สมรภูมิอีคอมเมิร์ชไทยถึงจุดที่นักรบยกธงขาว จากเดิมยักษ์อีคอมเสิร์ชมีตัวแปร 3 ค่ายใหญ่ JD CENTRAL, Lazada และ Shopee การเดินทางถึงจุดที่ JD CENTRAL ยกธงขาวประกาศหยุดให้บริการโดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 เพราะขาดทุนว่า 5,000 ล้านบาท
แต่ใช่ว่ายักษ์อีคอมมิร์ชรายอื่นจะไม่เคยขาดทุน การขาดทุนต้องได้รับรีเทิร์นเป็นกำไร นี่คือเกมที่เหล่าผู้เล่นอีคอมเมิร์ชกำลังเดินอยู่ การยอมขาดทุนเพื่อสร้างฐานลูกค้าให้เยอะและเร็วที่สุด ทำลายคู่แข่งทุนน้อยให้สิ้นซากไป และเมื่อถึงวันที่ไม่มีคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อเหลืออยู่แล้ว จะกำหนดราคาอย่างไร จะเดินเกมอย่างไร ก็ ไม่แปลกถึงวันที่ผงาดขึ้นเป็นเจ้าตลาดค่อยทำกำไรก็ยังไม่สาย การมัสายป่านที่ยสวขึ้นจะทำให้เข้าถึงเงินทุนมหาศาล
อีคอมเมิร์ชยังงขาขึ้น คาดการณ์ ปี 2568 มีผู้ใช้กว่า 43.6 ล้านคน
ข้อมูลจากรายงานแนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซ ระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซประเทศไทย ปี 2566 จะเติบโตราว 13% มูลค่า 6 แสนล้านบาท ปัจจุบันสัดส่วนอยู่ที่ราว 16% ของภาพรวมค้าปลีก สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงาน Transforming Southeast Asia – From Discovery to Delivery ที่ลาซาด้าจัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนักช้อปในปีที่ผ่านมาซึ่งชี้ว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดย 74% ของผู้บริโภคชาวไทยซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง และ 25% ซื้อสินค้าหลายครั้งต่อสัปดาห์ พร้อมคาดการณ์ว่า จำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 61.8% หรือ 43.5 ล้านคน ภายในปี 2568
ลาซาด้าเผยด้วยว่า ช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ขายในไทยที่ดำเนินธุรกิจบนลาซาด้าเพิ่มขึ้นกว่า 30% แม้ว่าโควิดจะคลี่คลายแต่ลาซาด้าพบว่าการค้าบนอีคอมเมิร์ซยังคงขยายตัว ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่คุ้นชินกับการจับจ่ายสินค้าบนโลกออนไลน์ หลังจากในปี 2565 ‘ลาซาด้า’ สามารถเก็บรายได้กว่า 20,675 ล้านบาท เติบโต 40.9% สร้างกำไรต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สุทธิ 413 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 82% เมื่อเทียบกับปี 2564 และเป็นผู้เล่นอีคอมเมิร์ซที่สามารถกำไรได้เพียงเจ้าเดียวในตลาดท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือดหลายปี ล่าสุด ‘ลาซาด้า’ ก็ได้เปิดเผยทิศทางการเติบโตในอนาคต ท่ามกลางตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่ยังเติบโต
สนามรบอีคอมเมอร์ชต้องแตกต่าง LAZADA งัดกลุทธ์สารพัดฟีเจอร์ เพื่อให้เป็นผู้อยู่รอด
อย่างที่ทราบกันเมื่อมีผู้เล่นยกะงขาวออกจากตลาดไปสิ่งที่นักวิจารณ์หวั่นคือการผูกขาดของสองยักษ์อีคอมเมิร์ชที่เหลือในตลาด แต่การเดินเกมของ LAZADAA นั่นยืนยันว่าต่อให้ผู้เล่นลดลงแผนการดำเนินการสร้าง Ecosystem ให้แข็งแรงยังคงเป็นกลยุทธ์หลัก โปรโมชันดับเบิ้ลเดย์ถึงแม้จะไร้มนต์ขลังกว่าช่วงแรกแต่ไม่ได้แผ่วไปซะทีเดียว เพราะผู้บริโภคยังคงซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา
ต่อยอดประสบการณ์การช้อปที่แตกต่าง ในปีที่ผ่านมา ลาซาด้ามุ่งมั่นพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับประสบการณ์การช้อปให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค ตั้งแต่ระบบการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์ม ตัวเลือกสินค้าที่มีความหลากหลายและครบครัน ไปจนถึงบริการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น LazLive การถ่ายทอดสดแบบอินเทอร์แอกทีฟในรูปแบบซีรีส์จากลาซาด้า, Virtual Try-On ฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้นักช้อปได้ลองสินค้าแบบเสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยี AI และ AR บนแอปฯ ลาซาด้า, Brands Membership โปรแกรมที่เปิดโอกาสให้เหล่านักช้อปสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกของแบรนด์ที่ชื่นชอบใน LazMall บนลาซาด้า โดยไม่มีค่าใช้จ่าย, Try & Buy โปรแกรมที่นักช้อปสามารถรับสินค้าในขนาดทดลองได้ฟรี หรือในราคาสุดประหยัด เพื่อทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า รวมถึง LazLOOK และ LazBEAUTY ศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นและความงามบนแพลตฟอร์มครบจบในที่เดียว
นอกจากนี้ ลาซาด้ายังได้แนะนำฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น LazPayLater ฟีเจอร์การชำระเงิน ช้อปสินค้าก่อน จ่ายทีหลัง, บริการห่อของขวัญ พร้อมแนบข้อความ โดยไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม, บริการติดตั้งสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า, การคืนสินค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนการจัดส่งสินค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ลาซาด้าชวนนักช้อปมาเติมเต็มความสุขรับเดือนมีนาคม ด้วยแคมเปญ “เซลใหญ่จัดเต็ม 11 วัน” เปลี่ยนเดือนที่แสนเหี่ยวเฉา ไม่มีเทศกาลวันหยุดยาวและมีแต่ชีวิตการทำงานที่แสนวุ่นวายให้เป็นเดือนแห่งความสนุก ด้วยมหกรรมช้อปปิง เซลใหญ่ลดจัดเต็มจุก ๆ 11 วัน ภายใต้คอนเซปต์ “จัดใหญ่สนั่นเมือง” แจกดีลจัดเต็ม ลดสูงสุด 90% ส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำและส่วนลดสูงสุด 6 ต่อ
สุดท้ายการต่อสู้ในสนามอีคอมเมืร์ชก็ยังคงดำเนินต่อไป การสร้าง Ecosystem ด่านต่อไปคือการลงทุนในเทตโนโลยีเพื่อการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการช็อปให้ผู้บริโภค