5 วิธีจัดการความกลัวจากความล้มเหลว ให้เป็นแรงผลักสู่ความสำเร็จในวันหน้า

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  

ทุกๆ คนต้องการที่จะประสบความสำเร็จ แต่เป็นไปไม่ได้ที่ใน 100 คนจะประสบความสำเร็จหมดทุกคน ความล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมชาติ เจ็บปวดบ้างในบางครั้ง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องล้มลุกคลุกคลานหลายต่อหลายครั้ง

อย่างไรก็ตาม ใครๆ ก็กลัวที่จะล้มเหลวกันทั้งนั้น ไม่มีใครเต็มใจที่จะรับมันได้ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่โอบกอดความท้าทายนี้ด้วยสติและปัญญา ก็จะทำให้เราฟื้นตัวเองได้เร็วขึ้น และยิ่งถ้าคุณต้องการเป็นนักธุรกิจประสบความสำเร็จ คุณก็จะต้องล้มแล้วลุกและก้าวเดินต่อไปบนความท้าทายนั้นๆ อย่าปล่อยให้ความกลัวมาทำให้คุณก้าวเดินถอยหลัง แต่จะทำอย่างไรล่ะ ให้สามารถลุกขึ้นสู้ใหม่ได้อีกครั้ง

และต่อไปนี้คือวิธีในการจัดการกับความกลัวและความสงสัยในตัวเองหากว่าคุณแพ้ (ในครั้งนี้)

sucess

  1. Cultivate a growth mindset.

เปลี่ยนมุมมองความคิดว่า ความล้มเหลว ไม่ใช่จุดจบของการเดินทาง แต่เป็นเพียงก้าวๆ หนึ่ง ในการเดินทางไกลกว่าที่จะไปสู่เป้าหมายได้ อย่าตำหนิตัวเองเมื่อคุณทำผิดพลาด แต่ให้ถามตัวเองว่า “เราได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนอันนี้บ้าง?” แล้วนำความรู้ที่ได้จากตรงนี้ไปทำให้มันเป็นเรื่องดี เมื่อคุณทำความผิดให้สะท้อนออกมาเป็นบทเรียนไปตลอด แม้ว่าวันหนึ่งคุณจะประสบความสำเร็จแล้วก็ตาม

  1. Stop negative self-talk.

การที่คุณคุยกับตัวเอง มีความหมายสำคัญและส่งอิทธิพลถึงความรู้สึกของคุณเอง หากว่าคุณเสียเวลาไปกับความคิดด้านลบถึงความสามารถของตัวเอง ก็จะไปลดทอนทัศนคติด้านบวกของให้ลดลง และสุดท้ายคุณก็จะสงสัยในความสามารถของตัวเอง

ครั้งหน้าให้เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เช่นถ้าคุณมีความคิดว่า “ทำไมเราถึงแย่อย่างนี้” เป็น “แม้ว่าโปรเจ็คต์นี้จะออกมาไม่เวิร์กในตอนนี้ แต่มันก็สร้างผลกระทบและทำให้เราเป็นที่รู้จักมากขึ้นแหละ”

เวลาที่คุณซ้อมพูดกับตัวเอง ให้มันกลายเป็นกิจวัตรและมุมมองความล้มเหลวของคุณจะเปลี่ยนไป

  1. Mix up your methodology.

สมมุติว่าโปรเจ็คต์ของคุณไม่ดำเนินไปตามแผนการณ์ในครั้งแรก อย่าเพิ่งยอมแพ้แล้วเดินหนี ถ้าคุณพบกับถนนที่ขรุขระเต็มไปด้วยหลุมบ่อ จงคิดที่จะฝ่าฝันและผ่านมันให้ได้ อย่ากลัวที่จะพยายามเริ่มต้นโปรเจ็คต์ใหม่อีกครั้ง

  1. Call a trusted advisor.

ครั้งหน้าหากคุณทำผิดพลาดอีกครั้ง ให้ขอความช่วยเหลือ เพราะบางครั้งคุณจำเป็นที่จะต้องส่งต่อบางไอเดียออกไปยังคนอื่นๆ บ้างที่คุณไว้ใจได้

เปิดโอกาสให้กับเพื่อนร่วมงาน เพื่อน หรือที่ปรึกษาที่เขาอาจจะมีประสบการณ์หรือรู้จริงมากกว่าคุณให้ได้เข้ามาช่วยแสดงความคิดเห็นบ้าง อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือหรือร้องขอความคิดเห็น ยื่นมือออกไปขอความช่วยเหลือกับคนที่คุณรู้จักและไว้ใจ พวกเขาจะให้คำแนะนำที่ดีกับคุณ

  1. Think through the worst-case scenario.

ก่อนที่คุณจะบอก เซย์ เยส กับความท้าทายใหม่ วางแผนถึงผลตอบรับที่จะได้ทั้งหมดก่อน เขียนมันลงไปทั้งก่อนและขณะลงมือทำโปรเจ็คต์

ตัดเอาอารมณ์ส่วนตัวออกจากการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอน และนึกถึงหลักความเป็นจริงที่เป็นไปได้ เขียนทั้งสิ่งที่เลวร้ายที่สุดและสิ่งที่ดีที่สุดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นให้เป็นคล้ายๆ บทภาพยนตร์ อย่าวิตกกังวลมากเกินไป หรือมัวแต่เดาเหตุบังเอิญหรือมีแต่ข้อสังสัย ง่ายๆ เลยคุณควรที่จะรู้จักสร้าง “แผนบี” หรือแผนสำรองเอาไว้รับมือกับปัญหา สิ่งนี้อาจจะช่วยให้คุณมั่นใจกับการวางแผนต่างๆ มากขึ้น ช่วยให้คุณไม่กลัวที่จะล้มเหลว

ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จในทุกครั้งที่ลงมือ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลายคน เคยล้มเหลวกันมาก่อนแทบทั้งนั้น แต่พวกเขาเหล่านี้ก็สามารถยืนหยัดขึ้นมาได้อีก เพราะเขาไม่กลัวที่จะล้มนั่นเอง ดังนั้น จงเปลี่ยนวิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสที่คุณจะได้แข็งแกร่งและเติบโตต่อไปในวันข้างหน้า.

แหล่งที่มา


  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!