(สรุป)ฟีเจอร์เด่นบนเทคโนโลยี Grab ที่ช่วยร้านค้าพาร์ทเนอร์ขายดี – จัดการระบบร้านได้ดีขึ้น

  • 590
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ศึกการแข่งขันในอุตสาหกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ นับวันยิ่งเดือดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเกือบ 100% ผูกติดอยู่กับหน้าจอมือถือ ดังนั้น การสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชั่นบนมือถือ+บริการเดลิเวอรี่ จึงเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างคึกคัก และการแข่งขันสูงเป็นอันดับต้นๆ ในเวลานี้

Grab บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์ หนึ่งใน main player ในตลาด มักจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาเสมอเพื่อซัพพอทร้านค้าพาร์ทเนอร์บนแพลตฟอร์ม พูดง่ายๆ ก็คือ รูปแบบธุรกิจในปัจจุบันการพึ่งพาอาศัยกันแบบ win-win เป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้น Grab มีเทคโนโลยีช่วยเพื่อเสิร์ฟให้ร้านค้า ส่วนร้านค้าก็ take benefit เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ไกล และเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

 

Credit: Seika-Chujo/Shutterstock.com

 

โดยในงาน virtual ของ Grab Tech Insider ครั้งล่าสุด Shashank Kohli หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์และร้านค้าของ Grab ได้มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่างๆ ที่ Grab พยายามสนับสนุนร้านค้าพาร์ทเนอร์ ผ่านระบบสำเร็จรูปที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พาร์ทเนอร์เข้าถึงได้ง่าย จัดการด้วยตัวเองได้ง่าย จากข้อมูลเชิงลึกบนแอปฯ GrabMerchant ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับร้านค้าที่ Grab ใช้ในการให้บริการทั้งเดลิเวอรี่ และบริการทางการเงิน (GrabFood, GrabMart, GrabPay)

สำหรับฟีเจอร์บน GrabMerchant จะทำหน้าที่เหมือนเป็นเลขาหรือที่ปรึกษาของร้านค้า ช่วยให้สามารถบริหารจัดการร้านได้ดีในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้ในเชิงลึก การช่วยวิเคราะห์ข้อมูล และต่อยอดไปเป็นโปรโมชั่น หรือ set combo ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขายที่ดีกว่าเดิม ช่วยให้ร้านค้าเดาใจลูกค้าได้แบบมีตรรกะที่เชื่อถือได้ด้วยข้อมูล

ยกตัวอย่างสิ่งที่ GrabMerchant App จะช่วยร้านค้า เช่น

  • การรับออเดอร์ลูกค้า
  • การรับชำระเงินออนไลน์
  • มีเครื่องมือหลากหลายร้านค้าสามารถใช้งานได้เอง (เช่น Menu Insights, GrabAds)

ส่วนอีกหนึ่งเทคโนโยลีของ Grab ก็คือ GrabMerchant Portal ซึ่งเป็นโซลูชั่นเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของร้านค้าพาร์ทเนอร์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเข้าได้ผ่านเว็บไซต์ Grab โดยเครื่องมือนี้จะเหมาะกับร้านอาหารที่มีหลายสาขา เพราะจะสามารถดูข้อมูลภาพรวมการดำเนินธุรกิจทั้งหมดไว้ในที่เดียว โดยจะมีการวิเคราะห์ผลการดำเนินธุรกิจ (Operational insights) และการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (Customer insights) นอกจากนี้ยังฟีเจอร์ตัวช่วยเพิ่มเติม เช่น

  • การลงบันทึกบัญชี
  • การกระทบยอดจากการชำระเงินของลูกค้า
  • การทำรายงานทางการเงิน
  • มีข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ช่วยชี้ให้เห็นทั้งโอกาสในการเติบโตและรูปแบบการพัฒนาธุรกิจ

 

Credit: Grab

 

ฟีเจอร์ Self-onboarding บนแอปฯ GrabMerchant

ทั้งนี้ บนแอปฯ GrabMerchant สำหรับฟีเจอร์ Self-onboarding (การเปิดร้านอาหารบนแพลตฟอร์มด้วยตนเอง) น่าสนใจตรงที่ร้านค้าใหม่ สามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ GrabMerchant และเปิดใช้งานได้เองและรวดเร็ว นอกจากนี้ ร้านค้ายังสามารถเปิดใช้บริการหลากหลายพร้อมกันได้อีกด้วย เช่น การเปิดร้านอาหารบน GrabFood และการเปิดรับการชำระเงินด้วยบริการ GrabPay (*ฟีเจอร์ Self-onboarding ขณะนี้ให้บริการเฉพาะในอินโดนีเซียเท่านั้น และจะขยายไปประเทศอื่นเร็วๆนี้)

โดยมีขั้นตอนการเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Grab ง่ายๆ แค่ 4 ขั้นตอน

1.กรอกข้อมูลของธุรกิจและร้านค้า

2.แกร็บตรวจสอบข้อมูล

3.ติดตามสถานะการสมัคร

4.แก้ไขข้อมูลผิดพลาด (ถ้ามี)

 

