การปรับปรุงการได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในภาวะที่มีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถให้บริการดูแลสุขภาพถึงบ้าน รวมถึงการปรับปรุงผลการรักษากลายเป็นสินจำเป็นในยุคที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
บริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอย่างไบเออร์จึงได้จัดการประกวด Grants4Apps® Singapore ส่งเสริมแนวคิดนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาในการรักษา โดยปรากฏว่ามีผู้ป่วยจำนวนเพียง 50%[1] เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งหลังจากการประเมินโครงการที่เข้าร่วมการประกวดอย่างเข้มข้นแล้วนั้น มีผู้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย Grants4Apps® Singapore 2017 จำนวนทั้งสิ้น 6 ทีม นี่คือ 3 ทีมแรกจากประเทศไทยและสิงคโปร์ที่ชนะการประกวดนวัตกรรมที่ช่วยให้การรักษาโรคเรื้อรังในผู้ป่วยสูงวัยทำได้อย่างต่อเนื่อง
1. Pill Pocket ดูแลผู้ป่วยโซลูชั่นครบวงจรความดันโลหิต โคเลสเตอรอล และโรคเบาหวาน
Pill Pocket เป็นการรวมทีมวิศวกรและนักพัฒนาด้านไอทีจากประเทศไทยที่ได้พัฒนาโซลูชั่นแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้ข้อมูลการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลในเลือดสูง และมีภาวะโรคเบาหวาน
ซึ่ง Pill Pocketใช้ Chatbot เชื่อมต่อบริการเภสัชกรส่วนตัวอื่นๆ เช่น การตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาในแบบเรียลไทม์ทันที การช่วยเหลือในการเติมยาและจัดส่งยาที่บ้าน แม้กระทั่งการติดตามดูแลรักษาต่อเนื่องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีการบันทึกประวัติสุขภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยแจ้งเตือนในการรักษาและติดตามสุขภาพของผู้ใช้ได้ด้วย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pillpocket.me
2. Glycoleap ช่วยตรวจพฤติกรรมการกินอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน
Holmusk คือ ซึ่งประกอบด้วยทีมหลากหลายสาขาวิชา เช่น แพทย์ นักโภชนาการ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักออกแบบหน้าเว็บไซต์ นักพัฒนาเว็บไซต์ และนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล
บริษัท Holmusk ซึ่งเป็นบริษัทนวัตกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพในสิงคโปร์ ได้พัฒนา Glycoleap ช่วยติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน การวัดระดับกลูโคส ความหนักของกิจกรรมที่ทำ น้ำหนัก และการได้รับยาในแต่ละวัน ตรวจสอบระดับไกลโคเจน (Glycogen) ในแต่ละวันของผู้ป่วย แอปฯตัวนี้ยังตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยลืมรับยาหรือไม่
หากมีแอปฯตัวนี้ เราก็จะลดปัญหาการไม่รับยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย ปัจจุบันมีผู้จ่ายเงินเพื่อใช้งานแอปฯนี้แล้วจำนวน 25 ราย ไปที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ glycoleap.com และ holmusk.com
3. EyeDEAบัตรบันทึกประวัติการใช้ยาส่วนตัวอัจฉริยะพกพา
ทีมภาควิชาจักษุวิทยา นักพัฒนาโปรแกรม วิศวกรซอฟต์แวร์ และผู้ประกอบการจากสิงคโปร์ได้ช่วยพัฒนา EyeDEAผสมผสานระหว่างรูปแบบของบัตรและอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ ที่ช่วยปรับปรุงรูปแบบการใช้ยาหยอดตาของผู้ป่วยสูงวัยที่เป็นโรคต้อหิน (glaucoma) ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนและมีความบกพร่องในการมองเห็น
อุปกรณ์นี้เปรียบเสมือนบัตรบันทึกประวัติการใช้ยาส่วนตัวที่พกพาง่าย จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและเตือนผู้ป่วยให้รับยา ผู้ป่วยสามารถสวมใส่ไปตามที่ต่างๆได้ โดยจะแจ้งเตือนและติดตามการใช้ยาหยอดตาของผู้ป่วยโรคต้อหิน และข้อมูลจะถูกส่งไปยังแพทย์และผู้ดูแลผู้ป่วยโดยอัตโนมัติได้
อุปกรณ์ดังกล่าวมีศักยภาพในการใช้กับผู้ป่วยสูงวัยที่ต้องกินยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ (เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ) ได้ด้วย
และผู้เข้ารอบทีมอื่นที่ได้นำเสนอสุดท้ายนี้ ได้แก่
4. Pill-e กล่องบรรจุยาอิเลคทรอนิกส์
ทีมหลากหลายสาขาวิชาจากสิงคโปร์ เช่น วิศวกรด้านไอที นักออกแบบและนักเขียนโปรแกรม เภสัชกร และทีมงานที่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการหุ่นยนต์และการเงินได้คิดค้น Pill-e “กล่องยาอัจฉริยะ” ซึ่งสามารถจ่ายยาให้กับผู้สูงอายุเมื่อถึงเวลารับยาตามเวลาที่กำหนด
ซึ่งโซลูชั่นนี้ ประกอบด้วย การรวมกล่องบรรจุยาเข้ากับแอปฯช่วยให้ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยเองควบคุมการรับยาในชีวิตประจำวันได้ง่ายและสะดวก แอปฯนี้จะแสดงข้อมูลแบบดิจิตอลทำให้สามารถติดตามปริมาณยาที่จ่ายออกไป และมีกลไกล็อคที่จะไม่ให้รับยาอย่างไม่ถูกต้อง จากความแตกต่างไปจากกล่องบรรจุยาโดยทั่วไป
เนื่องจากมีระบบฟังก์ชั่นดิจิตอลนี้ Pill-e เป็นทางเลือกที่สะดวกในการจ่ายยา ด้วย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://pillenus.wixsite.com/home
5. Onward Healthแอปฯให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
Onward Health สตาร์ทอัพที่มีประสบการณ์ดูแลสุขภาพในอินเดียและทั่วโลก ได้มพัฒนาแอปฯให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และยังกระตุ้นให้แพทย์ติดตามการรับยาอย่างต่อเนื่องและสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ไปพร้อมๆ กัน
แอปฯนี้ยังช่วยจัดการการย้ายผู้ป่วยจากการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล ไปยังการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอกและการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน โดยมุ่งเน้นการพักฟื้นของผู้ป่วยและการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ และผู้ดูแลผู้ป่วย
ด้วยระยะเวลาการทำงานไม่ถึง 1 ปี ขณะนี้ได้มีการทดสอบต้นแบบในโรงพยาบาล 3 แห่ง กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดประมาณ 75 รายต่อสัปดาห์ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.onwardhealth.com
6. Intemed ภาชนะบรรจุยาโดยใช้ชิปหน่วยความจำและเข้ารหัส
บริษัทด้านวิศวกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง SMJ Engineering ได้พัฒนาภาชนะบรรจุยา InteMed โดยการฝังชิปหน่วยความจำ และมีการเข้ารหัสเลขประจำตัว เพื่อระบุการรักษา โปรแกรมตารางการใช้ยา การสั่งซื้อยาใหม่ การแจ้งและการจ่ายยา แบบอัตโนมัติ รวมถึงสร้างบันทึกการรับยาด้วยระบบดิจิตัล เพื่อติดตามปฏิกิริยาต่อยา ข้อมูลใบสั่งแพทย์ และป้องกันการใช้ยาปลอม
InterMed รวบรวมข้อมูลไว้บนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์สื่อสาร เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องสั่งยาอัตโนมัติที่ร้านขายยา เพื่อการจัดยาด้วยระบบดิจิตอล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งได้มีการพัฒนาต้นแบบและอยู่ระหว่างรอการอนุมัติสิทธิบัตร ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.intemed.net
โดยทั้ง 6 ทีมจะได้รับการแนะนำและชี้แนะ เพื่อเข้ารอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัล ส่วนทีมที่ชนะก็จะได้เงินรางวัลมูลค่า 10,000 เหรียญสิงคโปร์ และโอกาสการเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ ประสบการณ์เรียนรู้ในระดับภูมิภาคและระดับโลก