5% และมี 6% ที่ให้ความสำคัญกับดาราที่ใช้ในโฆษณา
นั่นหมายความว่าผู้บริโภคชอบดูโฆษณาที่มีไอเดียบรรเจิดมากกว่าจะมีฉากหรือเทคนิคตระการตา ไอเดียดับต่อให้โปรดักชั่นหรูหราก็ไม่เกิด
องค์ประกอบสำคัญของโฆษณาในความคิดเห็นของผู้บริโภค
- ฉาก 0.5%
- ระยะเวลาของเรื่องนั้นๆ 1.5%
- เทคนิคในการถ่ายทำ 1.5%
- นักแสดง-ดาราที่นำมาแสดงในโฆษณา 6.0%
- ข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อถึงผู้บริโภค 9.0%
- เนื้อหาของโฆษณา 33.5%
- ความคิดสร้างสรรค์ 48%
ปี 2551 โฆษณาน้ำดี
หากให้ผู้บริโภคมองในเรื่องของคุณภาพของผลงานโฆษณานั้น พบว่าผู้บริโภคเห็นว่าผลงานโฆษณาในปี 2551มีคุณภาพ 78% โดยให้เหตุผลของการสนับสนุนงานโฆษณาที่เห็นว่าคุณภาพ เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่า ผลงานโฆษณามีเนื้อหาดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี คิดเป็นร32.5% ลำดับต่อมาคือ ชิ้นงานโฆษณาให้ข้อคิดมีเนื้อหาสาระที่ดี 16.6% และโฆษณานั้นมีประโยชน์เพราะทรอดแทรกความรู้เพิ่มไปด้วย 13.4% สำหรับผู้บริโภคที่เห็นว่าชิ้นงานโฆษณาที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีคุณภาพ เพราะเห็นว่ายังไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างงานโฆษณา และ เห็นว่าทำงานโฆษณาออกมาแล้วไม่เข้าใจดูไม่รู้เรื่อง
ซึ่งเป็นประโยชน์ให้เอเยนซี่โฆษณานำไปทบทวนและปรับปรุงผลงานให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น
คุณภาพของงานโฆษณาในสายตาผูบริโภค
- ไม่มีคุณภาพ 22%
- มีคุณภาพ 78%
เหตุผลการสนับสนุนผลงานโฆษณามีคุณภาพ
- มีเนื้อหาดีและมีความคิดสร้างสรรค์ดี 32.5%
- ให้ข้อคิดที่มีเนื้อหาสาระที่ดี 16.6%
- ทุกโฆษณานั้นมีประโยชน์เพราะสอดแทรกความรู้เพิ่มไปด้วย 13.4%
- โฆษณาบางชนิดช่วยสะท้อนความคิดของคนมากขึ้น 8.9%
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและทราบจุดประสงค์ของสินค้ามา 8.3%
- โฆษณาสามารถทำให้คนดูเกิดแรงบัลดาลใจ 7.6%
- สามารถเรียกกระแสความนิยมของคนชมได้เพราะโฆษณามีคุณภาพ 5.1%
- โฆษณาบางตัวทำออกมาสะท้อนภาพสังคมอย่างชัดเจน 4.5%
- ดูแล้วไม่เครียด 2.5%
“ไทยประกันชีวิต” ที่สุดแห่งความประทับใจ
งานโฆษณาที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุดจากการสำรวจครั้งนี้คือ งานโฆษณาของบริษัท “ไทยประกันชีวิต” นำโด่งด้วยสัดส่วน 44% ลำดับต่อมาคือ งานโฆษณาของบริษัท “AIS” 6% และ โฆษณาของ “HAPPY DTAC” 4%
เป็นที่น่าสังเกตว่า tvc ทั้ง 3 ชุด เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Emotional และมี tvc ของเครื่องดืมแอลกอฮอล์ติดอันดับ top 10 ถึง 2 ชิ้นด้วยกัน
ชิ้นงานโฆษณาในปี 2551 ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ
- กระดาษไอเดีย 2%
- ฮอลล์ 2%
- พอนด์ 2%
- 100 pipers 2.5%
- รีเจนซี่ 2.5%
- Smoot E 3%
- จอห์นนี่วอล์กเกอร์ 3.5%
- Happy Dtac 4%
- AIS 6%
- ไทยประกันชีวิต 44%
เคน-แอ๊ฟ คู่ขวัญพรีเซนเตอร์
สำหรับดารา-นักแสดง – นักร้อง ที่ผู้บริโภคต้องการให้มาเล่นภาพยนตร์โฆษณาจำนวน 10 ลำดับ ดังนี้ จำแนกชายและหญิงในแต่ละลำดับ ซึ่งผลสำรวจปรากฎว่า เคน ธีระเดช และแอ๊ฟ ทักษอร 2 พระนางจากช่อง 3 กลายเป็นขวัญใจอันดับ 1 ของกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งนี้ในจำนวน 10 อันดับของแต่ละฝ่ายชายหญิงพบว่ามีโน็ต อุดมและโอปอล์ ซึ่งมีคาแรกเตอร์ตลก ขำขัน ติดโผเข้ามาด้วยนอกเหนือจากพระเอกนางเอกแถวหน้าของวงการบันเทิง
ฝ่ายชาย % ฝ่ายหญิง
- เคน ธีรเดช 18%
- แอ็ฟ ทักษอร 13.5%
- โดม ปกรณ์ ลัม 4%
- แพนเค้ก เขมนิจ 8.5%
- ปอ ทฤษฎี 3%
- แอน ทองประสม 7.5%
- วิลลี่ แมคอินทอช 3%
- อั้ม พัชราภา 5%
- เวียร์ ศุกลวัฒน์ 2.5%
- หมิว ลลิตา 3.5%
- ตูน บอดี้สแลม 2.5%
- กบ สุวนันท์ 3%
- ฟิล์ม รัฐภูมิ 2.5%
- นก สินจัย 2.5%
- พอล ภัทรพล 2.5%
- พอลล่า เทเลอร์ 2.5%
- โน๊ต อุดม 2.5%
- พลอย เฌอมาลย์ 2.5%
- อั้ม อธิชาติ 2.0%
- หยาดทิพย์ ราชปาล 2%
- หนุ่ม ศรราม 2%
- ปาณิสรา (โอปอล์) 2%
- มาริโอ้ เมาเรอ 2%
- เป้ย ปานวาด 2%
เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพต้องสื่อสารให้รู้เรื่อง
- เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 13.5%
- อาหารเพื่อสุขภาพ 8.5%
- เครื่องสำอาง 7%
- ยา 5.5%
- การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน 5.5%
- เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 4%
- อาหารกระป๋อง 4%
- โลชั่นทาผิว/บำรุงผิว 4%
- การท่องเที่ยวไทย 4%
- ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 3.5%
- โน๊ตบุ๊ค 3.5%
สื่อทีวียังไงก็ได้ใจ
เนื่องจากชีวิตของผู้บริโภคทุกวันนี้มีสื่อหลากหลายประเภทเข้ามาปะทะ จากผลสำรวจพบว่าสื่อที่ผู้บริโภคเห็นว่าน่าสนใจมากที่สุดคือ สื่อหลักที่ยังคงทรงอิทธิพลอยู่อย่าง โทรทัศน์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.75 ลำดับต่อมาคือ สื่ออินเตอร์เน็ต ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.56 และ สื่อหนังสือพิมพ์ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.53
สื่อ/Mean (ค่าเฉลี่ยระดับความน่าสนใจของสื่อ/Std. Deviation)
- โทรทัศน์ 4.75%, 0.6%
- วิทยุ 3.05%, 1.06%
- หนังสือพิมพ์ 3.53%, 0.97%
- นิตยสาร / วารสาร 3.11%, 1.01%
- อินเตอร์เน็ต 3.56%, 1.21%
- สื่อเคลื่อนที่ 2.58%, 1.06%
- สื่อกลางแจ้ง 2.57%, 1.15%
(คะแนนเต็ม 5 คะแนน)
Source: Positioning Magazine โดย อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์