จิตวิทยาการตลาดแบบดึงดูด กลยุทธ์เก่าแต่ยังเก๋า แกะเหตุผลทำไมงานมอเตอร์โชว์ยังต้องมี #พริตตี้

  • 271
  •  
  •  
  •  
  •  

 

แม้ว่าจะเวลาผ่านไปนานแค่ไหน แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีกลยุทธ์การตลาดบางอย่างที่ยัง work ยังปัง และช่วยกระตุ้นให้เกิดรายได้จริงๆ อย่างกลยุทธ์ที่ใช้หนุ่มสาวหน้าตารูปร่างโดดเด่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ของแบรนด์ และดึงดูดความสนใจให้อยากซื้ออยากได้ขึ้นมา

จริงๆ แล้วกลยุทธ์ที่ว่ามานี้เป็นหลักจิตวิทยาการตลาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีมานมนาน เราเรียกกันว่า ‘จิตวิทยาการตลาดแบบดึงดูด’  (Marketing Psychology of Attraction) ใช้ความสวยความงามหรือความดูดีของรูปร่างในการดึงดูดสายตาผู้คน โดยนักจิตวิทยาอธิบายว่า หลักจิตวิทยาลักษณะนี้เป็นการใช้ความสวยงามทางตา ให้กระตุ้นอารมณ์และสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ที่มักจะดึงดูดของสวยงามก่อนเสมอ

บทวิเคราะห์ของฝ่ายจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้พูดถึง #ความประทับใจแรก ที่มีพลังมหาศาลในการดึงดูด ก่อนที่มนุษย์จะเริ่มใช้ความคิด ดังนั้น กลยุทธ์การตลาดส่วนใหญ่จึงนิยมใช้หลักจิตวิทยาข้อนี้ เพื่อดึงสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ให้รู้สึกทันทีที่เห็น รู้สึกอยากเข้าหา

ตัวอย่างที่ชัดเจนของธุรกิจที่ใช้จิตวิทยาการตลาดแบบดึงดูด ก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ใช้หลักการนี้ในงานมอเตอร์โชว์ หรือแม้แต่ในอีเวนต์ของโชว์รูม ซึ่งจะเห็นว่ารถแต่ละแบรนด์จะมีพริตตี้สาวๆ คอยเชียร์อยู่ข้างรถเสมอ ส่วนดีไซน์ของชุดนั้นส่วนมากจะออกแบบมาตามคาแรคเตอร์ของแบรนด์รถ หรือรุ่นรถนั้นๆ เช่น คาแรคเตอร์ดุดัน, สวยหวาน หรือเรียบหรู ฯลฯ

 

Credit: BartlomiejMagierowski / Shutterstock.com

 

ทั้งนี้ ดีไซน์ชุดของพริตตี้รถ และบุคคลิกต่างๆ มีส่วนในการจำลองภาพให้กับู้ที่พบเห็นได้ คล้ายๆ กับที่เราจำภาพว่า เด็กเนิร์ดต้องใส่แว่น, ส่วนเด็กเกเรต้องมีรอยสักนั้นแหละ

โดยนักจิตวิทยาได้พูดว่า การใช้ความสวยงามในการดึงดูด คล้ายๆ กับใช้วิธีการคิดแบบ Heuristic ซึ่งจะเป็นกระบวนการคิดที่ให้เรารู้สึก #เข้าถึงง่ายขึ้น อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้น หลักการในทางจิตวิทยาแบบ Heuristic จะทำให้ความคิดที่ซับซ้อนคลายลง เช่น เวลาที่เราเห็นสินค้าราคาแพง ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์, เครื่องสำอาง, น้ำหอม เราจะใช้พริตตี้ หรือบางสินค้าที่เรียกว่า PR สินค้า เพื่อให้เราเข้าถึงสินค้าง่ายขึ้น โดยใช้ความสวยงามทางตาดึงดูดก่อนเพื่อสร้างการจดจำของแบรนด์ จากนั้นก็สร้างความรู้สึกเข้าถึงง่ายผ่าน models สินค้านั้นๆ เป็นต้น

 

Credit: WHYFRAME / Shutterstock.com

 

คล้ายๆ กับแนวคิดของ Karen Dion นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยโทรอนโตในแคนาดา ที่พูดว่า ถึงแม้ว่ามนุษย์เราจะมีความชอบ ความดึงดูดที่แตกต่างกันเป็นเรื่องของเทส เรื่องของรสนิยมเฉพาะบุคคล แต่ผลการศึกษาได้ระบุว่า กว่า 80% ยอมรับว่า หน้าตาและบุคคลิกภาพของโมเดลสินค้ามีส่วนสร้างการจดจำแบรนด์ได้ดี และดึงดูดให้อยากรู้ข้อมูลของแบรนด์นั้นๆ มากขึ้น (ทดสอบจากการให้ดูรูปทั้งหมด 27 คาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน)

สรุปง่ายๆ ก็คือ ทำไมกลยุทธ์นี้ถึงยังเป็นที่นิยมในทุกยุคทุกสมัย ถึงแม้ว่าหลายๆ แบรนด์ในหลายประเทศพยายามลบล้าง #มาตรฐานความงาม (beauty standard) สร้างความเข้าใจใหม่ว่า ความงามไม่ใช่แค่ต้องผอม ต้องขาว หรือสวยเท่านั้น แต่ในทางจิตวิทยาได้อธิบายว่า หลักความคิดของผู้บริโภค(ส่วนใหญ่) มีความสำคัญต่อกลยุทธ์การตลาดนั้นๆ ให้สำเร็จ นั่นจึงอธิบายได้ว่า ทำไมหลายๆ ธุรกิจจึงยังมีโมเดลสินค้าที่สวยที่หล่อ และเน้นบุคลิกภาพ-รูปร่างที่ดี ที่สำคัญหากลองสังเกตจะเห็นว่า เกือบทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับหลักการตลาดนี้ คือ ใช้โมเดลสินค้าตามหลักจิตวิทยาดึงดูดในการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ และกระตุ้นความรู้สึกอยากครอบครอง

อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาหลายคนมองว่า มาตรฐานความงามในยุคนี้เริ่มขยายคำจำกัดความ ของคำว่า #สวย #หล่อ #ดูดี #เซ็กซี่ ที่หลากหลายมากขึ้น จึงทำให้มาตรฐานความงามในปัจจุบัน หมายถึง ทุกๆ ความแตกต่างที่โดดเด่นในแบบของตัวเอง

 

 

 

ที่มา: psychologytoday, smallbusiness, quora, uio


  • 271
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม