ย้อนอดีตแอพฯแต่งภาพ Magic Man Camera ดราม่าแฮคข้อมูล กับกระแส MakeupPlus ที่มาแรง

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ตอนนี้ถ้าเปิดหน้าเฟซบุ๊กแล้วคุณอาจจะงงว่าทำไมบนฟีดเฟซบุ๊กมีแต่เพื่อนๆ แต่งหน้าแต่งตาประหลาดกันเต็มไปหมด หรือแม้แต่เซเล็บคนดังทั้งในออฟไลน์และออนไลน์ก็แห่กันเล่นเช่นกัน

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเจ้าแอพพลิเคชั่นชื่อว่า MakeupPlus ซึ่งพัฒนาโดย Xiamen Meitu Technology บริษัทด้านซอฟท์แวร์ชื่อดังของจีน ซึ่งเคยทำแอพฯ ปากส้มฮิตระเบิดในบ้านเรามาแล้ว ทั้งนี้ แอพฯ ดังกล่าวนี้มีลูกเล่นมากมาย ตั้งแต่ทำหน้าเนียน ขาวใส ไปจนถึงแต่งหน้าทาปาก เขียนตากรีดอายไลน์เนอร์ เรียกได้ว่าขำๆ สนุกมือคนไทยเชียวล่ะ แต่ที่พีคสุดๆ ก็คงจะเป็นการแต่งหน้าเลียนแบบ “บูเช็กเทียน” ซึ่งนำแสดงโดย “ฟ่าน ปิง ปิง” นี่แหละ แต่ไม่ใช่แค่ดาราจีนเท่านั้น ยังสามารถแต่งหน้าเลียนแบบนักร้อง J-POP หรือ K-POP ก็ได้ด้วย

app6
ศิลปิน เบิร์ดกับฮาร์ท
app7
น้องมายู และ “จ๊ะ” อธิศ อมรเวช

app5 app10 app9

ทั้งนี้ Xiamen Meitu Technology ยังมีแอพฯ ในลักษณะแต่งรูปแบบเดียวกันนี้อีกมายมาย

app3

อย่างไรก็ตาม หากยังจำกันได้กับแอพฯ แต่งภาพการ์ตูนจีน Mo Man Xiang Ji (魔漫相机)หรือ Magic Man Camera ซึ่งเคยระบาดฮิตกันในหมู่ชาวเน็ตไทยมาก่อนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีเรื่องราวดราม่าเกิดขึ้น โดยมีบางข้อมูลระบุว่าแอพฯ ดังกล่าวนี้เป็นแอพฯ ล้วงข้อมูลต่างๆ จากโทรศัพท์ไป ทำให้คนไทยหลายคนที่เล่นต่างเริ่มวิตกกังวลที่ตัวเองเล่นๆ ไปนั้นจะถูกแฮคข้อมูลออกไปบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ เดือดร้อนกันถึงขนาด กระทรวงไอซีทีต้องออกมาชี้แจง

app4

 

นายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ยังไม่พบว่าแอพพลิเคชั่น Manboker หรือ Mo Man Xiang Ji (Magic Man Camera) ซึ่งเป็นแอพฯตกแต่งภาพถ่ายให้เป็นภาพการ์ตูนจากจีนที่มีให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งในกูเกิลเพลย์ และ แอพสโตร์ เข้าไปล้วงข้อมูลของผู้ใช้ สมาร์ทโฟนที่ดาวน์โหลดแอพฯนี้มาติดตั้งไว้ในเครื่อง หลังจากที่มีการโพสต์ข้อความบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียว่าถูกแอพฯนี้ขโมยข้อมูลบัตรเครดิต

“ทั้งแอนดรอยด์ และไอโฟนมีการตรวจสอบข้อมูลของแอพพลิเคชั่นอยู่แล้ว เช่น เป็นแอพพลิเคชั่นที่มีปัญหาหรือไม่ อันตราย หรือละเมิด สิทธิผู้อื่นหรือไม่ โดยเท่าที่ตรวจสอบล่าสุดยังไม่พบรายงานจากต่างประเทศ” นายณัฐกล่าว

นายณัฐกล่าวอีกว่า กรณีที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องลือต่อๆกันมา หรือการ ฟชชิง หรืออาจเป็นการใช้หัวข้อของเรื่องนี้ไปขโมยข้อมูลจากการใช้งานประเภทอื่นในเวลาเดียวกัน เพราะหากพบการแฮกข้อมูลจริง จะมีการรายงานจากทั่วโลกและแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะถูกระงับการให้บริการอย่างรวดเร็ว แต่ล่าสุดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังสามารถให้บริการดาวน์โหลดได้ตามปกติ และสำหรับข้อมูลบัตรเครดิตของผู้ใช้ที่มีการนำไปเชื่อมกับ กูเกิลเพลย์ และ แอพสโตร์นั้น จะถูกเก็บรักษาไว้ที่เซิฟเวอร์ของกูเกิลและแอปเปิล ไม่ได้เก็บไว้ในเครื่องสมาร์ทโฟนของผู้ใช้แต่อย่างใด

และถึงแม้จะใช่หรือไม่ใช่ก็ตาม แต่ก็ทำให้ user ไทยขยาดตามๆ กันไปเลยทีเดียว และไม่ช้าแอพฯ นี้ก็หายหน้าหายตาไปจากคนไทย ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าแอพฯ MakeupPlus จะมีดราม่าอย่างนี้บ้างหรือเปล่า

อย่างไรก็ตาม สำหรับแอพฯ MakeupPlus ก็น่าจะเป็นเพียงแค่กระแสที่เห่อกันแค่ชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ตามประสาคนไทยชอบสนุกเท่านั้น ไม่นานคนก็คงเลิกเล่นกันแล้ว แต่ก็ถือเป็นสีสันหนึ่งที่น่าสนใจของแวดวงไอทีบ้านเรา.

Source: Copyright © MarketingOops.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!