Credit: Grab

 

ที่น่าสนใจคือ Grab ยังใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจสอบรูปภาพ เช่น รูปภาพที่มีคุณภาพต่ำ, ภาพที่ไม่สมสัดส่วน, ไม่ชัด หรือไม่เกี่ยวข้อง โดยจะแจ้งเตือนให้ร้านค้าแก้ไขทันที ซึ่งจะว่าไปการใช้รูปภาพที่ดึงดูด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร, สินค้าที่ต้องการขาย ล้วนมีส่วนเพิ่มยอดขายได้

นอกจากนี้ บนระบบการจัดการเจ้าของกิจการยังสามารถกำหนดโปรไฟล์พนักงาน สำหรับการเข้าถึงระบบของร้านค้าในระดับที่แตกต่างกันได้ เช่น เจ้าของกิจการ – สามารถเข้าถึงระบบการจัดการร้านค้าได้ทั้งหมด, ผู้จัดการร้านค้า – สามารถเข้าถึงได้เพียงบางส่วน เช่น การอัปเดตข้อมูลร้านอาหาร, ติดตามประวัติการขาย ฯลฯ

มีอัพเอทใหม่จาก Grab อีกอย่างก็คือ Grab กำลังนำโปรแกรมการฝึกอบรมของ GrabAcademy เข้าสู่แอป GrabMerchant เร็วๆ นี้ (นอกจากเดิมที่เข้าผ่านช่องทางเว็บไซต์ https://www.grabmerchantth.com/training) โดยจะมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาเรื่อยๆ เช่น

  • แนะนำคอร์สที่เหมาะสำหรับแต่ละร้านค้า โดยจะแนะนำเนื้อหาการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
  • การสร้างสรรค์คอร์สที่มีวิดีโอที่น่าใจสนใจและคู่มือในการเรียน

 

บนแอปฯ GrabMerchant ร้านค้ายังสามารถบริหารจัดการออเดอร์ ด้วยการตั้งสถานะของร้านค้าได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน คือ

  • ปกติ (Normal) – โหมดเริ่มต้น
  • ยุ่ง (Busy) – ร้านค้าสามารถระบุว่าต้องการเวลาในการจัดเตรียมอาหารเพิ่มขึ้น และระบบจะเข้าไปเพิ่มเวลาโดยประเมินตามที่อาหารจะส่งถือมือลูกค้า (ETA) แบบอัตโนมัติ
  • หยุดพักชั่วคราว (Pause) – ร้านค้าไม่สามารถรับออเดอร์เพิ่มเติมได้ (ชั่วคราว ณ เวลานั้นๆ)

 

ฟีเจอร์ Menu Insights (ข้อมูลเมนูขายดี)

เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สำคัญเพราะจะช่วยให้ร้านค้าพาร์ทเนอร์สามารถต่อยอดธุรกิจได้ โดยจะเป็นการสรุปข้อมูลเชิงลึกให้ว่าเมนูไหนของร้านที่ขายดีสุด ลูกค้าออเดอร์บ่อย ซึ่งร้านค้าสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วยการสร้าง combo set ของเมนูในร้านได้ภายในไม่กี่นาที ตามคำแนะนำในแอปฯ

 

Credit: Grab

 

วิธีที่จะใช้ฟีเจอร์ Menu Insights ง่ายๆ

  • คลิกที่ไอคอน ‘เมนู’ ในหน้าแรก
  • คลิกเลือก ‘ข้อมูลเชิงลึก’
  • จะเห็นข้อมูลสรุปเมนูขายดีในแต่ละวัน หรือ 7 วันย้อนหลังได้ (สูงสุด 90 วันที่ผ่านมา)
  • เช็คข้อมูลการให้คะแนนจากลูกค้าที่ได้รับออเดอร์ได้
  • คลิกดูภาพรวมที่แผนภูมิ ‘แนวโน้มการขาย’ และข้อมูลโดยละเอียด
  • คลิกเลือกการสร้างเมนู combo set จากข้อมูลเชิงลึก (จะมีเมนูแนะนำขึ้นมา)
  • คลิกเพิ่มลงในเมนูร้านค้าได้ด้วยตัวเอง

ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงเครื่องมือบางส่วนเท่านั้นที่ Grab สร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนร้านค้าพาร์ทเนอร์ เพราะยังมีเทคโนโลยีและฟีเจอร์ช่วยเหลืออีกมาก ไม่ว่าจะเป็น #แบนเนอร์โฆษณาบนหน้าแรกของ GrabFood, การโฆษณาผ่านคำค้นหา (keywords) ซึ่งจะช่วยให้ร้านอาหารปรากฏอยู่ในตำแหน่งบนสุดของแถบค้นหา, PayLater บริการผ่อนสินค้าสำหรับผู้ใช้บริการ (*ยังไม่มีในไทย) ซึ่งจะเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม GrabPay หรือ GrabExpress เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ซื้อ และช่วยลดโอกาสที่ลูกค้าจะยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

 

Credit: AngieYeoh/Shutterstock.com

 

 

ข้อมูลโดย Grab Tech Insider


  • 590
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม