เตรียมเคลื่อนทัพ 4 กลุ่มธุรกิจปี 66 พร้อมยึด Sustainable Growth โตระยะยาว

  • 50
  •  
  •  
  •  
  •  

 


รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่ใช้สมาร์ทโฟนในกลุ่มอาเซียนมากที่สุด  ส่งผลให้ตลาดแอปพลิเคชั่นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะองค์กรธุรกิจหรือเหล่าบรรดา Tech Startup ก็ต่างพากันพัฒนาแอปฯ เพื่อให้ทุกคนได้มีฟังก์ชันที่หลากหลาย พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็จบได้ภายในแอปฯเดียว 

หนึ่งใน Super App ของประเทศไทยที่หลาย ๆ คนก็รู้จักเป็นอย่างดี คงหนีไม่พ้น บริษัทแกร็บประเทศไทย ที่เริ่มต้นด้วย Food Delivery ซึ่งแอปฯ Food Delivery ส่วนใหญ่ มักมีความถี่ในการเข้าใช้งานสูง โดยเฉพาะช่วง Work From Home ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อวัน ทำให้แกร็บมี Data ต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน 

จุดนี้เองแกร็บจึงกลายมาเป็น Super App ที่ประสบความสำเร็จ และวันนี้ Marketing Oops! จะพาทุกคนมาสรุปภาพรวมของแกร็บในปี 2565 ที่ผ่านมา ว่าแกร็บมีการวางแผนอย่างไรให้น่าสนใจ และมาติดตามกันว่า ในปีนี้แกร็บมีกลยุทธ์หรือเป้าหมายอะไรบ้าง

3 ธุรกิจหลักภายใต้แกร็บ

1.บริการการเดินทาง (Mobility) : เป็นธุรกิจที่ใหญ่มากก่อนช่วงสถานการณ์โควิด ในปีที่ผ่านมาแกร็บได้รับการรับรองแอปพลิเคชันจากกรมการขนส่งทางบก โดยปัจจุบันบริการการเดินทางของแกร็บกลับมามียอดใช้บริการมากกว่าช่วงก่อนโควิด และหลังจากที่มีการเปิดประเทศ ยอดใช้บริการในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติพุ่งขึ้นถึง 152% โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ที่เป็นช่วงท่องเที่ยว มียอดการเติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 33%

2.บริการเดลิเวอรี (Deliveries) : เป็นธุรกิจที่ผลตอบรับดีอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคมีความเคยชินกับการใช้แอปอยู่แล้ว ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

  • เช่นเดียวกับบริการแกร็บฟู้ด (GrabFood) ยังคงเติบโต โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดซึ่งในปีที่ผ่านมาเติบโตสูงกว่าในกรุงเทพฯ ถึง 3 เท่า มีการให้บริการใน 68 จังหวัด และเน้นการขยายการให้บริการในขนาดอำเภอมากกว่าจะไปสู่จังหวัดเล็กๆ ที่แกร็บประเมินแล้วว่าจะมียอดผู้ใช้บริการน้อย สำหรับ Basket Size หรือมูลค่าในการจ่ายเพื่อซื้อสินค้าใน 1 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 18%
  • บริการแกร็บมาร์ท (GrabMart) เทรนด์การสั่งสินค้าประเภทของสดยังคงเติบโต โดยมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของสินค้าทั้งหมด ขณะที่ตัว Basket Size เพิ่มขึ้น 28%

3.บริการทางการเงิน (Financial Services) : แกร็บได้มีธุรกิจทางการเงินใหม่ ๆ อาทิ บริการสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับพาร์ทเนอร์คนขับ และบริการ PayLater เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการด้านการเงินให้กับผู้ใช้บริการ

ซึ่งในปัจจุบัน แกร็บถือเป็น Super App ที่ให้บริการอันดับ 1 ในหลาย ๆ ประเทศ โดยมีฐานผู้ใช้รวมทั้ง อยู่ที่ 30 ล้าน และในปีที่ผ่านมามียอดผู้ใช้รายเดือนโตขึ้น 16% และมีรายได้โตขึ้น 112% และถึงแม้ว่าปัจจุบันบริษัทจะอยู่ในสภาวะขาดทุน แต่ปีที่ผ่านมาสามารถลดการขาดทุนไปได้ 51% ขณะที่ของไทย แกร็บเป็นแพลตฟอร์มอันดับ 1 ด้วย Market Share ที่สูงถึง 51%

และสำหรับในปี 2566 แกร็บประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะเติบโตแบบยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Building Sustainable Growth through Innovation” พร้อมปล่อย 2 กลยุทธ์ “Power of Superapp” ในการทำงานของทุกธุรกิจในอีโคซิสเต็มของแกร็บให้เกิด Synergy และเอื้อประโยชน์ต่อกัน และ “Operational Efficiency” ที่จะดึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในทุกกระบวนการทำงานของแกร็บ

กางแผน แกร็บ ประเทศไทย สำหรับปี 2566 เตรียมขับเคลื่อน 4 กลุ่มธุรกิจ 

1.บริการการเดินทาง (Mobility) : โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประเด็นหลัก คือ

    1.1 ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ อาจมีการตรวจสอบผู้ให้บริการ Grab Ride ที่เข้มงวดขึ้นเพื่อความสบายของผู้ใช้งาน และมีการเพิ่มการตรวจจับความเร็วของผู้ขับ ถ้ามีการขับรถเร็วเกินกว่าที่แกร็บจำกัด จะมีการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ และที่สำคัญหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ถ้าแกร็บมีการจอดรถนานผิดปกติ จะมีการโทรหาผู้ใช้งานทันที

    1.2 การเป็น Partnership กับหน่วยงานต่าง ๆ การจับมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จะช่วยให้นักท่องเที่ยงเดินทางได้อย่างสะดวกมากขึ้น และอนาคตแกร็บมีแผนที่จะสร้าเลานจ์ หรือห้องรับรองของแกร็บในสนามบิน ที่ใครเรียกแกร็บก็สามารถไปนั่งรอที่นั่นได้

   1.3 เจาะตลาดพรีเมียม ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนั่งได้หลายคน นักท่องเที่ยวชื่นชอบเป็นอย่างมาก และแกร็บยังเตรียมส่งแคมเปญพิเศษเจาะตลาดกลุ่มนี้ พร้อมเพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์คนขับที่ให้บริการเรียกรถด้วยรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถตอบรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

2.บริการเดลิเวอรี (Deliveries) มี 3 ไฮไลท์สำคัญ 

  •  เน้นย้ำเรื่องคุณภาพมากขึ้น แกร็บมีการหาร้านเด็ดดัง ๆ ที่ลูกค้าชื่นชอบมาใช้ไวบนแพลตฟอร์มให้ได้มากที่สุด
  • จัดส่งอาหารหรือสินค้าให้เร็วขึ้น ด้วยเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบแผนที่ และระบบคำนวณเวลารออาหาร เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดเวลาในการจัดส่งสินค้า
  • เน้นสร้างฐานสมาชิกและความภักดีของผู้ใช้บริการ ผ่านแพ็คเกจสมาชิก Grab Unlimited ด้วยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับส่วนลดที่ครอบคลุมทุกบริการของแกร็บ

3.บริการทางการเงิน (Financial Services): คือการเพิ่มโอกาสทางเงินให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ-ร้านค้า ไม่ว่าจะเป็น การขยายวงเงินสินเชื่อสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าสูงสุดถึง 500,000 บาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารในการขยายธุรกิจ

4.บริการสำหรับองค์กร (Enterprise): โดยผลักดันบริการซูเปอร์แอปสู่ภาคธุรกิจ ผ่าน Grab for Business โซลูชันที่จะช่วยบริหารจัดการทุกบริการของแกร็บสำหรับลูกค้าองค์กร ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเวลา และค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมบุกตลาดโฆษณาเต็มรูปแบบ โดยชู GrabAds สื่อโฆษณามาแรงบนซูเปอร์แอปอย่าง Grab ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายและแม่นยำ

โดยสรุปแล้ว แผนกลยุทธ์ธุรกิจของแกร็บในปีนี้มีเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์ Power of Superapp และ Operational Effiency ที่แบ่งเป็นการขยายอีโคซิสเต็มให้กว้างมากขึ้น พร้อมกับเสริมประสิทธิภาพกระบวนการทำงานด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี  ทั้งนี้ก็เพื่อยังคงครองตำแห่นง Superapp อันเดับ 1 ของไทย ที่มีส่วนแบ่งกว่า 51%


  • 50
  •  
  •  
  •  
  •