จาก ‘พิไล กรงกรรม’ , ‘พี่น้องชิพกับเดลขายถั่วในคลอง’ มาถึง ‘อี่นายซ้องปีบจะยะจะอี้บ่าได้’ ฯลฯ การหยิบ Real time มาสร้างคอนเทนท์เชื่อมโยงกับความรู้ด้านกฎหมาย จนกลายเป็นเกิดกระแสพูดถึงและส่งชื่อให้ ‘เพจกองปราบ’ โดดเด่นขึ้นมา
ในฐานะของคนทำคอนเทนท์แล้ว ความน่าสนใจในเคสนี้ คือ หากต้องการสื่อสารแบบเข้าถึง และมี Engagement ที่ดี แม้กระทั่ง ‘เพจราชการ’ ยังต้องปรับตัว
ทาง Marketing oops จึงได้ไปพูดคุยกับแอดมินเพจกองปราบ และสรุปออกมาเป็นประเด็น ๆ ไว้ ดังนี้
– เพจกองปราบ เปิดมาเมื่อปี 2560 เพื่อเป็นอีกเครื่องมือในการสื่อสารในการป้องกัน อาชญากรรม และเตือนภัยใกล้ตัวต่าง ๆ
– เหตุผลที่หยิบ Real time content มาใช้ หลัก ๆ เพราะต้องการเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่มองกฎหมายเป็นเรื่องยาก และเป็นเรื่องไกลตัว ดังนั้นหากต้องการบรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องสร้างวิธีสื่อสารใหม่ ๆ ขึ้นมา หนึ่งในนั้น ก็คือ การดึงสิ่งที่คนสนใจ อยู่ในกระแส หรือเป็นไวรัล มาเป็นตัวสื่อสารนั่นเอง
– วิธีดังกล่าว เริ่มทำเมื่อปี 2561 เริ่มจาก ละคร เพราะเป็นอะไรที่คนเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย เรื่องแรก ได้แก่ ‘เมียน้อย’ และมีคนพูดถึงมากขึ้นจาก ‘ละครกรงกรรม’ ในการหยิบเรื่องราวของพิไล ที่ขโมยเงินของย้อย ซึ่งเป็นแม่สามี มาสร้างคอนเทนท์เตือนว่า แม้เป็นลูกสะใภ้ แต่หากลักทรัพย์ ก็มีความผิด สามารถแจ้งตำรวจจับกุมได้
มาถึงคอนเทนท์ที่กลายเป็นไวรัล และถูกแชร์ในโลกออนไลน์ในวงกว้าง กับการหยิบกระแส ‘ชิพกับเดล’ สองพี่น้องขายถั่วในคลอง ด้วยการใส่เนื้อหาว่า ชิพกับเดลขายคลองในคลองได้ แต่ขายของเกินราคาไม่ได้
– การหยิบข้อกฎหมาย มาโยงกับเรื่องราวนั้น หลัก ๆ จะเลือกเรื่องที่เป็นประเด็นร้อน เป็นภัยใกล้ตัว และเป็นเรื่องที่คนหมู่มากควรรู้
– เรื่องราวที่จะไม่หยิบมาสร้างเป็น Real time content เด็ดขาด ได้แก่ เรื่องราวที่เกี่ยวกับสถาบัน 2. การเมือง 3. ประเด็นที่กระทบต่อหน่วยงานราชการ และ 4. คอนเทนท์ที่มีแนวโน้มจะสร้างผลลบเพียง 20-30%
นอกจากนี้ การหยิบแต่ละเรื่องราวมาสร้างเป็นคอนเทนท์นั้น ‘ไม่เน้นเร็ว แต่ขอชัวร์’ เหตุผลเพราะเป็นเพจหน่วยงานราชการ หากเกิดอะไรขึ้นมาจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กร อย่างเช่น ‘นวยคนดี’ ที่เกิดกระแส ซึ่งตอนแรกแอดมินเพจกองปราบก็คิดจะเล่น แต่ในฐานะที่เป็นตำรวจ รู้สึกเรื่องนี้แปลกๆ จึงรอ และสุดท้ายก็สรุปได้ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการหลอกลวง
-ส่วนรูปแบบในการสื่อสาร จะต้องเหมาะกับ Target และแฟนเพจที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยการทำคอนเทนท์แต่ละอัน จะเน้นสื่อสารง่าย ๆ ไม่เน้นตัวอักษรเยอะ ๆ แต่จะใช้ภาพหรือ info graphic มาช่วย
สรุปคือ ต้องรู้จักกลุ่มแฟนเพจของตัวเองว่า เป็นใคร และเลือกวิธีนำเสนอให้เหมาะสมนั่นเอง
– แม้ Real time Content จะทำให้เพจเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีคนมากดไลค์ กดแชร์เป็นจำนวนมาก และสร้าง engage ในเวลารวดเร็ว แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายหลักของทางเพจกองปราบที่ต้องการให้ความรู้และเตือนภัยประชาชนจากอาชญากรรม ดังนั้นจะไม่เน้นการทำ Real time Content บ่อย โดยตั้งใจว่า จะทำเดือนละ 1-2 ครั้งเท่านั้น