วิเคราะห์จากข่าว ทำไมจีนให้ความสำคัญจนต้องเร่งการใช้ IPv6 ให้ได้ 700 ล้านรายภายใน 2 ปีนี้

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ต้องบอกว่านี่คือการเข้าสู่ยุคของโลกดิจิทัลสมบูรณ์แบบ แม้จะไม่อยากให้เครดิตกับโรคระบาด แต่ความเป็นจริงโรคระบาดคือแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพราะถ้าไม่เปลี่ยนจะตามผู้บริโภคหรือประชาชนไม่ทัน เห็นได้จากโรคระบาดครั้งนี้ ทำให้การรวมกลุ่มกันกลายเป็นความเสี่ยง ยิ่งในโรงงานที่ต้องมีผู้คนจำนวนมากทำงานร่วมกัน ยิ่งกลายเป็นคลัสเตอร์ความเสี่ยงในการแพร่โรคระบาด

โรงงานจึงอาจต้องใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) และเทคโนโลยี IoT เข้ามาทดแทนเพื่อลดการรวมกลุ่มคน และยังช่วยให้สายงานการผลิตยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ แม้จะเกิดสถานการณ์โรคระบาดที่เลวร้ายมากกว่าปัจจุบัน แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า เทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน IPv4 ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อการใช้งานทั่วไปในคอมพิวเตอร์ จึงมีจำนวนจำกัดในการใช้งาน

ซึ่งการใช้งานหุ่นยนต์และเทคโนโลยี IoT จำเป็นต้องใช้ IP จำนวนมาก (เซ็นเซอร์หนึ่งตัวเท่ากับหนึ่ง IP) ถ้าจะลงรายละเอียดของ IPv6 บอกเลยต้องไปเรียนภาษาเทพ IT ก่อน แต่ถ้าอธิบายสั้นๆ เข้าใจง่าย หากโรงงานใช้ระบบ IPv4 อาจจะใช้งานเซ็นเซอร์ได้ 100 ตัวพร้อมกัน แต่หากเป็นระบบ IPv6 จะสามารถใช้งานเซ็นเซอร์ 1 แสนตัวได้พร้อมกัน ด้วยความพิเศษของเลข IP ในแบบ 128bit ทำให้สามารถขยายจำนวนการใช้งานได้มากมาย

แน่นอนว่าจีนเป็นประเทศใหญ่จำนวนประชากรก็มหาศาล ประกอบกับนโยบายด้านเทคโนโลยีมีความชัดเจนที่ต้องการให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี เนื่องจากความกว้างใหญ่ของประเทศและจำนวนประชากรมาศาลทำให้การเข้าถึงบริการของรัฐทำได้ยาก เทคโนโลยีจะเข้ามาอำนวยความสะดวกในส่วนนี้ อีกทั้งจีนยังขึ้นชื่อเป็นแหล่งผลิตหลักของโลก เห็นได้จากการที่จีนปิดประเทศจากผลกระทยโรคระบาดในปี 2020 ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของโลก

เพื่อลดผลกระทบดังกลาวการใช้ IoT ในโรงงานผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากและเป็นเหตุผลที่ทำให้จีนต้องพัฒนาระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในรูปแบบ IPv6 เพื่อรองรับจำนวนการเชื่อมต่อที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งเมื่อรวมจำนวนประชากร กับจำนวน IoT ที่ติดตั้งในโรงงานผลิตจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี IPv4 ไม่สามารถรองรับจำนวนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด นั่นจึงทำให้จีนต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี IPv6 โดยจีนตั้งเป้าการใช้งาน IPv6 จำนวน 700 ล้านอุปกรณ์ภายในสิ้นปี 2566  แผนดังกล่าวจีนจะเน้นการใช้เทคโนโลยี IPv6 ในด้านอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก แอปพลิเคชันและระบบรักษาความปลอดภัย

สำหรับประเทศไทยก็มีแผนในการปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี IPv6 เพื่อรองรับการใช้งาน IoT ในโรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดส่งผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรม การใช้ IoT จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมยังคงสามารถดำเนินการตามกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่องแบบไม่ขาดตอน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังคงใช้เทคโนโลยี IPv4 อยู่และหากมีการใช้ IoT ในโรงงานเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยอาจต้องมีแผนเร่งพัฒนาเทคโนโลยี IPv6 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของ IoT ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

Source: China Daily


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE